บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

พรชีวิตจากพระธรรมบท

พรชีวิตจากพระธรรมบท

————————

พรข้อที่ ๑ 

โย จ วสฺสสตํ ชีเว 

ทุสฺสีโล อสมาหิโต

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 

สีลวนฺตสฺส ฌายิโน.

คนทุศีล จิตใจโลเล

มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี

คนมีศีล จิตใจมั่นคง

มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

พรข้อที่ ๒ 

โย จ วสฺสสตํ ชีเว 

ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต 

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 

ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.

คนไม่รู้จักคิด จิตใจโลเล

มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี

คนรู้จักคิด จิตใจมั่นคง

มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

พรข้อที่ ๓ 

โย จ วสฺสสตํ ชีเว 

กุสีโต หีนวีริโย 

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 

วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ. 

คนเกียจคร้าน ขาดความเพียร 

มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี

คนมีความพยายามมุ่งมั่น

มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

พรข้อที่ ๔ 

โย จ วสฺสสตํ ชีเว 

อปสฺสํ อุทยพฺพยํ

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 

ปสฺสโต อุทยพฺพยํ. 

คนไม่เห็นทางเจริญทางเสื่อม 

มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี

คนเห็นทางเจริญทางเสื่อม 

มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

พรข้อที่ ๕ 

โย จ วสฺสสตํ ชีเว 

อปสฺสํ อมตํ ปทํ

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 

ปสฺสโต อมตํ ปทํ.

คนไม่เห็นอมฤตบทกล่าวคือพระนฤพาน 

มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี

คนเห็นอมฤตบท 

มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

พรข้อที่ ๖ 

โย จ วสฺสสตํ ชีเว 

อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ 

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย 

ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตมํ.

คนไม่เห็นนพโลกุตรธรรม 

มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี

คนเห็นนพโลกุตรธรรม 

มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

สหัสสวรรค ธรรมบท 

พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๘

………………..

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

แปลเป็นอภินันทนาการแด่ปวงญาติมิตร

ในโอกาสสิ้นปีพระพุทธศักราช ๒๕๖๒

ขึ้นปีพระพุทธศักราช ๒๕๖๓

๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒

๑๑:๒๕

—————-

    ๙. สงฺกิจฺจสามเณรวตฺถุ. [๘๙] 

ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) – หน้าที่ 127

              ” โย จ วสฺสสตํ ชีเว          ทุสฺสีโล อสมาหิโต

              เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย          สีลวนฺตสฺส ฌายิโนติ. “

        ตตฺถ     ทุสฺสีโลติ    นิสฺสีโล.    สีลวนฺตสฺสาติ    ทุสฺสีลสฺส  

วสฺสสตํ  ชีวิตโต  สีลวนฺตสฺส  ทฺวีหิ  ฌาเนหิ  ฌายิโน  เอกทิวสํปิ

เอกมุหุตฺตมฺปิ  ชีวิตํ  เสยฺโย  อุตฺตมนฺติ  อตฺโถ.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 195

             ” ก็ผู้ใดทุศีล  มีใจไม่ตั้งมั่น  พึงเป็นอยู่  ๑๐๐ ปี,

             ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีลมีฌานประเสริฐกว่า

             (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น). “

                                    [ แก้อรรถ ]

        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ทุสฺสีโล  คือ  ไม่มีศีล.

        บทว่า   สีลวนฺตสฺส  ความว่า  ความเป็นอยู่แม้วันเดียว  คือ

แม้สักครู่เดียวของผู้มีศีล  มีฌาน  ด้วยฌาน ๒ ประการ  ประเสริฐ คือ

สูงสุดกว่าความเป็นอยู่  ๑๐๐ ปีของผู้ทุศีล.

            ๑๐. ขานุโกณฺฑญฺญตฺเถรวตฺถุ. [๙๐]

ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) – หน้าที่ 130

              ” โย จ วสฺสสตํ ชีเว         ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต  

              เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย         ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโนติ.”

        ตตฺถ  ทุปฺปญฺโญติ  นิปฺปญฺโญ.  ปญฺญวนฺตสฺสาติ 

สปฺปญฺญสฺส. เสสํ  ปุริมสทิสเมวาติ.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 198

             ” ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่ตั้งมั่น  พึงเป็นอยู่

             ๑๐๐ ปีความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีปัญญามีฌาน

             ประเสริฐกว่า [ ความเป็นอยู่ของผู้นั้น ]. “

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 199

                                           [ แก้อรรถ ]

        บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  ทุปฺปญฺโญ  ความว่า  ผู้ไร้ปัญญา.

        บทว่า   ปญฺญวนฺตสฺส  ความว่า  ผู้เป็นไปกับด้วยปัญญา.

คำที่เหลือเช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั่นแล.

              ๑๑. สปฺปทาสตฺเถรวตฺถุ. [๙๑]

ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) – หน้าที่ 134

              ” โย จ วสฺสสตํ ชีเว          กุสีโต หีนวีริโย  

              เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย          วิริยํ อารภโต ทฬฺหนฺติ. “

        ตตฺถ  กุสีโตติ  กามวิตกฺกาทีหิ  ตีหิ  วิตกฺเกหิ วีตินามกปุคฺคโล.  หีนวีริโยติ  นิพฺพิริโย.  วิริยํ  อารภโต  ทฬฺหนฺติ  ทุวิธํ  ฌานํ  นิพฺพตฺตนสมตฺถํ  ถิรํ  วิริยํ  อารภนฺตสฺส.  เสสํ  ปุริมสทิสเมว.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 204

             ” ก็ผู้ใดเกียจคร้าน มีความพยายามอันทราม   พึง

             เป็นอยู่  ๑๐๐ ปี,    ความเป็นอยู่วันเดียวของ

             ท่านผู้ปรารภความเพียรมั่น  ประเสริฐกว่าชีวิต

             ของผู้นั้น. “

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 205

                                            [ แก้อรรถ ]

        บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า  กุสตีโต    ได้แก่บุคคลผู้ยังเวลาให้

ล่วงไปด้วยวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น.

        บทว่า   หีนวีริโย  คือไร้ความเพียร.

        บาทพระคาถาว่า   วิริยํ  อารภโต  ทฬฺหํ  ความว่า  ผู้ปรารภ

ความเพียรมั่นคง  ซึ่งสามารถยังฌาน ๒ ประการให้เกิด.

        คำที่เหลือ  เช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั่นแล.

                 ๑๒. ปฏาจาราวตฺถุ.  [๙๒]

ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) – หน้าที่ 142

              ” โย จ วสฺสสตํ ชีเว          อปสฺสํ อุทยพฺพยํ

              เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย          ปสฺสโต อุทยพฺพยนฺติ. “

        ตตฺถ   อปสฺสํ   อุทยพฺพยนฺติ   ปญฺจนฺนํ   ขนฺธานํ  ปญฺจวีสติยา

ลกฺขเณหิ    อุทยญฺจ    วยญฺจ   อปสฺสนฺโต.   ปสฺสโต   อุทยพฺพยนฺติ 

เตสํ    อุทยญฺจ   วยญฺจ   ปสฺสนฺตสฺส   อิตรสฺส   ชีวิตโต   เอกาหํปิ

ชีวิตํ  เสยฺโยติ.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 215

             ” ก็ผู้ใด  ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่

             พึงเป็นอยู่  ๑๐๐ ปี,   ความเป็นอยู่วันเดียว  ของ

             ผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม   ประเสริฐกว่า

             ความเป็นอยู่ของผู้นั้น. “

                                          [ แก้อรรถ ]

        บรรดาบทเหล่านั้น  บาทพระคาถาว่า  อปสฺสํ  อุทยพฺพยํ  ความ

ว่า   ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่  ด้วยลักษณะ  ๒๕ แห่ง

ปัญจขันธ์.   บาทพระคาถาว่า  ปสฺสโต  อุทยพฺพยํ  ความว่า  ความเป็น

อยู่แม้วันเดียว  ของผู้เห็น  ความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์

เหล่านั้น  ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของบุคคลนอกนี้.

             ๑๓. กิสาโคตมีวตฺถุ. [๙๓] 

ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) – หน้าที่ 147

              ” โย จ วสฺสสตํ ชีเว         อปสฺสํ อมตํ ปทํ

              เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย         ปสฺสโต อมตํ ปทนฺติ. “

        ตตฺถ   อมตํ  ปทนฺติ   มรณรหิตโกฏฺฐาสํ  อมตมหานิพฺพานนฺติ  

อตฺโถ.  เสสํ  ปุริมสทิสํ เอว.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 221

             ” ก็ผู้ใด   ไม่เห็นบทอันไม่ตาย   พึงเป็นอยู่  ๑๐๐

             ปี,   ความเป็นอยู่วันเดียว  ของผู้เห็นบท  อันไม่

             ตาย  ประเสริฐกว่า  ความเป็นอยู่ของผู้นั้น. “

                                            [ แก้อรรถ ]

        บรรดาบทเหล่านั้น  สองบทว่า  อมตํ  ปทํ  ความว่า  อมตมหา-

นิพพาน  อันเป็นส่วนที่เว้นจากมรณะ.

        คำที่เหลือ  เช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั้นแล.

                  ๑๔. พหุปุตฺติกาเถรีวตฺถุ. [๙๔]

ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) – หน้าที่ 149

              ” โย จ วสฺสสตํ ชีเว          อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ  

              เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย          ปสฺสโต  ธมฺมมุตฺตมนฺติ. “

        ตตฺถ  ธมฺมมุตฺตมนฺติ  นววิธํ  โลกุตฺตรธมฺมํ.  โส  หิ  อุตฺตมธมฺโม  นาม.  โย  หิ  ตํ  น  ปสฺสติ  ตสฺส  วสฺสสตํ  ชีวิตโต  ตํ  ธมฺมํ  ปสฺสนฺตสฺส  ปฏิวิชฺฌนฺตสฺส  เอกาหํปิ  เอกกฺขณมฺปิ  ชีวิตํ  เสยฺโยติ.

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 224

             ” ก็ผู้ใด  ไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม  พึงเป็นอยู่

             ๑๐๐ ปี,   ความเป็นอยู่วันเดียว  ของผู้เห็นธรรม  

ประโยค๒ – พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค ๔ – หน้าที่ 225

             อันยอดเยี่ยม  ประเสริฐกว่า  ความเป็นอยู่

             ของผู้นั้น. “

                                           [ แก้อรรถ ]

        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ธมฺมมุตฺตมํ  ได้แก่  โลกุตรธรรม

๙  อย่าง.   ก็โลกุตตรธรรมนั้น  ชื่อว่า  ธรรมอันยอดเยี่ยม.   ก็ผู้ใด

ไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยมนั้น.   ความเป็นอยู่แม้วันเดียว  คือแม้ขณะ

เดียว  ของผู้เห็น  คือแทงตลอดธรรมนั้น  ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่

๑๐๐ ปี  ของผู้นั้น.

                                 สหัสวรรค วรรณนา จบ.

                                        วรรคที่  ๘  จบ.

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *