บาลีวันละคำ

อมฤต (บาลีวันละคำ 2,125)

อมฤต

อ่านว่า อะ-มะ-ริด ก็ได้ อะ-มะ-รึด ก็ได้

(ตามพจนานุกรมฯ)

อมฤต” บาลีเป็น “อมต” (อะ-มะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก + มต

(๑) “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “มต” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

(๒) “มต” (มะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก มรฺ (ธาตุ = ตาย) + ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (มรฺ > )

: มรฺ + = มรต > มต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตายแล้ว

+ มต = นมต > อมต (คุณศัพท์, นปุงสกลิงค์) แปลว่า ผู้ไม่ตาย, สิ่งที่ทำให้ไม่ตาย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อมต” ดังนี้ –

(1) The drink of the gods, ambrosia, water of immortality (น้ำดื่มของเทพยดา, กระยาทิพย์, น้ำอมฤต)

(2) A general conception of a state of durability & non-change, a state of security i. e. where there is not any more rebirth or re-death (มโนภาพทั่ว ๆ ไปของความยั่งยืนและความไม่เปลี่ยนแปลง, สถานะความมั่นคง คือที่ซึ่งไม่มีการกลับมาเกิดหรือกลับมาตายอีก)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อมต” ไว้ดังนี้ –

อมต-, อมตะ : (คำวิเศษณ์) ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. (คำนาม) พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).”

บาลี “อมต” สันสกฤตเป็น “อมฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อมฤต : (คำนาม) อาหารของเทพดา; น้ำ; เนย; ข้าว; เหล้า; ของหวาน; ยาพิษ; ทองคำ; ปรอท; ดีปลี, ฯลฯ; the food of the gods (ambrosia, nectar); water; butter; rice; spirituous liquor; sweetmeat; poison; gold; quicksilver; long pepper &c.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อมฤต” ไว้ดังนี้ –

อมฤต, อมฤต– : (คำนาม) นํ้าทิพย์ เรียกว่า นํ้าอมฤต; เครื่องทิพย์. (ส.; ป. อมต).”

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “อมฤต” ไว้ดังนี้ –

อมฤต : เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง วางข้างบนลูกหนึ่ง ที่กลางมหาสมุทร ลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า น้ำอมฤต บ้าง น้ำสุรามฤต บ้าง; ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องตามคติของศาสนาพราหมณ์

นอกจากนี้ยังมีคำว่า “อมฤตธรรม” อีกคำหนึ่ง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ไว้ดังนี้ –

อมฤตธรรม : ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย, ธรรมซึ่งเปรียบด้วยน้ำอมฤตอันทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย หมายถึงพระนิพพาน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่มีวิธีที่เกิดแล้วจะไม่ตาย

: นอกจากวิธีที่ตายแล้วจะไม่เกิด

—————

(เก็บคำมาจากความคิดเห็นของ Chakkris Uthayophas)

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (2,125)

7-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *