ทัศนคติ (บาลีวันละคำ 432)
ทัศนคติ
(บาลีไทย)
อ่านว่า ทัด-สะ-นะ-คะ-ติ
“ทัศน-” บาลีเป็น “ทสฺสน” (ทัด-สะ-นะ) แปลว่า การเห็น, การมองดู, การสังเกต, สิ่งที่เห็น, การเล็งเห็น, เครื่องรู้เห็น, ความเห็น, ทฤษฎี, ลัทธิ, ทิฐิ, การแสดง (ดูเพิ่มเติมที่ บาลีวันละคำ (352) 29-4-56)
“คติ” (คะ-ติ) แปลตามศัพท์ว่า “การไป” แต่มีความหมายอย่างอื่นอีก คือ การจากไป, การผ่านไป, ทางไป, ที่ไป, ที่อยู่, ที่เกิดใหม่, ภพภูมิที่ไปเกิด, ทิศทาง, แนวทาง, วิถีชีวิต, ความเป็นไป, แบบอย่าง, วิธี (ดูเพิ่มเติมที่ บาลีวันละคำ (351) 28-4-56)
ทัศน + คติ = ทัศนคติ เป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาจิตวิทยา จากภาษาอังกฤษว่า attitude และมีศัพท์บัญญัติอีกคำหนึ่งว่า “เจตคติ” (เจ-ตะ-คะ-ติ) พจน.42 บอกความหมายดังนี้ –
ทัศนคติ = แนวความคิดเห็น
เจตคติ = ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ความหมาย :
ทัศนคติ (Attitude) โดยภาพรวมหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมอันมีแนวโน้มที่จะให้บุคคลแสดงปฏิกิริยาและกระทำต่อสิ่งนั้น ๆ ในทางสนับสนุนหรือปฏิเสธ ทัศนคติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน การที่จะรู้ถึงทัศนคติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ต้องใช้วิธีแปลความหมายของการแสดงออก (รุ่งนภา บุญคุ้ม. 2536. ทัศนคติของพัฒนากรต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด : กรณีศึกษาศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพ ฯ)
คำว่า “ทสฺสนคติ–ทัศนคติ” ไม่พบว่ามีใช้ในคัมภีร์บาลี
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล attitude เป็นบาลีว่า อาการ, วิลาส, สณฺฐิติ
การแปล attitude ว่า “ทัศนคติ” หรือ “เจตคติ” จึงเป็นไปตามทัศนคติของนักวิชาการไทย
: ทัศนคติ เปลี่ยนได้
แต่ทัศนะที่มีอคติ เปลี่ยนยาก
————————-
(เนื่องมาจากคำถามของ Ranya Jaengraksa)
บาลีวันละคำ (432)
21-7-56
อาการ
๑. ภาวะ, สภาพ
๒. คุณสมบัติ, คุณภาพ, ลักษณะประจำตัว
๓. ลักษณะ, รูปร่างหน้าตา, รูป
๔. วิธี, รูปลักษณะ, อาการ (manner)
๕. เหตุผล, หลักฐาน, เรื่องราว
วิลาส
๑. เสน่ห์, ความสง่างาม, ความงดงาม
๒. การทำเล่น, การเล่นสนุก, การทำสะบัดสะบิ้ง
สณฺฐิติ
๑. เสถียรภาพ, ความมั่นคง
๒. การกำหนดหรือเจาะจง, การตกลง
ทัศนคติ (Attitude) โดยภาพรวมหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมอันมีแนวโน้มที่จะให้บุคคลแสดงปฏิกิริยาและกระทำต่อสิ่งนั้น ๆ ในทางสนับสนุนหรือปฏิเสธ ทัศนคติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน การที่จะรู้ถึงทัศนคติของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ต้องใช้วิธีแปลความหมายของการแสดงออก (รุ่งนภา บุญคุ้ม. 2536. ทัศนคติของพัฒนากรต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด : กรณีศึกษาศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพ ฯ.)
ทสฺสน = ความเห็น, ลัทธิ, ทิฐิ (ศัพท์วิเคราะห์)
ทสฺสยเตติ ทสฺสนํ การเห็น
ทิส ธาตุ ในความหมายว่าเห็น ยุ ปัจจัย แปลง ทิส เป็น ทสฺส ยุ เป็น อน
ทสฺสน (บาลี-อังกฤษ)
๑. การเห็น, การมองดู, การสังเกต; ทัศนะ (sight of), สิ่งที่ปรากฏ, รูปร่าง
seeing, looking; noticing; sight of, appearance, look.
๒. (อำนาจของ) สัญชาน, ความสามารถแห่งปฏิสัญชาน, ญาณ, การเล็งเห็น, ทัศนะ (view), ทฤษฎี
(power of) perception, faculty of apperception, insight, view, theory; esp.
คติ = ที่ไป, ที่อยู่, ที่เกิดใหม่, ภพเป็นที่ไปของสัตว์ (ศัพท์วิเคราะห์)
สุจริตทุจฺจริตกมฺเมน สตฺเตหิ อุปปชฺชนวเสน คนฺตพฺพาติ คติ ภูมิอันเหล่าสัตว์ต้องไป ด้วยการเข้าถึง
คมฺ ธาตุ ในความหมายว่าไป, ถึง ติ ปัจจัย ลบ ม ที่สุดธาตุ
คจฺฉติ ปวตฺตติ เอตฺถาติ คติ ที่เป็นที่ไป (เหมือน วิ.ต้น)
คติ (บาลี-อังกฤษ)
๑. การไป, การจากไป, ทิศทาง, แนว, วิถีชีวิต
going, going away, direction, course, career.
๒. การผ่านไป, ทางไป going away, passing on
คตี
๑. มีปกติไป
๒. มีคติอย่างหนึ่ง, มีชะตากรรม, มีพรหมลิขิต
course (สอ เสถบุตร)
เส้นทาง, แนวทางเดิน, เข็ม, วิถีทาง, วิธี, แนวความคิด
ทัศน-, ทัศน์, ทัศนะ, ทัศนา
[ทัดสะนะ-, ทัด, ทัดสะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
ทัศนคติ
น. แนวความคิดเห็น.
เจตคติ
[เจตะ-] น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. attitude).
คติ ๑
[คะติ] น. การไป; ความเป็นไป. (ป.).
คติ ๒
[คะติ] น. แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง. (ป.).
คติชาวบ้าน
น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่นของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
คติธรรม
น. ธรรมที่เป็นแบบอย่าง.
คตินิยม
น. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทางศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology).
คติพจน์
น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง.
คติสุขารมณ์
น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบัน เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. (อ. hedonism).
ทัศน์ (สอ เสถบุตร)
vision, sight, (in one’s) view,(according to his) light
light แง่คิด
sight เห็น, การเห็น, สิ่งที่เห็น, สายตา
view มองดู, วงจักษุ, สายตา, ความเห็น, ทรรศนะ
viewpoint แง่คิด, ทรรศนะ
attitude (สอ เสถบุตร)
ท่า, ทีท่า, กิริยาท่าทาง, อาการ, การวางตัว
attitude พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี
อาการ, วิลาส, สณฺฐิติ
ทัศนคติ attitude
ทัศนคติ เป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญมากแนวหนึ่งทาง จิตวิทยาสังคม และ การสื่อสาร และมีการใช้ คำนี้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับการนิยามคำว่า ทัศนคติ นั้น ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้
โรเจอร์ (Roger , 1978 : 208 – 209 อ้างถึงใน สุรพงษ์ โสธนะเสถียร , 2533 : 122) ได้กล่าวถึง ทัศนคติ ว่า เป็นดัชนีชี้ว่า บุคคลนั้น คิดและรู้สึกอย่างไร กับคนรอบข้าง วัตถุหรือสิ่งแวดล้อมตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ โดย ทัศนคติ นั้นมีรากฐานมาจาก ความเชื่อที่อาจส่งผลถึง พฤติกรรม ในอนาคตได้ ทัศนคติ จึงเป็นเพียง ความพร้อม ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า และเป็น มิติของ การประเมิน เพื่อแสดงว่า ชอบหรือไม่ชอบ ต่อประเด็นหนึ่ง ๆ ซึ่งถือเป็น การสื่อสารภายในบุคคล (Interpersonal Communication) ที่เป็นผลกระทบมาจาก การรับสาร อันจะมีผลต่อ พฤติกรรม ต่อไป
โรเสนเบิร์ก และฮอฟแลนด์ (Rosenberg and Hovland , 1960 : 1) ได้ให้ความหมายของ ทัศนคติ ไว้ว่า ทัศนคติ โดยปกติสามารถ นิยาม ว่า เป็นการจูงใจต่อแนวโน้มใน การตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจงกับสิ่งที่เกิดขึ้น
เคลเลอร์ (Howard H. Kendler , 1963 : 572) กล่าวว่า ทัศนคติ หมายถึง สภาวะความพร้อม ของบุคคล ที่จะ แสดงพฤติกรรม ออกมา ในทางสนับสนุน หรือ ต่อต้านบุคคล สถาบัน สถานการณ์ หรือ แนวความคิด
คาร์เตอร์ วี. กูด (Carter V. Good , 1959 : 48) ให้คำจำกัดไว้ว่า ทัศนคติ คือ ความพร้อม ที่จะ แสดงออก ในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ที่เป็น การสนับสนุน หรือ ต่อต้านสถานการณ์ บางอย่าง บุคคล หรือสิ่งใด ๆ
นิวคอมบ์ (Newcomb , 1854 : 128) ให้คำจำกัดความไว้ว่า ทัศนคติ ซึ่งมีอยู่ในเฉพาะคนนั้น ขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม อาจ แสดงออก ในพฤติกรรม ซึ่งเป็นไปได้ใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะชอบหรือพึงพอใจ ซึ่งทำให้ผู้อื่นเกิด ความรักใคร่ อยากใกล้ชิดสิ่งนั้น ๆ หรืออีก ลักษณะหนึ่ง แสดงออก ในรูปความไม่พอใจ เกลียดชัง ไม่อยากใกล้สิ่งนั้น
นอร์แมน แอล มุน (Norman L. Munn , 1971 : 71) กล่าวว่า ทัศนคติ คือ ความรู้สึก และ ความคิดเห็น ที่บุคคล มีต่อสิ่งของ บุคคล สถานการณ์ สถาบัน และข้อเสนอใด ๆ ในทางที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธ ซึ่งมีผลทำให้ บุคคลพร้อม ที่จะ แสดงปฏิกิริยา ตอบสนอง ด้วย พฤติกรรม อย่างเดียวกันตลอด
จี เมอร์ฟี , แอล เมอร์ฟี และ ที นิวคอมบ์ (G. Murphy , L. Murphy and T. Newcomb , 1973 : 887) ให้ความหมายของคำว่า ทัศนคติ หมายถึง ความชอบ หรือไม่ชอบ พึงใจ หรือไม่พึงใจที่บุคคลแสดงออกมาต่อสิ่งต่าง ๆ
เดโช สวนานนท์ (2512 : 28) กล่าวถึง ทัศนคติ ว่าเป็นบุคลิกภาพที่สร้างขึ้นได้ เปลี่ยนแปลงได้และเป็น แรงจูงใจ ที่กำหนด พฤติกรรม ของบุคคล ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ศักดิ์ สุนทรเสณี (2531 : 2) กล่าวถึง ทัศนคติ ที่เชื่อมโยงไปถึง พฤติกรรมของบุคคล ว่า ทัศนคติ หมายถึง
1. ความสลับซับซ้อนของความรู้สึก หรือการมีอคติของบุคคล ในการที่จะ สร้างความพร้อม ที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามประสบการณ์ของบุคคลนั้น ที่ได้รับมา
2. ความโน้มเอียง ที่จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางที่ดีหรือ ต่อต้าน สิ่งแวดล้อม ที่จะมาถึงทางหนึ่งทางใด
3. ในด้าน พฤติกรรม หมายถึง การเตรียมตัว หรือความพร้อมที่จะตอบสนอง
จากคำจำกัดความต่าง ๆเหล่านี้ จะเห็นได้ว่ามีประเด็นร่วมที่สำคัญดังนี้คือ
1. ความรู้สึกภายใน
2. ความพร้อม หรือ แนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมในทางใดทางหนึ่ง
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทัศนคติ เป็นความสัมพันธ์ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความรู้สึก และความเชื่อ หรือการรู้ของบุคคล กับแนวโน้มที่จะมี พฤติกรรมโต้ตอบ ในทางใดทางหนึ่งต่อเป้าหมายของ ทัศนคติ นั้น
โดยสรุป ทัศนคติ ในงานที่นี้เป็นเรื่องขอ งจิตใจ ท่าที ความรู้สึกนึกคิด และความโน้มเอียงของบุคคล ที่มีต่อข้อมูลข่าวสาร และการเปิดรับ รายการกรองสถานการณ์ ที่ได้รับมา ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ทัศนคติ มีผลให้มีการแสดง พฤติกรรม ออกมา จะเห็นได้ว่า ทัศนคติ ประกอบด้วย ความคิดที่มีผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกนั้น ออกมาโดยทางพฤติกรรม