บาลีวันละคำ

หัตถบาส (บาลีวันละคำ 408)

หัตถบาส

อ่านว่า หัด-ถะ-บาด

บาลีเขียนว่า “หตฺถปาส” อ่านว่า หัด-ถะ-ปา-สะ ประกอบด้วย หตฺถ + ปาส

หตฺถ” คำแปลที่คุ้นกันคือ “มือ” แต่ยังแปลว่า งวงช้าง, มวยผม, ชื่อมาตราวัดระยะ เท่ากับศอกหนึ่ง อีกด้วย

ปาส” คำแปลที่คุ้นกันคือ “บ่วง” หมายถึง บ่วงแร้ว, กับดัก, เครื่องผูกรัด, โซ่ตรวน, มวยผม, รูลูกดุม

หตฺถ + ปาส = หตฺถปาส เขียนแบบไทยว่า “หัตถบาส” (-บาส เสือ ถ้าคำเดียวภาษาไทยเขียน “บาศ ศาลา) แปลตามศัพท์ว่า “บ่วงมือ” (แต่อาจแปลว่า “บ่วงที่มีระยะหนึ่งศอก” ก็ได้)

ความหมายกว้างๆ ของ “หัตถบาส” ก็คือ ระยะห่างพอยื่นมือไปจับได้ ความหมายนี้ฝรั่งแปล “หตฺถปาส” ว่า vicinity

หัตถบาส” ใช้เกี่ยวกับวินัยของสงฆ์ มีความหมายว่า “ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง” (พจน.42)

บางท่านเข้าใจว่า

– ในการรับประเคน ห่างกันประมาณศอกหนึ่ง เรียกว่าได้หัตถบาส

– แต่ในการทำสังฆกรรม เช่น อุปสมบท หรือสวดปาติโมกข์ พระสงฆ์ต้องนั่งห่างกันไม่เกินคืบหนึ่ง ถ้าห่างกว่านี้ เสียหัตถบาส

ความเป็นจริง ไม่ว่าจะรับประเคนหรือทำสังฆกรรม ใช้ “หัตถบาส” เกณฑ์เดียวกันคือ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง (อรรถกถาอธิบายว่าสองศอกคืบด้วยซ้ำ)

เจตนารมณ์ของ “หัตถบาส” ก็คือ “ใกล้ๆ เข้ามาอีกนิด

: นั่งห่างกันนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร

แต่ระวังอย่าให้หัวใจเสียหัตถบาส

——————————–

(ตามคำขอของพระคุณท่าน Sunant Sukantharam)

บาลีวันละคำ (408)

27-6-56

คำขอของ Sunant Sukantharam ๒๖ มิ.ย.๕๖

หตฺถปาส (บาลี-อังกฤษ)

ด้านข้างของมือ, บริเวณใกล้ๆ the side of the hand, vicinity

หตฺถ

๑ มือ

๒ มือในฐานเป็นเครื่องวัด, ระยะหนึ่งศอก

ปาส บ่วง, กับดัก, เครื่องผูกรัด, โซ่ตรวน

ปาส ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

มวยผม; บ่วง, แร้ว; รูลูกดุม.

หัตถ (ประมวลศัพท์)

1. มือ

2. ในมาตราวัด คือ ๑ ศอก

หัตถบาส

บ่วงมือ คือที่ใกล้ตัวชั่วคนหนึ่ง (นั่งตัวตรง) เหยียดแขนออกไปจับตัวอีกคนหนึ่งได้ อรรถกถา (เช่น วินย.อ. ๒/๔๐๔) อธิบายว่า เท่ากับช่วงสองศอกคืบ (๒ ศอก ๑ คืบ หรือ ๒ ศอกครึ่ง) วัดจากส่วนสุดด้านหลังของผู้เหยียดมือออกไป (เช่นถ้ายืน วัดจากส้นเท้า, ถ้านั่ง วัดจากสุดหลังอวัยวะที่นั่ง, ถ้านอน วัดจากสุดข้างด้านที่นอน) ถึงส่วนสุดด้านใกล้แห่งกายของอีกคนหนึ่งนั้น (ไม่นับมือที่เหยียดออกมา), โดยนัยนี้ ตามพระมติที่ทรงไว้ในวินัยมุข เล่ม ๑ และ ๒ สรุปได้ว่า ให้ห่างกันไม่เกิน ๑ ศอก คือมีช่องว่างระหว่างกันไม่เกิน ๑ ศอก

หัตถ-, หัตถ์

  [หัดถะ-, หัด] น. มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).

หัตถบาส

  น. ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง. (ป. หตฺถปาส).

บาศ

  น. บ่วง เช่น นาคบาศ เชือกบาศ. (ส. ปาศ; ป. ปาส).

บาศก์

  น. ลูกเต๋า, ลูกสกา, ใช้ว่า ลูกบาศก์. (ส. ปาศก; ป. ปาสก).

หัตถบาส

          คำว่า หัตถบาส (อ่านว่า หัด-ถะ-บาด) ประกอบด้วยคำว่า หัตถ (อ่านว่า หัด-ถะ) กับ บาส (อ่านว่า บาด). หัตถ แปลว่า มือ.  บาส แปลว่า บ่วง, ระยะ. หัตถบาส แปลว่า ระยะมือ   หมายถึง ระยะห่างระหว่างพระภิกษุสามเณรกับคฤหัสถ์ผู้ถวายของแก่พระภิกษุสามเณรนั้น ซึ่งตามพระวินัยกำหนดให้ห่างกันโดยประมาณ ๑ ศอก กล่าวคือไม่ห่างกันเกินไปจนต้องเอื้อมมือ หรือใกล้เกินไปจนไม่สามารถยกของถวายได้. การถวายของแก่พระภิกษุสามเณรนั้น ต้องยกของขึ้นด้วยมือทั้ง ๒ มือ เรียกกิริยานี้ว่า ประเคน ถ้าผู้ถวายเป็นผู้ชายต้องส่งให้ถึงมือพระ ถ้าเป็นผู้หญิงให้ยกของวางบนผ้าซึ่งพระภิกษุจะทอดมารับ

           นอกจากนี้ ระยะห่างระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทำสังฆกรรมร่วมกัน ก็กำหนดไม่ให้เกินหัตถบาสด้วย พระภิกษุจึงมักนั่งชิดให้เข่าจดกัน

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น

หัตถบาส

คำแปล2

น. “บ่วงแห่งมือ” คือ ที่ใกล้ตัว; ระยะห่างชั่วยื่นมือถึง, (ศน.) การที่ พระลงประชุมกันในโบสถ์เพื่อทำสังฆกรรม พระแต่ละรูปจะต้องนั่งห่างกันไม่เกิน ๑ คืบ หาก ห่างกว่านั้น เรียกว่า เสียหัตถบาส.

  หตฺถปาสา  วา  น  วิชหิตพฺพนฺติ  อถวา  ตํ  ฆรํ  สมนฺตโต 

หตฺถปาสา  น  วิชหิตพฺพํ ฯ  อฑฺฒเตยฺยรตนปฺปมาณปฺปเทสา 

อุทฺธํ  น  วิชหิตพฺพนฺติ  วุตฺตํ  โหติ ฯ  อฑฺฒเตยฺยรตนพฺภนฺตเร 

ปน  วฏฺ  วฏฺฏติ ฯ 

สมันตปาสาทิกา (ติงสกกัณฑวัณณนา) ภาค ๒ หน้า 199

เตสํ  อตฺตภาโว  ติคาวุติโก  โหติ ฯ  วคฺคุลีนํ  วิย  ทีฆนขา  โหนฺติ ฯ 

เต  รุกฺเข  วคฺคุลิโย  วิย  นเขหิ  จกฺกวาฬปพฺพเต  ลคฺคนฺติ ฯ 

ยทา  เต  สํสปนฺตา  อญฺญมญฺญสฺส  หตฺถปาสํ  คตา  โหนฺติ ฯ 

อถ  ภกฺโข  โน  ลทฺโธติ  มญฺญมานา  ตตฺถ  ธาวนฺตา  วิปริวตฺติตฺวา 

โลกสนฺธารโกทเก  ปตนฺติ ฯ วาเต  ปหรนฺเตปิ  มธุกผลานิ  วิย  ฉิชฺชิตฺวา 

อุทเก  ปตนฺติ ฯ ปติตมตฺตาว  อจฺจนฺตขาเร  อุทเก  ปิฏฺฐปิณฺฑํ  วิย  วิลียนฺติ ฯ

๒. สี. ยุ. จกฺกวาฬปาเท

๓. ม. วาวฏา ฯ ยุ. วยาวฏา ฯ

๔. ม. ปิฏฺปณฺฑิ ฯ

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย