บาลีวันละคำ

เสวก (บาลีวันละคำ 422)

เสวก

บาลีอ่านว่า เส-วะ-กะ

รากศัพท์มาจาก เสว (ธาตุ = คบหา, เสพ) + ณฺวุ (ปัจจัย = ผู้-) แปลง ณฺวุ เป็น “อก” (อะ-กะ) : เสว + ณฺวุ (= อก) = เสวก

เสว” (เส-วะ) คำกริยาเป็น “เสวติ” (เส-วะ-ติ) มีความหมายว่า รับใช้, คบหาสมาคม, ซ่องเสพ, หันไปหา, ปฏิบัติ, รวมเข้าไว้, ใช้ประโยชน์ ซึ่งตรงกับคำอังกฤษว่า serve หรือที่เราพูดกันว่า “เสิร์ฟ”

เสวก” จึงมีความหมายเหมือน serve นั่นเอง ฝรั่งแปล “เสวก” ว่า serving, a servant

นักบาลีในเมืองไทยนิยมแปลคำกริยา “เสวติ” ว่า ย่อมเสพ, ย่อมคบ ดังนั้น “เสวก” จึงแปลว่า “ผู้เสพคุ้น” “ผู้คบหา

พจน.42 บอกว่า “เสวก” คือ ข้าราชการในราชสํานัก

ในภาษาบาลี คำว่า “เสวก” ใช้ในฐานะ 2 อย่าง คือ

1. คนรับใช้ประจำตัว

2. ข้าราชบริพาร หรือข้าราชสำนัก ในความหมายว่า “ผู้ใกล้ชิดพระราชา”

ในคัมภีร์อรรถกถาจัด “เสวก” ไว้ในกลุ่ม “ราชภัฏ

ราชภัฏ” คือบุคคลที่เรียกว่า “ข้าราชการ” แต่ “เสวก” หมายเอาเฉพาะข้าราชการที่เป็นข้าราชบริพาร หรือข้าราชสำนักเท่านั้น

คำว่า “เสวก” ใช้ประกอบยศข้าราชการในพระราชสำนักสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น

– มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)

– มหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)

ตารางเทียบยศทหารกับยศข้าราชการในพระราชสำนักแสดงไว้ว่า นายร้อยตรี เท่ากับ “รองเสวกตรี

ในภาษาไทย “เสวก” อ่านว่า เส-วก ไม่ใช่ สะ-เหฺวก

คำถาม : ตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดว่าเป็น “เสวก” ได้หรือไม่ ?

—————————–

(ตามคำขอของพระคุณท่าน Chai Appy)

บาลีวันละคำ (422)

11-7-56

Chai Appy 10-7-56

ท่านอาจารย์ อาตมาขอให้อาจารย์ช่วย อธิบายความ “เสวก” หน่อยครับอาจารย์

เสวก = เสวก, ข้าราชบริพาร, อำมาตย์, ผู้จงรักภักดีต่อพระราชา (อนุชีวี) (ศัพท์วิเคราะห์)

เสวตีติ เสวโก ผู้เสพคุ้น คือสนิทสนมใกล้ชิดพระราชา

เสว ธาตุ ในความหมายว่าเสพ, คบหา ณฺวุ ปัจจัย แปลง ณฺวุ เป็น อก

เสวก (บาลี-อังกฤษ)

เสวก, สาวก, คนใช้, ผู้พึ่งพาอาศัย

serving, following; a servant, dependent

เสวติ

๑ รับใช้, คบหาสมาคม, ซ่องเสพ, หันไปหา

to serve, associate with, resort to

๒ ปฏิบัติ, รวมถึง, ใช้ประโยชน์

to practice, embrace, make use of

embrace (สอ เสถบุตร)

๑ วงแขน, เอาเข้าไว้ในวงแขน, กอด, สวมกอด

๒ รวบ, รวบรวม, รวบเข้าได้, อ้าแขนรับ, ยึดเอา, รับรอง

๓ ล้อมรอบ

เสวก ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ผู้คบ, ผู้เสพ, ผู้รับใช้.

เสวก ป.

ข้าราชสำนัก

เสวก

  [-วก] น. ข้าราชการในราชสํานัก. (ป.; ส. เสวก = คนใช้).

เสวกามาตย์

  [-วะกามาด] น. เสวกและอํามาตย์.

อมจฺโจ  วา  โหตุ  มหามตฺโต  วา  เสวโก วา  กิญฺจิ  ฐานนฺตรํ  ปตฺโต  วา  อปตฺโต  วา  โยโกจิ  รญฺโญ  ภตฺตเวตนภโต  สพฺโพ  ราชภโตติ  สงฺขฺยํ  คจฺฉติ.

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ หน้า ๖๙ มหาขันธกวัณณนา

ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

จากวิกิพีเดีย

รองเสวกตรี = ร้อยตรี

มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) (23 ตุลาคม 2414 – 10 ตุลาคม 2492 – 78 ปี) พระยาอนุศาสน์จิตรกร เป็นต้นสกุล “จิตรกร” เป็นบิดาของ นางอำพัน จิตรกร (บำรุงราชบริพาร) มารดาของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้มีฝีมือทางด้านศิลปะ โดยเฉพาะด้านจิตรกรรม และการถ่ายภาพ จนได้เป็นช่างภาพประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยฉายพระบรมฉายาลักษณ์ และการเสด็จประพาสในวาระต่างๆ

sanook.com

มหาเสวก

 [มะ-หา-เส-วก] (มค. มหา + เสวก = ข้าราชสำนัก, ผู้รับใช้) น. ชื่อยศข้าราชการในพระราชสำนักสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์.

มหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)

พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยพระราชวงศ์ และผู้มีบรรดาศักดิ์ ทำลายชีพตนเอง

 ศุภมัสดุพระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค 2458 พรรษา ปัจจุบันสมัย กุมภาพันธมาศ สัตตวีสติมสุรทิน อาทิตย์วาร โดยกาลกำหนด

 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรม นราธิราช พินิตประชานารถมหาสมตวงศ์ อติศัยพงศวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิก โรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ เบื้องอุตรภาคแห่ง ท้องพระโรงในค่ายหลวง ตำบลบ้านโป่ง มณฑลราชบุรี พร้อมด้วยเสนาบดี มหาอำมาตย์ราชเสวก แลนายเสือป่า มีอาทิ คือ มหาอำมาตย์เอก (นายกองตรี) เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ๑ มหาเสวกเอก (นายพลตรี นายพลเสือป่า) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีกระทรวงวัง ๑ จางวางเอก (นายพลเสือป่า) พระยาบุรุษยรัตน ราชพัลลภ อธิบดีกรมชาวที่ ๑ จางวางโท (นายพลตรี นายพลเสือป่า) พระยา ประสิทธิ์ศุภการ อธิบดีกรมมหาดเล็ก ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์ ๑ พระตำรวจโท (นายกองตรี) พระยาราชวัลภานุศิษฐ สมุหพระตำรวจ ๑ นายพลโท พระยา เทพอรชุน สมุหราชองครักษ์ ๑ มหาเสวกโท พระยาศรีสุนทรโวหาร ผู้ช่วย ราชเลขานุการ ๑ มหาเสวกโท พระยาศรีวรวงษ์ ปลัดทูลฉลองกระทรวง มุรธาธร ๑ มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ สมุหพระราชมณเฑียร ๑ นายหมวดเอก เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็ก ราชองครักษ์เสือป่า ๑ และข้าทูลลอองธุลีพระบาทราชบริพารฝ่ายทหาร พลเรือน และเสือป่า นอกนี้ มีเป็นเอนกคณนา ห้อมล้อมฝ่าพระบาทยุคลบทมาลย์ ปริหารพระราชอิศริยยศ โดยกำหนดฐานันดร

 จึงมีพระบรมราชโองการมานพระสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้า ฯ ว่าได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ตามรายงานกระทรวงกลาโหมว่า นายพันตรีหลวงโลหะอาวุธ (หม่อมราชวงษ์ชวน ทินกร ณ กรุงเทพ) สมุหบัญชีกรมแสงสรรพยุทธ ซึ่งเป็นผู้มีพิรุธในเรื่องที่เงินในกรมแสงสรรพยุทธ หายนั้น ได้ทำลายชีพตนเองในที่คุมขัง ทรงพระราชดำริว่า อันการปลงชีพ ตนเองเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่นิยม ทั้งในพระพุทธศาสนา แลอาณาจักร และโลก คือ ในทางพระพุทธศาสนาย่อมถือว่าเป็นอัตตะวินิบาต ในทางอาณาจักรก็ถือ ว่าเป็นอันทำลายชีวิตมนุษย์ผู้หนึ่งเหมือนกัน และในทางโลกนับว่าเป็นคนวิปริตผิดธรรมดา จึงเป็นกรรมอันพระราชวงศ์ และข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์ไม่พึง ประพฤติ เมื่อผู้ใดประพฤติกรรมอันลามกเห็นปานฉะนี้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มี ความผิด หาควรจะได้รับเกียรติยศอย่างหนึ่งอย่างใดในทางราชการไม่ เพราะฉนั้น อย่าให้เจ้าพนักงานจัดเครื่องประดับเกียรติยศพระราชทานสำหรับ ศพนายพันตรีหลวงโลหะอาวุธ (หม่อมราชวงษ์ชวน ทินกร ณ กรุงเทพ) เลย

 อนึ่ง ต่อไปเมื่อหน้าถ้าผู้หนึ่งผู้ใดในราชตระกูลก็ดี ข้าราชการผู้มียศ บรรดาศักดิ์ก็ดี ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการปลงชีวิตตนเอง ห้ามมิให้เจ้าพนักงาน จัดเครื่องประดับเกียรติยศศพพระราชทานเป็นอันขาด

 ให้เสนาบดีวังเป็นหน้าที่รักษาพระราชกฤษฎีกานี้

[รก.2458/-/481/5 มีนาคม 2458]

ลำดับที่ทหารบกทหารเรือทหารอากาศตำรวจภูธรพลเรือนกระทรวงวัง
และกรมขึ้น
กรมพระ
ตำรวจหลวง
รักษาพระองค์
กรมมหาดเล็ก
11นายร้อยตรีนายเรือตรีนายเรืออากาศตรีนายร้อยตำรวจตรีรองอำมาตย์ตรีรองเสวกตรีนายตำรวจตรีมหาดเล็กวิเศษ
12ว่าที่
นายร้อยตรี
ว่าที่
นายเรือตรี
ว่าที่
นายเรืออากาศตรี
ว่าที่นายร้อย
ตำรวจตรี
ว่าที่
อำมาตย์ตรี
ว่าที่
รองเสวกตรี
ว่าที่
นายตำรวจตรี
มหาดเล็กสำรอง
13นายดาบพันจ่าเอกพันจ่าอากาศเอกนายดาบตำรวจราชบุรุษ
14จ่านายสิบพันจ่าโทพันจ่าอากาศโทจ่านายสิบ
ตำรวจ
จ่าพันทนายนายหมู่ใหญ่พันจ่าเด็กชา
15พันจ่าตรีพันจ่าอากาศตรี
16นายสิบเอกจ่าเอกจ่าอากาศเอกนายสิบ
ตำรวจเอก
พันทนายเอกนายหมู่เอกพันเด็กชาเอก
17นายสิบโทจ่าโทจ่าอากาศโทนายสิบ
ตำรวจโท
พันทนายโทนายหมู่โทพันเด็กชาโท
18นายสิบตรีจ่าตรีจ่าอากาศตรีนายสิบ
ตำรวจตรี
พันทนายตรีนายหมู่ตรีพันเด็กชาตรี
19พลทหารพลทหารเรือพลทหารอากาศพลตำรวจพันทนายพลตำรวจเด็กชา

พลทหาร          พันทนาย

นายสิบตรี  พันทนายตรี

นายสิบโท พันทนายโท

นายสิบเอก        พันทนายเอก

จ่านายสิบ  จ่าพันทนาย

นายร้อยตรี รองเสวกตรี

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย