บาลีวันละคำ

อสังวาส (บาลีวันละคำ 3,616)

อสังวาส

ความพินาศของผู้อยู่ในวิถีชีวิตสงฆ์

อ่านว่า อะ-สัง-วาด

อสังวาส” เขียนแบบบาลีเป็น “อสํวาส” อ่านว่า อะ-สัง-วา-สะ รากศัพท์มาจาก + สํวาส

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “สํวาส” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงแปลง เป็น  

(๒) “สํวาส” 

อ่านว่า สัง-วา-สะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = ร่วมกัน, พร้อมกัน) + วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ วฺ-(สฺ) เป็น อา (วสฺ > วาส)

: สํ + วสฺ = สํวส + = สํวสณ > สํวส > สํวาส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การอยู่ร่วมกัน” “การอยู่ด้วยกัน” 

สํวาส” ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน (living with, co-residence)

(2) ความสนิทสนม (intimacy)

(3) การอยู่กินด้วยกัน, การร่วมประเวณี (cohabitation, sexual intercourse)

บาลี “สํวาส” ในภาษาไทยใช้เป็น “สังวาส” (สัง-วาด) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังวาส : (คำนาม) การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน; การร่วมประเวณี. (คำกริยา) ร่วมประเวณี, มักใช้ว่า ร่วมสังวาส หรือ เสพสังวาส. (ป., ส. สํวาส).”

+ สํวาส = นสํวาส > อสํวาส > อสังวาส แปลว่า “ไม่มีสังวาส” หมายถึง ภิกษุที่ละเมิดสิกขาบท (ศีลของพระ) ถึงขั้นต้องอาบัติปาราชิก ย่อมไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายได้อีกต่อไป นั่นคือ ขาดจากความเป็นภิกษุทันทีที่กระทำการละเมิดสำเร็จ

ขยายความ :

ในพระไตรปิฎกอันเป็นต้นฉบับแห่งพระธรรมวินัย ให้คำจำกัดความคำว่า “อสังวาส” ไว้ดังนี้

…………..

อสํวาโสติ  

คำว่า อสํวาโส (หาสังวาสมิได้) หมายความว่า –

สํวาโส  นาม เอกกมฺมํ 

ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน

เอกุทฺเทโส 

อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน

สมสิกฺขาตา  

ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน

เอโส  สํวาโส  นาม  

นี้ชื่อว่าสังวาส

โส  เตน  สทฺธึ  นตฺถิ  

สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น

(ภิกษุนั้นไม่มีสังวาสร่วมกับภิกษุทั้งหลาย)

เตน  วุจฺจติ  อสํวาโสติ  ฯ

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพรภาคจึงตรัสว่า “อสังวาส” (หาสังวาสมิได้)

ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 1 ข้อ 37

…………..

แถม :

การละเมิดสิกขาบทถึงขั้นต้องอาบัติปาราชิก คืออย่างไร?

คำว่า “ปาราชิก” เป็นชื่ออาบัติที่มีโทษร้ายแรงที่สุด ทำให้ภิกษุผู้ล่วงละเมิดต้องพ่ายแพ้จากสมณเพศ คือความเป็นภิกษุสิ้นสุดลงทันทีที่ทำความผิดสำเร็จ ไม่ว่าจะมีใครรู้เห็นหรือกล่าวโทษหรือไม่ก็ตาม มีทั้งหมด 4 สิกขาบท คือ –

(1) เสพเมถุน (ร่วมเพศกับคนหรือสัตว์) เรียกรู้กันสั้นๆ ว่า “ปฐมปาราชิก” (ปะ-ถม-มะ-ปา-รา-ชิก) แปลว่า “ปาราชิกสิกขาบทที่หนึ่ง

(2) ลักทรัพย์ เรียกรู้กันสั้นๆ ว่า “ทุติยปาราชิก” (ทุ-ติ-ยะ-ปา-รา-ชิก) แปลว่า “ปาราชิกสิกขาบทที่สอง

(3) ฆ่ามนุษย์ เรียกรู้กันสั้นๆ ว่า “ตติยปาราชิก” (ตะ-ติ-ยะ-ปา-รา-ชิก) แปลว่า “ปาราชิกสิกขาบทที่สาม

(4) อวดอุตริมนุสธรรม คือพูดบอกหรือแสดงตนว่าได้บรรลุมรรคผล เรียกรู้กันสั้นๆ ว่า “จตุตถปาราชิก” (จะ-ตุด-ถะ-ปา-รา-ชิก) แปลว่า “ปาราชิกสิกขาบทที่สี่

เนื่องจากปาราชิกมีเพียง 4 สิกขาบท หรือพูดเทียบกับกฎหมายทางบ้านเมืองก็คือมีเพียง 4 มาตรา เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วก็จะรู้ได้ไม่ยากว่ามาตราไหนว่าด้วยเรื่องอะไร 

ดังนั้น เมื่อจะเอ่ยถึงการกระทำความผิดใน 4 มาตรานี้ เพียงแค่บอกว่า “มาตราที่เท่าไร” ก็ย่อมจะรู้ได้โดยอัตโนมัติว่าเป็นความผิดว่าด้วยเรื่องอะไรโดยไม่ต้องระบุลักษณะของความผิด 

เรื่องนี้เทียบได้กับคำว่า “ม.17” สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือ “ม.44” ในสมัยรัฐบาล คสช. ซึ่งพอเอ่ยคำว่า “ม.17” หรือ “ม.44” เพียงเท่านี้ คนทั่วไปก็เข้าใจกันดีว่าหมายถึงหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจทำอะไรที่เด็ดขาดได้ทันที ฉันใด 

ผู้ศึกษาหลักพระธรรมวินัย พอเอ่ยคำว่า “ปฐมปาราชิก” ก็ย่อมเข้าใจได้ทันทีว่า หมายถึงอาบัติปาราชิกข้อที่ว่าด้วยการเสพเมถุน (ร่วมเพศกับคนหรือสัตว์) แม้ปาราชิกอีก 3 ข้อ คือ “ทุติยปาราชิก” “ตติยปาราชิก” และ “จตุตถปาราชิก” เอ่ยเพียงหัวข้อแค่นี้ก็ย่อมรู้ได้ทันทีว่าข้อไหนว่าด้วยเรื่องอะไร ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้อสำคัญจึงอยู่ที่-ต้องศึกษาหาความรู้เตรียมไว้ก่อน

…………..

นักเรียนบาลีควรใช้ความรู้ที่เรียนมา ช่วยกัน “หา” ความรู้ และ “ให้” ความรู้แก่สังคมอย่างสม่ำเสมอโดยถือว่าเป็นภารกิจสำคัญ เพื่อที่คนทั้งหลายจะได้มีความรู้ความเข้าใจหลักพระธรรมวินัย มีอะไรเกิดขึ้นก็รู้เท่าทัน มีศรัทธาหนักแน่น และเป็นกำลังในการรักษาพระศาสนาสืบไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าคิดว่าเรียนบาลีจบแค่สอบได้

: พระศาสนาก็มอดไหม้ทั้งที่ประโยคเก้าเต็มเมือง

#บาลีวันละคำ (3,616)

7-5-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *