บาลีวันละคำ

วิตถาร (บาลีวันละคำ 458)

วิตถาร

ภาษาไทยอ่านว่า วิด-ถาน

บาลีเป็น “วิตฺถาร” (มีจุดใต้ ตฺ) อ่านว่า วิด-ถา-ระ สันสกฤตเป็น “วิสฺตาร

ไทยเอามาใช้เขียนตามบาลีเป็น “วิตถาร” และเขียนอิงสันสกฤตเป็น “พิสดาร” (พิด-สะ-ดาน)

วิตฺถาร” แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่แผ่ขยายไป” ใช้ในความหมาย 2 อย่าง คือ –

1. ความกว้าง ใช้เมื่อกล่าวถึงการวัดระยะ คำในชุดนี้มี “อุพฺเพธ” (อุบ-เพ-ทะ) = ความสูงคมฺภีร” (คำ-พี-ระ) = ความลึกอายาม” (อา-ยา-มะ) = ความยาว และ “วิตฺถาร” = ความกว้าง

2. รายละเอียด, ขยายความ ใช้ในการบอกเล่า หมายถึงเล่าอย่างละเอียด ตรงกันข้ามกับ “สงฺเขป” = ย่อ หรือที่ทับศัพท์ว่า-โดยสังเขป

วิตฺถาร” เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย ความหมายผิดเพี้ยนไปบ้าง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ดังนี้

วิตถาร : กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร; นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่นวิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทางในวันสงกรานต์

พิสดาร : กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร

วิตถาร” ในภาษาไทยมักเข้าใจว่าหมายถึงผิดปกติ, พิลึก, นอกแบบ, นอกลู่นอกทาง, เกินวิสัยแห่งความยอมรับ เช่นคำว่า “กามวิตถาร” = การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ เป็นต้น

“วิตถาร” เต่า เป็นตัวสะกด จึงไม่ต้องออกเสียง

ระวัง อย่าอ่านผิดเป็น วิด-ตะ-ถาน

คิด :

คิดวิตถาร” ในภาษาบาลี ถูกชมว่า คิดอย่างมีเหตุผล

คิดวิตถาร” ในภาษาไทย ถูกด่าว่า หัวใจสัปดน

16-8-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย