บาลีวันละคำ

อากาศ (บาลีวันละคำ 402)

อากาศ

ไทยเขียนตามสันสกฤต (ศ ศาลา สะกด) อ่านว่า อา-กาด

บาลีเป็น “อากาส” (ส เสือ) อ่านว่า อา-กา-สะ

อากาส” รากศัพท์คือ (นิบาต = ไม่, ไม่ได้) + กส (ธาตุ = ไถ, เขียน)

กระบวนการทางไวยากรณ์คือ แปลง เป็น แล้วแปลง เป็น อา + กส แปลง กส เป็น กาส + (ปัจจัย ลบ ) : = = อา + กส = อากส + ณ = อากาส

อากาส” แปลตามศัพท์ว่า “ไถไม่เข้า ตัดไม่ขาด ทุบไม่แตก เขียนไม่ติด

อีกนัยหนึ่ง แปลตามตัวว่า “การส่องแสงไป” คือช่องว่างที่มีแสงสว่าง

ในภาษาไทย พจน.42 บอกความหมายของ “อากาศ” ไว้ว่า

1 แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น

2 (ความหมายเชิงปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง 1 ใน 6 คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้)

3 ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ

4 บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป “อากาศ” คือ ว่างเปล่า ไม่มีอะไร

มีศัพท์วิชาการคำหนึ่ง คือ “อากาสานัญจายตนะ” (อา-กา-สา-นัน-จา-ยะ-ตะ-นะ) มาจากคำว่า อากาสานํ  จ  อายตนํ แปลว่า “และเขตแดนแห่งอากาศทั้งหลาย” เป็นชื่อของฌานที่กำหนดอากาศคือความว่างเปล่าหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ผู้ได้ฌานระดับนี้ถ้าไม่บรรลุนิพพานในชาตินี้ ก็จะไปเกิดในอรูปพรหมภูมิ

: คนฉลาด เอาอากาศมาเป็นอุปกรณ์บรรลุถึงเมืองแก้ว

แต่คนเขลาเอาสมบัติที่มีอยู่แล้ว มาทำลายบ้านเมือง

—————-

(ตามคำปรารภของ ศักยภาพ วงษ์จินดา เมื่อ 10 วันที่ผ่านมา)

บาลีวันละคำ (402)

21-6-56

อากาส = อากาศ, ท้องฟ้า, กลางหาว, ที่ว่าง (ศัพท์วิเคราะห์)

– น กสฺสติ น นิกสฺสติ กสิตุ วา ฉินฺทิตุ วา ภินฺทิตุ วา น สกฺกาติ อากาโส สภาพอันใครไถไม่ได้

น บทหน้า กส ธาตุ ในความหมายว่าไถ ณ ปัจจัย แปลง น เป็น อ พฤทธิ์ อ เป็น อา

– น กสฺสติ น วิเลขิยตีติ อากาโส สภาพอันใครเขียนไม่ได้

น บทหน้า กส ธาตุ ในความหมายว่าเขียน ณ ปัจจัย แปลง น เป็น อ พฤทธิ์ อ เป็น อา

– อา ภุสํ กาสนฺเต ทิปฺปนฺเต ปทตฺถา เอเตนาติ อากาโส สภาพเป็นเครื่องส่องข้อความให้ชัดเจน

อา บทหน้า กาส ธาตุ ในความหมายว่ารุ่งเรือง อ ปัจจัย

– น กาสติ น ทิพฺพตีติ อกาสํ, อกาสเมเว อากาสํ สภาพที่ไม่รุ่งเรือง

น บทหน้า กาส ธาตุ ในความหมายว่ารุ่งเรือง อ ปัจจัย แปลง น เป็น อ นัยนี้เป็น นปุง.

อากาส (บาลี-อังกฤษ)

แปลตามตัว “การส่องแสงไป” คือช่องว่างที่มีแสงสว่าง

๑ อากาศ, ท้องฟ้า, บรรยากาศ, ช่องว่าง air, sky, atmosphere; space.

๒ (นปุง.) กีฬา, การเล่นหมากรุก “ในอากาศ” a game, playing chess ‘ in the air ʼ (ที่มาของความหมายนี้ – อากาสนฺติ อฏฺฐปททสปเทสุ วิย อากาเสเยว กีฬนํ. – สุมังคลวิลาสินี ภาค ๑ หน้า ๑๓๒ อรรถกถาพรหมชาลสูตร)

อากาสธาตุ อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

อากาศธาตุ, ที่ว่าง, สภาพที่ว่างเปล่า.

อากาส นป.การเล่นในอากาศ.

อากาสนญฺจายตน นป.

อากาสนัญจายตนฌาน, ฌานที่มีการคำนึงว่าอากาศที่สุดมิได้เป็นอารมณ์.

อากาสนัญจายตน (ประมวลศัพท์)

ฌานกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์, ภพของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน (ข้อ ๑ ในอรูป ๔)

อายตน นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ที่อยู่, ที่อาศัย, บ่อเกิด, เครื่องต่อ, ส่วน.

อากาศ, อากาศ-

  [อากาด, อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อากาศธาตุ

  [-ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยายหมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.

อากาศยาน

  น. เครื่องนําไปทางอากาศ, ยานที่แล่นไปในอากาศ เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์.

อากาสานัญจาย

ศักยภาพ วงษ์จินดา

อ. ช่วยความหมาย คำ”อากาสานัญจาย” ให้หน่อยซิครับ

๑๑ มิ.ย.๕๖

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย