บาลีวันละคำ

วิทูร ไม่ใช่ วิธูร (บาลีวันละคำ 3,627)

วิทูร ไม่ใช่ วิธูร

วิธูร ก็ไม่ใช่ วิทูร

ในภาษาไทยอ่านว่า วิ-ทูน เหมือนกันทั้งสองคำ

(๑) “วิทูร” 

บาลีอ่านว่า วิ-ทู-ระ แยกศัพท์เป็น วิ + ทูร 

(ก) “วิ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่างๆ กัน

(ข) “ทูร” (ทู– สระ อู) อ่านว่า ทู-ระ รากศัพท์มาจาก ทุ (คำอุปสรรค = ยาก, ลำบาก) + อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ใช้สูตร “ลบสระหลัง ทีฆะสระหน้า” คือ (ทุ + อรฺ : ทุ อยู่หน้า อรฺ อยู่หลัง) ลบ อะ ที่ อรฺ (อรฺ > ) ทีฆะ อุ ที่ ทุ เป็น อู (ทุ > ทู)

: ทุ + อรฺ = ทุร > ทูร + = ทูร (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่ไปถึงโดยยาก” หมายถึง ไกล, ห่าง, ห่างไกล (far, distant, remote)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทูร– : (คำวิเศษณ์) คําประกอบหน้าคําศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).”

วิ + ทูร = วิทูร (วิ-ทู-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “ไกลอย่างพิเศษ” หมายถึง ไกล, ห่างไกล, ระยะยาว (far, remote, distant) 

โปรดสังเกตคำแปลเป็นอังกฤษ “ทูร” กับ “วิทูร” แปลเหมือนกัน

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “วิทูร” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) วิทูร ๑ : (คำวิเศษณ์) ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป., ส. วิทุร).

(2) วิทูร ๒ : (คำวิเศษณ์) ไกล, ห่าง, พ้นออกไป. (ป., ส.).

วิทูร” ในที่นี้เป็น “วิทูร” ตามข้อ (2) คือ “วิทูร ๒” 

(๒) “วิธูร

บาลีเป็น “วิธุร” อ่านว่า วิ-ทุ-ระ รากศัพท์มาจาก วิทฺ (ธาตุ = รู้) + อุร ปัจจัย, แผลง เป็น  

: วิทฺ + อุรฺ = วิทุร > วิธุร (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้” หมายถึง ฉลาด, มีปัญญา (wise, clever)

วิธุร” ที่เป็นอสาธารณนาม ใช้เป็น “วิธูร” (อุ เป็น อู) ก็มี เช่นชื่อ “วิธูรบัณฑิต” ชาติที่ 9 ในพระเจ้าสิบชาติ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “วิธุระ” บอกไว้ว่า –

วิธุระ : (คำวิเศษณ์) เปลี่ยว, ว้าเหว่. (ป., ส.).”

วิธุระ” คำนี้น่าจะแผลงมาจาก “วิทูร” ในบาลี ที่แปลว่า ไกล, ห่าง ทำนองเดียวกับที่ “วิทุร” ที่แปลว่า ฉลาด, มีปัญญา แผลงเป็น “วิธุร” 

วิธุระ” ที่พจนานุกรมฯ เก็บไว้นี้เป็นคนละคำกับ “วิธุร” ที่แผลงมาจาก “วิทุร” ที่แปลว่า ฉลาด, มีปัญญา

วิธุร” ที่แผลงเป็น “วิธูร” (ฉลาด, มีปัญญา) ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฯ

สรุปว่า ในภาษาไทย “วิทูร” กับ “วิธูร” เป็นคนละคำกัน ความหมายคนละอย่าง และไม่ได้ใช้แทนกันเหมือนกับที่บาลีใช้ “วิธุร” แทน “วิทุร

ในภาษาไทย :

สะกดเป็น “วิทูร” หมายถึง ไกล, ห่าง, พ้นออกไป 

สะกดเป็น “วิธูร” หมายถึง ฉลาด, มีปัญญา

ต้องการจะหมายถึง ไกล, ห่าง, พ้นออกไป แต่สะกดเป็น “วิธูร” (ธ ธง) ก็ผิดความหมาย

ต้องการจะหมายถึง ฉลาด, มีปัญญา ควรสะกดเป็น “วิธูร” (ธ ธง) แม้พจนานุกรมฯ จะมีคำว่า “วิทูร” (ท ทหาร) และแปลว่า ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา ความหมายก็ไปพ้องกับ “วิธูร” (ธ ธง) แต่รูปคำไปพ้องกับ “วิทูร” (ท ทหาร) ที่แปลว่า ไกล, ห่าง, พ้นออกไป ซึ่งชวนให้สับสน

แยกกันให้เด็ดขาดน่าจะดีกว่า

สะกดเป็น “วิทูร” หมายถึง ไกล, ห่าง, พ้นออกไป 

สะกดเป็น “วิธูร” หมายถึง ฉลาด, มีปัญญา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำบางคำใช้แทนกันไม่ได้

: คนบางคนทำหน้าที่แทนกันไม่ได้

#บาลีวันละคำ (3,627)

18-5-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *