บาลีวันละคำ

เดียรถีย์ (บาลีวันละคำ 467)

เดียรถีย์

อ่านว่า เดีย-ระ-ถี

เดียรถีย์” บาลีเป็น “ติตฺถิย” (ติด-ถิ-ยะ) สันสกฤตเป็น “ตีรฺถิย

ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤต แต่แปลง อี เป็น เอีย แบบเดียวกับ กฺษีณ = เกษียณ, ตีรฺถิย จึงเป็น เตียรถิย

ไทยเปลียน เต่า เป็น เด็ก แบบเดียวกับ ตล = ดล, เตียรถิย จึงเป็น เดียรถิย

ไทยไม่ออกเสียง ยักษ์ แบบเดียวกับ กฺษตฺริย = กษัตริย์, เดียรถิย จึงการันต์ที่ เป็น เดียรถิย์

แล้วยืดเสียง –ถิ– เป็น –ถี-ตามสะดวกลิ้นไทย เดียรถิย์ จึงเป็น “เดียรถีย์” อ่านว่า เดีย-ระ-ถี

ติตฺถิย” (คำเดิมของ “เดียรถีย์”) มาจาก ติตฺถ (ท่าน้ำ) + อิย (ปัจจัย = ตั้งอยู่, ดำรงอยู่, อยู่ในฐานะเป็น-) = ติตฺถิย มีความหมายตามศัพท์ว่า “ผู้อยู่ในฐานะเป็นท่าน้ำ” (เป็นความหมายเชิงปรัชญา)

ติตฺถ” ตามตัวแปลว่า “ข้ามไป” ความหมายที่เข้าใจกันคือ ท่าน้ำ, ท่าเรือ, ฝั่ง, ท่าลง, ช่องลง, อวตาร (การลงมาแก้ปัญหา), ผู้สอน, ครู, อุบาย, ทฤษฎี, ลัทธิ, ความเชื่อถือ

แนวคิดเชิงปรัชญามองว่า

– ปัญหาชีวิตเปรียบเหมือนฟากฝั่งที่กำลังยืนอยู่

– การแก้ปัญหาได้สำเร็จหรือหลุดพ้นจากปัญหาเปรียบเหมือนการข้ามไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง

– ผู้ทำหน้าที่ชี้ทางแก้ปัญหาเปรียบเหมือนท่าน้ำอันเป็นที่ข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

ติตฺถิยเดียรถีย์” คำเดิมจึงหมายถึง “เจ้าลัทธิ

พระพุทธเจ้าทรงศึกษาคำสอนของเจ้าลัทธิทั้งปวงจบสิ้นแล้วจึงทรงประกาศพระพุทธศาสนาอันมีคำสอนที่แตกต่างจากลัทธิทั้งหลายโดยสิ้นเชิง คำว่า “เดียรถีย์” จึงมีความหมายว่า “เจ้าลัทธินอกพระพุทธศาสนา

ในภาษาไทยมักใช้คำว่า “เดียรถีย์” ในความหมายว่า ผู้กระทำการลบหลู่จ้วงจาบพระพุทธศาสนาหรือแสดงคำสอนที่วิปริตผิดธรรมวินัย

เส้นแบ่งความหมายที่น่าจะชัดเจน คือ –

1. ผู้กระทำการลบหลู่จ้วงจาบพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นบุคคลภายนอก เรียกว่า “เดียรถีย์” ถ้าเป็นบุคคลภายในก็ขาดจากความเป็นชาวพุทธทันที

2. พระสงฆ์ที่ประพฤติล่วงละเมิดหรือแสดงคำสอนที่วิปริตผิดธรรมวินัย มีคำเรียกอยู่แล้วว่า “อลัชชี” (ผู้ไร้ยางอาย)

ความจริงเตือนใจ :

– พระพุทธศาสนาไม่มีคำสอนและไม่เคยมีประวัติที่ทำลายหรือทำร้ายต่างศาสนา

– เคยมีแต่ถูกทำลายหรือทำร้ายโดยต่างศาสนา รวมทั้งโดยผู้ที่อยู่ในพระพุทธศาสนาด้วยกันนี่เอง

———————-

(จากคำปรารภถามของคุณครู บุญเชิด จูภาวัง – นาวิกโยธินไทยผู้เกรียงไกรตลอดกาล)

25-8-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย