บาลีวันละคำ

อลชฺชี (บาลีวันละคำ 414)

อลชฺชี

ภาษาไทยเขียน อลัชชี  อ่านว่า อะ-ลัด-ชี เหมือนบาลี

อลชฺชี” รากศัพท์คือ (= ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + ลชฺชา (= ความละอาย, ความเกลียดกลัวผิด) + อี แปลง เป็น : = + ลชฺชา + อี = อลชฺชี

อลชฺชีอลัชชี” แปลว่า “ผู้ไม่มีความละอาย” หมายถึง คนหน้าด้าน มักใช้เรียกภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติโดยจงใจละเมิด หรือทำผิดแล้วไม่แก้ไข

พจน.42 บอกว่า

อลัชชี : (คุณศัพท์) ไม่อาย, นอกจารีต. (คำนาม) ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤตินอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี”

ในภาษาไทย “อลัชชี” เป็นคำตำหนิที่ให้ความรู้สึกว่าน่ารังเกียจ ขยะแขยง

ในภาษาบาลีมีอีกคำหนึ่ง คือ “นิลฺลชฺชา” (นิ + ลชฺชา ซ้อน , อ่านว่า นิน-ลัด-ชา)

คำนี้รูปดีเสียงเพราะ ผู้ไม่รู้บาลีอาจนึกว่าน่าจะใช้เป็นชื่อผู้หญิงได้ดี

นิลฺลชฺชา”แปลว่า “ผู้มีความละอายโบยบินออกไปจากหัวใจ” มีความหมายเช่นเดียวกับ “อลัชชี” นั่นเอง

อลัชชี” มักใช้แก่นักพรตก็จริง แต่ตามรากศัพท์แล้วใช้แก่คนทั่วไปก็ได้ด้วย เช่น

– ข้าราชการทุกประเภทที่มีระเบียบวินัยกำกับ

– ผู้บริหารบ้านเมืองทุกระดับที่ถวายสัตย์ปฏิญาณหรือปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง

– คนในสายอาชีพต่างๆ ที่มีจรรยาบรรณควบคุม

– ผู้ที่มีอาชีพหรือทำงานเกี่ยวข้องกับประชาชน

– ฯลฯ

ถ้าทุจริต ประพฤติมิชอบ โกงกิน เอาเปรียบประชาชนหรือผู้บริโภค เอาเปรียบหน่วยงาน ฯลฯ ก็คือ “ผู้ไม่มีความละอาย” หรือ “ผู้มีความละอายโบยบินออกไปจากหัวใจ” นั่นเอง

ดีไหม ? คนชนิดนั้น –

: ถ้าเป็นบุรุษ ก็ชวนกันเรียกว่า “อลัชชี

: ถ้าเป็นสตรี ก็ตั้งชื่อว่า “นิลลัชชา

บาลีวันละคำ (414)

3-7-56

ความคิดนอกเฟรม

อลัชชี ไม่อายที่จะทำผิด

ทุมมังกุ ทำผิดแล้วก็ “เก้อยาก” ใครจะประนามตำหนิอย่างไรก็ไม่รู้สึก

ศัพท์ชุด

ภิกษุประพฤติดี

อปฺปิจฺฉ สนฺตุฏฺฐ ลชฺชี กุกฺกุจฺจ สิกฺขกาม เปสล สีลวนฺต กลฺยาณธมฺม ธมฺมจารี สมจารี พฺรหฺมจารี สจฺจวาที

ภิกษุมีความรู้ดี

พหุสุตฺต อาคตาคม ธมฺมธร วินยธร มาติกาธร ปณฺฑิต วิยตฺต เมธาวี

ภิกษุประพฤติชั่ว

อลชฺชี ทุสฺสีล ปาปธมฺม มุสาวาที อพฺรหฺมจารี นิลฺลชฺช

(มีคำอธิบายส่วนหนึ่งใน ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอุทาน หน้า ๓๙๑ สุนทรีสูตร)

คำกิริยาที่ใช้กับพวกอลัชชี

อุชฺฌายนฺติ ขียนฺติ วิปาเจนฺติ

ติเตียน โพนทะนา บ่นว่า

ลชฺชา = ความละอาย (ศัพท์วิเคราะห์)

ลชฺชติ ปาปาติ ลชฺชา กิริยาที่ละอายต่อบาป

ลชฺช ธาตุ ในความหมายว่าละอาย อ ปัจจัย อา อิต.

ลชฺชา อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ความละอาย, ความเกลียด.

ลชฺชา (อิต.) (บาลี-อังกฤษ)

ความละอาย, ความขวยเขิน, ความเหนียมอาย

ลชฺชี (คุณ)

รู้สึกละอาย, หน้าบาง, เกรงกลัว, ละอาย, มีมโนธรรม

อลชฺชี ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ซึ่งไม่อายต่อบาป.

อลัชชี (ประมวลศัพท์)

ผู้ไม่มีความละอาย, ผู้หน้าด้าน, ภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติ โดยจงใจละเมิด หรือทำผิดแล้วไม่แก้ไข

อลัชชี

  ว. ไม่อาย, นอกจารีต.น. ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤตินอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี. (ป.).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย