บาลีวันละคำ

อนาธิปไตย (บาลีวันละคำ 478)

อนาธิปไตย

(บาลีไทย)

อ่านว่า อะ-นา-ทิ-ปะ-ไต หรือ อะ-นา-ทิบ-ปะ-ไต ก็ได้

ตามรูป ประสมขึ้นจาก อน + อธิปไตย

ตามหลัก ประสมขึ้นจาก + อธิปไตย

(ไทย : อธิปไตย บาลี : อาธิปเตยฺย)

อนาธิปไตย” บาลีเป็น “อนาธิปเตยฺย” ประกอบด้วย + อาธิปเตยฺย (โปรดสังเกต บาลีเป็น อาธิ- ไม่ใช่ อธิ-)

” (นะ) แปลว่าไม่, ไม่ใช่ เมื่อประสมอยู่หน้าคำอื่น มีกฎว่า

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น “” (อะ)

– ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ อํ) ให้แปลง เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อาธิปเตยฺย” ขึ้นด้วยสระ (อา-) จึงต้องแปลง เป็น อน

อาธิปเตยฺย” (อา-ทิ-ปะ-เต็ย-ยะ) ประกอบขึ้นจากคำว่า อธิ (ยิ่งใหญ่, ทีฆะ เป็น อา = อาธิ) + ปติ (เจ้าของ, เจ้านาย) + ณฺย (ปัจจัย = การ-, ความ-) = อาธิปเตยฺย แปลว่า “ความเป็นใหญ่

: + อาธิปเตยฺย = อนาธิปเตยฺย = อนาธิปไตย แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีความเป็นใหญ่” “ไม่มีใครเป็นใหญ่” หมายถึง ไม่มีใครมีอำนาจควบคุมจัดการให้เกิดความเรียบร้อย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกว่า –

อนาธิปไตย : ภาวะที่บ้านเมืองไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมายและระเบียบ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง. (อ. anarchy)”

: อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดจะนำไปสู่ความไร้อำนาจ

———————–

(ตามคำถามของ นิทัศน์ รอดหนุ่น)

5-9-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย