บาลีวันละคำ

ประชาคม  (บาลีวันละคำ 3,644)

ประชาคม

อ่านว่า ปฺระ-ชา-คม

แยกศัพท์เป็น ประชา + อาคม

(๑) “ประชา” 

บาลีเป็น “ปชา” (ปะ-ชา)  รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน) + ชนฺ (ธาตุ ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ที่สุดธาตุ และ กฺวิ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: + ชนฺ + กฺวิ = ปชนกฺวิ > ปชน > ปช + อา = ปชา

ปชา” นักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “หมู่สัตว์” ทำให้ผู้ไม่คุ้นสำนวนบาลีเข้าใจไปว่าหมายถึงหมู่สัตว์เดรัจฉาน แต่ความจริงหมายถึง “หมู่คน” – (ดูความหมายของคำว่า “สัตว์” ที่คำว่า สตฺต บาลีวันละคำ (212) 6-12-55)

ปชา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดมาต่างกันไป” ซึ่งเป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะท่านว่าผู้คนแม้จะมีจำนวนเป็นพันล้านก็ไม่เหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว

ปชา” หมายถึง คน, ผู้คน, รุ่นของคน, ผู้สืบตระกูล, ลูกหลาน, สัตว์โลก, มนุษยชาติ (progeny, offspring, generation, beings, men, world, mankind)

บาลีเป็น “ปชา” สันสกฤตเป็น “ปฺรชา” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประชา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประชา : (คำนาม) หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส. ปฺรชา; ป. ปชา).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปฺรชา : (คำนาม) ‘ประชา,’ สันตติ, บุตร์หรือสุดา; ราษฎร, ประชาชนทั่วไป; progeny, offspring; people, subjects.”

(๒) “อาคม

บาลีอ่านว่า อา-คะ-มะ รากศัพท์มาจาก อา + คมฺ (ธาตุ = ไป) + (อะ) ปัจจัย

: อา + คมฺ = อาคม + = อาคม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การมา” “สิ่งที่มา”

เสริมความรู้ :

อา” เป็นคำจำพวกที่เรียก “อุปสรรค” คือใช้นำหน้าคำอื่น มีความหมายว่า ทั่วไป, ยิ่ง, กลับความ

ในที่นี้ “อา” ใช้ในความหมายว่า “กลับความ

กลับความ” หมายความว่า คำที่อยู่หลัง (โดยมากเป็นธาตุ คือรากศัพท์) มีความหมายอย่างไร เมื่อมี “อา-” มานำหน้า ก็จะเปลี่ยนความหมายเป็นตรงกันข้าม เช่น –

ทา ธาตุ หมายถึง “ให้” ถ้ามี “อา” นำหน้า เป็น “อาทา”  เช่นคำว่า “อาทาน” ก็กลับความหมายจาก ให้ เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น เอา, รับ, จับ, ถือ

นี ธาตุ หมายถึง “นำไป” ถ้ามี “อา” นำหน้า เป็น “อานี” เช่นในคำว่า “อานีต” ก็กลับความหมายจาก นำไป เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น นำมา

ดังนั้น คมฺ ธาตุ หมายถึง “ไป” เมื่อมี “อา” นำหน้าเป็น “อาคม” ก็กลับความหมายจาก “ไป” เป็นตรงข้าม คือกลายเป็น “มา

แต่พึงทราบว่า คำที่ “อา” ไปนำหน้ามิใช่จะ “กลับความ” ไปหมดทุกคำ 

อา” อาจจะมีความหมายว่า “ทั่วไป” หรือ “ยิ่งขึ้น” ก็ได้ 

คำไหนจะกลับความหรือไม่กลับความ ขึ้นอยู่กับความหมายที่ลงตัวแล้วของคำนั้นๆ

อาคม” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การมา, การเข้าใกล้, บรรลุ (coming, approach, result) 

(2) สิ่งที่คนอาศัย, ทรัพยากร, หนทาง, ที่อ้างอิง, แหล่งสำหรับอ้างอิง, ตำรา, คัมภีร์, พระบาลี (that which one goes by, resource, reference, source of reference, text, Scripture, Canon)

(3) กฎ, ข้อปฏิบัติ, วินัย, การเชื่อฟัง (rule, practice, discipline, obedience)

(4) ความหมาย, ความเข้าใจ (meaning, understanding)

(5) การใช้คืน (ซึ่งหนี้สิน) (repayment [of a debt])

(6) เป็นศัพท์เฉพาะทางไวยากรณ์ = “เพิ่มเข้าไป”, พยัญชนะหรือพยางค์ที่เพิ่มขึ้นหรือใส่เข้าไป (as gram. = “augment”, a consonant or syllable added or inserted)

ตัวอย่างความหมายในข้อ (6) เช่น :

ยทิทํ (ยะ-ทิ-ทัง, ในบทสวดสังฆคุณ-ยทิทํ จตฺตาริ …) มาจากคำว่า ยํ + อิทํ จะเห็นว่าไม่มี ทหาร เมื่อสนธิกันควรจะเป็น “ยํอิทํ” หรือ “ยอิทํ” แต่เป็น “ยทิทํ” เพราะเพิ่ม ทหารลงไประหว่าง ยํ กับ อิทํ 

ทหาร ที่เพิ่มเข้าไปนี้คือ “อาคม” เรียกว่า ท-อาคม (ทะ-อาคม)

จริต ประกอบด้วย จรฺ ธาตุ + ปัจจัย ควรเป็น “จรต” แต่เป็น “จริต” เพราะเพิ่มสระ อิ ที่ –– 

สระ อิ ที่เพิ่มเข้ามานี้คือ “อาคม” เรียกว่า อิ-อาคม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาคม : (คำนาม) เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).”

ประชา + อาคม = ประชาคม แปลตามศัพท์ว่า “การมาของคน” 

คำว่า “ประชาคม” มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

ประชาคม : (คำนาม) ชุมชน, กลุ่มชนซึ่งอยู่รวมกันและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน.”

ศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถานบอกว่า “ประชาคม” บัญญัติจากคำอังกฤษว่า community

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล community เป็นไทยว่า หมู่, คณะ, พวก, ชุมชน, ชุมนุมชน, ประชาคม, การร่วมกัน

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล community เป็นบาลีดังนี้: 

(1) samasambhoga สมสมฺโภค (สะ-มะ-สำ-โพ-คะ) = การมารวมกันของคนที่มีอะไรคล้ายๆ กัน

(2) sāvakasaṅgha สาวกสงฺฆ (สา-วะ-กะ-สัง-คะ) = “หมู่แห่งสาวก” > กลุ่มชนที่มีความเชื่อถือแบบเดียวกัน

(3) nikāya นิกาย (นิ-กา-ยะ) = การมารวมกันเป็นกลุ่ม

ประชาคม” แปลงกลับเป็นบาลีเป็น “ปชาคม” (ปะ-ชา-คะ-มะ) ยังไม่พบรูปศัพท์เช่นนี้ในคัมภีร์บาลี

คำว่า “ประชาคม” ถ้านักเรียนบาลีแปลเป็นบาลีว่า “ปชาคม” ก็จะเป็นอย่างที่เรียกว่า “บาลีไทย” คือคำเป็นบาลี แต่ความหมายเป็นไทย ถือว่าเป็นบาลีที่ไม่ถูกต้อง ไม่ผิดหลักไวยากรณ์ แต่ไม่ได้อรรถรสทางหลักภาษา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าอยากให้โลกนี้มีเพื่อนที่ดี

: ก็จงทำตัวเองให้เป็นเพื่อนที่ดีของโลก

#บาลีวันละคำ (3,644)

4-6-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *