บาลีวันละคำ

อสฺสมํส (บาลีวันละคำ 3,649)

อสฺสมํส

เนื้อม้า : เนื้อต้องห้ามชนิดที่ 3

เขียนแบบบาลี อ่านว่า อัด-สะ-มัง-สะ

แยกศัพท์เป็น อสฺส + มํส

(๑) “อสฺส” 

อ่านว่า อัด-สะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อสฺ (ธาตุ = กิน; ซัด, ขว้าง) + (อะ) ปัจจัย, ซ้อน สฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย

: อสฺ + สฺ + = อสฺส แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้กินเนืองๆ” (2) “ผู้ทิ้งไป” (คือวิ่งแซงสัตว์อื่นไป) 

(2) (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + สี (ธาตุ = นอน) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น , “ลบสระหน้า” (คือ สี + , สี อยู่หน้า อยู่หลัง, “ลบสระหน้า” คือลบ อี ที่ สี : สี > ), ซ้อน สฺ ระหว่างบทหน้ากับธาตุ ( [ > ] + สฺ + สี)

: > + สฺ + สี = อสฺสี > อสฺส + = อสฺส แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่นอน

อสฺส” (ปุงลิงค์) หมายถึง ม้า (a horse) 

ข้อสังเกต :

ตามคำแปลตามศัพท์ แสดงธรรมชาติของม้า 3 อย่างคือ (1) ม้าเป็นสัตว์ที่กินตลอดเวลา (2) ม้าเป็นสัตว์วิ่งได้เร็ว (3) ม้าเป็นสัตว์ที่ไม่นอน

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อัส-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “อัสสะ” ไว้ บอกไว้ว่า –

อัส-, อัสสะ : (คำแบบ) (คำนาม) ม้า. (ป.; ส. อศฺว).”

หมายเหตุ: “คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

บาลี “อสฺส” สันสกฤตเป็น “อศฺว” คำที่เราออกจะคุ้นกันดีคือ “อัศวิน” ก็ไปจาก “อศฺว

อัศวิน” เทียบเป็นบาลีเท่ากับ “อสฺสี” แปลว่า “ผู้มีม้า” หมายถึง ผู้ขี่ม้า (a rider on horseback)

เทียบคำพอให้เห็นการกลายรูป :

บาลี : อสฺส 

สันสกฤต : อศฺว 

บาลี : อสฺส > อสฺสี = ผู้มีม้า, ผู้ขี่ม้า 

สันสกฤต : อศฺว > อศฺวินฺ = ผู้ขี่ม้า (a horseman)

ดังนั้น : อสฺส > อศฺว > (อสฺสี) > อศฺวินฺ > อัศวิน จึงหมายถึง ผู้ขี่ม้า

อัศวิน” ถ้าแปลเป็นอังกฤษ เราก็ต้องนึกถึงคำว่า knight

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล knight ในความหมายแรกว่า ตัวม้าในหมากรุก

เข้าใจว่าเพราะความหมายนี้เอง เราจึงบัญญัติคำว่า “อัศวิน” เป็นความหมายของ knight

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล knight เป็นบาลีว่า –

(1) vīruttama วีรุตฺตม (วี-รุด-ตะ-มะ) = สุดยอดผู้กล้าหาญ

(2) mahāyodha มหาโยธ (มะ-หา-โย-ทะ) = นักรบผู้ยิ่งใหญ่

โปรดสังเกตว่า คำแปล knight เป็นบาลีไม่มีศัพท์ที่หมายถึง “ม้า”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อัศวิน : (คำนาม) นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).”

ในที่นี้เขียนตามรูปบาลีเป็น “อสฺส

(๒) “มํส” 

อ่านว่า มัง-สะ รากศัพท์มาจาก มนฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง นฺ ที่สุดธาตุเป็นนิคหิต (มนฺ > มํ)

: มนฺ + = มนส > มํส (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนรู้จัก” หมายถึง เนื้อคน, เนื้อสัตว์ (flesh, meat)

มํส” ในภาษาไทยใช้เป็น “มังส” และอิงสันสกฤตเป็น “มางสะ” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

มังส-, มังสะ, มางสะ : (คำนาม) เนื้อของคนและสัตว์. (ป.).”

คำที่เราคุ้นกันดีคือ “มังสวิรัติ” (มัง-สะ-วิ-รัด) ก็มาจาก “มํส” คำนี้

อสฺส + มํส = อสฺสมํส (อัด-สะ-มัง-สะ) แปลว่า “เนื้อม้า

ขยายความ :

อสฺสมํส” เป็น 1 ในเนื้อ 10 ชนิดที่มีพุทธบัญญัติห้ามภิกษุฉัน คือ –

(1) มนุสฺสมํส เนื้อมนุษย์

(2) หตฺถิมํส เนื้อช้าง

(3) อสฺสมํส เนื้อม้า

(4) สุนขมํส เนื้อสุนัข

(5) อหิมํส เนื้องู

(6) สีหมํส เนื้อสิงโต

(7) พฺยคฺฆมํส เนื้อเสือโคร่ง

(8 ) ทีปิมํส เนื้อเสีอเหลือง

(9) อจฺฉมํส เนื้อหมี

(10) ตรจฺฉมํส เนื้อเสือดาว

…………..

ต้นเรื่องที่ห้ามฉันเนื้อม้า ในพระวินัยปิฎกบันทึกไว้ดังนี้ –

…………..

เตน  โข  ปน  สมเยน  รญฺโญ  อสฺสา  มรนฺติ  ฯ 

ก็สมัยนั้นแล ม้าหลวงตายมาก

มนุสฺสา  ทุพฺภิกฺเข  อสฺสมํสํ  ปริภุญฺชนฺติ  ภิกฺขูนํ  ปิณฺฑาย  จรนฺตานํ  อสฺสมํสํ  เทนฺติ  ฯ 

ในยามอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อม้า และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต

ภิกฺขู  อสฺสมํสํ  ปริภุญฺชนฺติ  ฯ 

ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า 

มนุสฺสา  อุชฺฌายนฺติ  ขียนฺติ  วิปาเจนฺติ 

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า –

กถํ  หิ  นาม  สมณา  สกฺยปุตฺติยา  อสฺสมํสํ  ปริภุญฺชิสฺสนฺติ 

ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า

ราชงฺคํ  อสฺสา

ม้าเป็นราชพาหนะ

สเจ  ราชา  ชาเนยฺย  น  เตสํ  อตฺตมโน  อสฺสาติ  ฯ 

ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรงพอพระทัยต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่

ภควโต  เอตมตฺถํ  อาโรเจสุํ  ฯ 

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

น  ภิกฺขเว  อสฺสมํสํ  ปริภุญฺชิตพฺพํ  

พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า

โย  ปริภุญฺเชยฺย  อาปตฺติ  ทุกฺกฏสฺสาติ  ฯ

รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกฏ

ที่มา: เภสัชขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 60

…………..

คัมภีร์อรรถกถาขยายความว่า –

หตฺถิอสฺสมํสํ  ราชงฺคตาย.

เนื้อช้างและเนื้อม้า ทรงห้ามเพราะเป็นราชพาหนะ

ที่มา: สมันตปาสาทิกา ภาค 3 หน้า 193

…………..

ในภาษาไทย คำที่หมายถึง “ม้า” ที่เราคุ้นกันดีคำหนึ่งคือ “อาชา” ตัดมาจากคำเต็มในบาลีว่า “อสฺสาชานีย” (อัด-สา-ชา-นี-ยะ) มาจากคำว่า อสฺส + อาชานีย แปลว่า “ม้าอาชาไนย” หมายถึง ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกตัดเป็น “อาชาไนย” แล้วตัดลงไปอีกเหลือเพียง “อาชา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ม้าเคยช่วยกู้ไทยได้เอกราช

: แม้จะเป็นเพียงชาติเดรัจฉาน

: เป็นคนไทยผลาญไทยด้วยใจพาล

: ส่อสันดานชาติชั่วกว่าอาชา

#บาลีวันละคำ (3,649)

9-6-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *