บาลีวันละคำ

ศาล (บาลีวันละคำ 452)

ศาล

อ่านว่า สาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกความหมายของคำว่า “ศาล” ไว้ดังนี้ –

1. องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร

2. ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา

3. ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม

พจน.42 ไม่ได้บอกว่าคำว่า “ศาล” มาจากภาษาอะไร

มีคำเก่าบางคำที่เก็บไว้ คือ –

1. “ศาลาลูกขุน” = ที่ทำการของลูกขุน

2. “ลูกขุน ณ ศาลหลวง” = คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง

3. “ลูกขุน ณ ศาลา” = คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมีตําแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา

แสดงให้เห็นว่า “ศาล” กับ “ศาลา” น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน

1. คำว่า “องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี” (ศาล-ในความหมายที่ 1) ตรงกับบาลีว่า “วินิจฺฉยมหามตฺต” (วิ-นิด-ฉะ-ยะ-มะ-หา-มัด-ตะ) = อำมาตย์ผู้พิพากษาอรรถคดี

2. คำว่า “ที่ชำระความ” (ศาล-ในความหมายที่ 2) บาลีใช้คำว่า

– “วินิจฺฉยสาลา” (วิ-นิด-ฉะ-ยะ-สา-ลา) = ศาลาพิพากษาอรรถคดี

– “วินิจฺฉยฏฺฐาน” (วิ-นิด-ฉะ-ยัด-ถา-นะ) = สถานที่พิพากษาอรรถคดี

– “วินิจฺฉยสภา” (วิ-นิด-ฉะ-ยะ-สะ-พา) = ที่ประชุมพิพากษาอรรถคดี

3. คำว่า “ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น” (ศาล-ในความหมายที่ 3) บาลีใช้คำว่า

– “เทวฏฺฐาน” (เท-วัด-ถา-นะ) = เทวสถาน, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

– “เทวายตน” (เท-วา-ยะ-ตะ-นะ) = ศาลเจ้า, เทวาลัย

ศาลสถิตยุติธรรม หรือศาลเจ้า คงจะได้ต้นเค้าไปจาก “ศาลา

ศาล” ทั้งสองความหมายนี้เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของผู้คนในสังคม

: ทำตัวให้น่าเคารพ ก็เป็นได้ครบทุกศาล

บาลีวันละคำ (452)

10-8-56

ศาล

  [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.

สาลา = ศาลา, โรงเรือน, ที่พัก, ที่อาศัย (ศัพท์วิเคราะห์)

สลติ คจฺฉติ เอตฺถาติ สาลา โรงเรือนเป็นที่ผู้คนไปหา

สล ธาตุ ในความหมายว่าไป ณ ปัจจัย อา อิต. พฤทธิ์ อ เป็น อา

สาลา (บาลี-อังกฤษ)

ห้องโถง (มีหลังคาและมีฝาล้อมรอบ), ห้องใหญ่, บ้าน; เพิง, โรงสัตว์ a large (covered & enclosed) hall, large room, house; shed, stable

ศาลาลูกขุน

  (โบ) น. ที่ทำการของลูกขุน.

ลูกขุน

  (โบ) น. ลูกขุน ณ ศาลหลวง.

ลูกขุน ณ ศาลหลวง

  (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.

ลูกขุน ณ ศาลา

  (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมีตําแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.

วินิจฺฉย ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

การตัดสิน, ชี้ขาด, ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ

เทวฏฺฐาน (บาลี-อังกฤษ)

เทวสถาน; วัด, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ heavenly seat; a temple, sacred place

วินิจฺฉยฏฺฐาน = สถานที่ตัดสิน, ศาล place of judgment, law court

วินิจฺฉยสาลา = ศาลสถิตยุติธรรม the law court(s)

วินิจฺฉยสภา

เทวฏฺฐาน นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

เทวสถาน, ที่สถิตแห่งเทพเจ้า, เทวาลัย.

shrine

๑ เจติย, ปุชฺชฏฺฐาน, เจติยนิทหิต

๒ อายตน (เทวายตน = ศาลเจ้า, เทวาลัย)

๓ ถูป, ธมฺมเจติย, ธาตุคพฺภ, ปาสาณเจติย

ศาล (พจน.อ.เปลื้อง ณ นคร)

(สก. ศาล) น. กำแพง, รั้ว, เรือน, ห้อง; ที่ชำระความ มี ๓ ชั้น คือ ๑. ศาลชั้นต้น ๒. ศาล อุทธรณ์ ๓. ศาลฎีกา ทั้งหมดนี้รวมเรียกศาลยุติธรรม หรือศาลสถิตยุติธรรม; ที่สำหรับให้เทพารักษ์สถิต.

bailey

bailey  (เบ’ลี)

n. กำแพงเมืองชั้นนอก, ศาล

court of a king : rājamandira . rājasabhā ราชมนฺทิร, ราชสภา

court of justice : adhikaraṇamaṇḍala . อธิกรณมณฺฑล

law court : vinicchayasālā . วินิจฺฉยสาลา

———-

Court หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า คอร์ท นี้ มาบ่อยและแปลกันว่า ศาล (พิจาณราคดีฟ้องร้องต่างๆ) และแปลว่า ราชสำนัก หรือ royal court ด้วย ทราบใหมครับ ว่า ทำใม ศาล กับ ราชสำนัก จึงเป็นคำเดียวกันในภาษาอังกฤษ โดยใช้ คำว่า court ไม่มีอะไรลึกลับครับ สมัยโบราณ กษัตริย์หรือพระราชา ทำหน้าที่ตัดสินคดีความและลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายด้วย โดยพระราชาจะใช้ ท้องพระโรงหรือ พระที่นั่งใดพระที่นั่งหนึ่งเป็นที่รับฟังคดีความและตัดสินความหรือลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายหนักเบาตามความผิดที่ได้กระทำ เมื่อผู้กระทำผิดต้องเข้าไปรับการตัดสินลงโทษในพระราชวัง court จึงมีสองนัยดังกล่าวในภาษาอังกฤษ

ศาลในภาษาไทยมาจากคำว่า ศาลา ซึ่งภาษาไทยใช้ในความหมายหลายอย่าง เช่น ศาลาริมทาง ศาลาวัด ศาลากลาง ศาลาการเปรียญ ศาลาว่าการ จริงๆแล้วก็คือ อาคาร ที่ใช้เป็นที่ทำการหรือประกอบกิจการบางอย่าง ไม่จำกัดว่ารูปทรงจะเป็นแบบไหน แต่ที่แน่นอน ก็คือ ไม่ใช่เป็นที่อยู่อาศัย

บอกศาลา

          บอกศาลา เป็นสำนวน เดิมมีความหมายว่า ตัดขาดจากการเป็นพ่อลูก แม่ลูก หรือเป็นญาติพี่น้องกัน ไม่นับว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันอีกต่อไป

          คำ บอกศาลา มีอยู่ในกฎหมายตราสามดวง หมายถึง บอกลูกขุน ณ ศาลา ซึ่งหมายถึงคณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการให้รับทราบไว้ว่าจะไม่รับผิดชอบ ไม่รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลูกหรือญาติที่ประพฤติเป็นโจรอีกต่อไป

          ปัจจุบัน บอกศาลา ใช้เป็นสำนวนที่มีความหมายว่า ตัดขาด เลิกสนใจ เลิกเกี่ยวข้อง ใช้กับคนหรือสิ่งอื่นก็ได้ เช่น ฉันขอบอกศาลากับแม่คนนี้ ไม่นับเป็นเพื่อนกันอีกต่อไป เพราะเขาทำความเดือดร้อนให้ฉันมากเหลือเกิน. งานนี้ฉันขอบอกศาลา ไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย.

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย