ปริวาส (บาลีวันละคำ 415)
ปริวาส
บาลีอ่านว่า ปะ-ริ-วา-สะ ไทยอ่านว่า ปะ-ริ-วาด
ประกอบด้วย ปริ (รอบ) + วาส (การอยู่, การพักแรม) = ปริวาส
“ปริวาส” มีความหมายว่า การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสจะต้องประพฤติเพื่อให้พ้นผิด เรียกว่า “อยู่ปริวาส” คำเก่าเรียก “อยู่กรรม” (ทำในกรณีที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ โดยต้องอยู่ปริวาสตามจำนวนวันที่ปกปิด)
อาบัติสังฆาทิเสสมีฐานความผิด 13 กรณี เช่น สำเร็จความใคร่ถึงน้ำกามหลั่ง เป็นต้น เป็นอาบัติหนักรองจากปาราชิก ยังไม่ขาดจากความเป็นพระ แต่จะพ้นผิดได้โดยให้สงฆ์ลงโทษแบบอารยชน เช่น
– อยู่ร่วมที่กับภิกษุอื่นไม่ได้ ต้องแยกบริเวณอยู่ต่างหาก (ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า “ปริวาส”)
– ถูกตัดสิทธิ์ เช่นถูกตัดออกจากลำดับการรับนิมนต์ (ทำนองเดียวกับ เว้นวรรคทางการเมือง)
– ลดฐานะตัวเอง เช่น ถ้าเป็นพระผู้ใหญ่ ก็ต้องไปนั่งท้ายแถว, รับไหว้จากพระด้วยกันไม่ได้
– ประจานตัว เช่น ถ้ามีพระอาคันตุกะเข้ามาในวัด พระที่อยู่ปริวาสต้องไปรายงานตัวว่า ตนต้องอาบัติหนัก อยู่ในระหว่างถูกลงโทษ
ในคัมภีร์ “ปาริวาสิกขันธกะ” วินัยปิฎก ซึ่งเป็นเรื่องการอยู่ปริวาสโดยเฉพาะ ไม่ได้แสดงไว้ว่าภิกษุทั่วไปอยู่ปริวาสกันได้ด้วย
“อยู่ปริวาส” เป็นการลงโทษพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์ของภิกษุทั่วไป ดังที่บางแห่งนิยมจัดเป็นกิจกรรมบุญกันในสมัยนี้
: นักเรียนทำผิด ครูสั่งให้วิ่งรอบสนาม 3 รอบเป็นการลงโทษ
: นักเรียนที่ไม่ได้ทำผิดเห็นว่าการวิ่งเป็นการออกกำลัง ทำให้ร่างกายแข็งแรง ก็เลยขอวิ่งด้วย
หรือว่าจะเข้าใจแบบนี้ ?
—————–
(เนื่องมาจากคำถามของ Sompong Duangsawai)
บาลีวันละคำ (415)
4-7-56
ปริวาส
(Sompong Duangsawai ๒๙ มิ.ย.๕๖)
รอโพสต์
ความคิดความเข้าใจของคุณ Suttichat Suttichat ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า
๑ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่รู้ว่าต้องอาบัติ มีได้หรือไม่
พูดเชิงเปรียบก็เหมือนกับว่า คนไปฆ่าเขาตายแล้วยังไม่รู้ว่าตัวทำผิด มีไหม
๒ การอยู่ปริวาสเพราะต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้น ใช้ในกรณีที่ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ ภายหลังจึงมาบอกแก่ภิกษุอื่น (อาจเพราะละอายใจหรือเพราะเหตุใดๆ ก็ตาม) ปิดไว้กี่วัน ก็ต้องอยู่ปริวาสไปเท่าจำนวนวันที่ปิด
ถ้าคิดว่าใช้วิธีรวมๆ เอาไว้แล้วไปอยู่ปริวาสเสียทีเดียวเช่นนั้นถูกต้อง ก็จะต้องอยู่ปริวาสติดต่อกันเป็นปีจึงจะเท่าจำนวนวันที่ปิด ตัวอย่างเช่นในกรณีข้อ ๑ ภิกษุสำเร็จความใคร่ แล้วเพิ่งรู้ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสเอาเมื่อล่วงไป ๓ ปี อย่างนี้ก็ต้องอยู่ปริวาสติดต่อกัน ๓ ปีจึงจะคุ้มวันที่ปิดไว้
วาส (บาลี-อังกฤษ)
๑ มีชีวิตอยู่, การพักแรม, ชีวิต
๒ บ้าน, เรือน, ที่อยู่
๓ สถานะ, สภาวะ,
๔ (คุณ) พักอยู่, ดำรงอยู่, อาศัยอยู่, ใช้เวลา
ปริวาส
๑ การพักแรม, การอยู่ชั่วคราว sojourn; stay, (in phrase vipassanā˚)*
๒ เวลาที่อยู่ปริวาส, การพิสูจน์ตนเอง period under probation, (living under) probation
๓ ระยะ, เวลา, การพักอยู่, ช่วงเวลา, ระยะเวลา period, time (lit. stay), interval, duration
*วิปสฺสนาปริวาสตฺถาย เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนา
รูปนันทาเถรีวัตถุ (๑๒๒) ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๕ หน้า ๑๐๖
กิเลเส ปน วิกฺขมฺเภตฺวา วิปสฺสนาปริวาสํ มคฺคปาตุภาวํ สณิกํ กุรุมานา
แต่ครั้นข่มกิเลสได้แล้ว ค่อยๆ ทำการข่ม (บ่ม?) วิปัสสนาไปให้มรรคปรากฏ
วิสุทธิมรรค ภาค ๓ หน้า ๓๑๔ – ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทส แปล ภาค ๓ ตอน ๒ หน้า ๑๙๗
ตตฺถ โย อาทิโต กิเลเส วิกฺขมฺภนฺโต ทุกฺเขน สสงฺขาเรน
สปฺปโยเคน กิลมนฺโต วิกฺขมฺเภติ ฯ ตสฺส ทุกฺขาปฏิปทา โหติ ฯ
โย ปน วิกฺขมฺภิตกิเลโส วิปสฺสนาปริวาส วสนฺโต จิเรน
มคฺคปาตุภาว ปาปุณาติ ฯ ตสฺส ทนฺธาภิฺา โหติ ฯ อิติ
โย โกจิ วาโร ทุกฺขาปฏิปโท ทนฺธาภิฺโติ (๑) นาม กโต ฯ
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า ทุกขาปฏิปทา นั้นต่อไป.
โยคาจรบุคคลใด เมื่อข่มกิเลสทั้งหลายตั้งแต่เริ่มต้น ลำบากอยู่ด้วยการขวนขวายพร้อมกับสังขารอันยากเข็ญ จึงข่มไว้ได้ ปฏิปทาของท่านนั้นเป็นทุกขาปฏิปทา
ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีกิเลสข่มไว้แล้ว เมื่ออบรมวิปัสสนาอยู่ โดยกาลนานจึงถึงความปรากฏแห่งมรรค
การตรัสรู้ของท่านนั้นเป็น ทันธาภิญญา.
ด้วยประการตามที่กล่าวแล้ว วาระอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ดังนี้เป็นต้น ท่านอธิบายไว้แล้ว.
ปริคฺคหิตรูปารูปสฺส ปน วิปสฺสนาปริวาเส มคฺคปาตุภาวทนฺธตาย
ทนฺธาภิฺา นาม โหติ ฯ
ส่วนโยคาวจรบุคคลใดมีรูปและอรูปกำหนดได้แล้วในการเจริญวิปัสสนา เพราะความชักช้าแห่งความปรากฏของมรรค อภิญญาของโยคาวจรบุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทันธาภิญญา.
ววฏฺาปิเต จ นามรูเป วิปสฺสนาปริวาส วสนฺโต จิเรน มคฺค อุปฺปาเทตุ สกฺโกติ ฯ
ตสฺสาปิ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิฺา นาม โหติ ฯ
และเมื่อกำหนดแยกนามรูปได้แล้วเจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนานจึงสามารถให้มรรค
เกิดขึ้นได้ ปฏิปทาของท่านแม้นั้นจึงเป็น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ปจฺจเย จ ปริคฺคเหตฺวา วิปสฺสนาปริวาส วสนฺโต จิเรน มคฺค
อุปฺปาเทติ เอวปิ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิฺา นาม โหติ ฯ
ครั้นกำหนดปัจจัยแทงตลอดลักษณะได้แล้วเจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนานจึงยัง
มรรคให้เกิดขึ้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
ปฏิวิทฺธลกฺขโณ จ วิปสฺสนาปริวาส วสนฺโต จิเรน มคฺค อุปฺปาเทติ เอวปิ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิฺา นาม โหติ ฯ
และท่านที่มีลักษณะอันแทงตลอดแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่โดยกาลนานจึงยังมรรคให้เกิด
แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
นิกนฺติฺจ ปริยาทิยิตฺวา วิปสฺสนาปริวาส วสนฺโต จิเรน มคฺค อุปฺปาเทติ
เอวปิ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิฺา นาม โหติ ฯ
ครั้นครอบงำนิกันติได้แล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ โดยกาลนานจึงยังมรรคให้เกิด
แม้ด้วยอาการอย่างนี้ก็ชื่อว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา.
อัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ โลกุตตรกุสลวัณณนา หน้า ๔๒๒-๔๒๔
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๗๕ หน้า ๖๐๔-๖๐๕
probation (สอ เสถบุตร)
การทดลองดูความสามารถ, เพื่อทดลอง, พิสูจน์
probationer
๑ ผู้อยู่ในระหว่างการทดลองก่อนบวช อาจเป็นหญิงหรือชาย ในศาสนาคริสต์
๒ นักโทษในระหว่างทดลองความประพฤติ ก่อนได้ปล่อย
ปริวาส ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ปริวาส, การอยู่แรมคืนเพื่อออกจากอาบัติ
ปริวาส (ประมวลศัพท์)
การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่า อยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตน และประจานตัวเป็นต้น; ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนอกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปฏิจฉันนปริวาส
ปริวาส
[ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).
อยู่กรรม, อยู่ปริวาส
ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
กิจวัตร ๑๐ อย่างของภิกษุ
๑.ลงอุโบสถ
๒.บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
๓.สวดมนต์ไหว้พระ
๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕.รักษาผ้าครอง
๖.อยู่ปริวาสกรรม*
๗.โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
๙.เทศนาบัติ
๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
กิจวัตร ๑๐ เหล่านี้เป็นกิจใหญ่ ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาให้ทราบความชัด และจำไว้เพื่อปฏิบัติสมควรแก่สมณสารูปแห่งตน
ภิกฺขูสุ ปริวสนฺตีติ เตเนว ติตฺถิยปริวาสํ วสนฺติ น อาปตฺติปริวาสํ. อปริปุณฺณวสฺสตฺตา ปน ภิกฺขุภาวํ ปฏฺฐยมานา วสนฺติ.
ด้วยสองบทว่า ภิกฺขูสุ ปริวสนฺติ ความว่า สามเณรทั้งสองอยู่ปริวาสอย่างเดียรถีย์ หาใช่อยู่ปริวาสเพื่อพ้นอาบัติไม่ แต่เพราะมีอายุยังไม่บริบูรณ์ สามเณรทั้งสองจึงอยู่ (ปริวาส เพราะ) ปรารถนาความเป็นภิกษุ (= อยู่ปริวาสเพื่อรอบวช)
สุมังคลวิลาสินี ภาค ๑ หน้า ๗๑ (อรรถกถาอัคคัญญสูตร)