อภิสิทธิ์ (บาลีวันละคำ 479)
อภิสิทธิ์
อ่านว่า อะ-พิ-สิด
บาลีเป็น “อภิสิทฺธิ” อ่านว่า อะ-พิ-สิด-ทิ
ประกอบด้วย อภิ + สิทฺธิ
“อภิ” เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า เฉพาะ, ข้างหน้า, ยิ่ง
“สิทฺธิ” (สิด-ทิ) บาลี-สันสกฤตรูปเหมือนกัน แปลว่า การกระทำสำเร็จ, ความสำเร็จ, ความรุ่งเรือง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –
“สิทธิ : อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) อํานาจที่จะกระทําการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย (อ. right)”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สิทฺธิ” เป็นอังกฤษว่า accomplishment, success, prosperity (โปรดสังเกตว่า ฝรั่งไม่ได้แปล “สิทฺธิ” ว่า right)
พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล right ว่า ชอบธรรม, เป็นธรรม, สิทธิอันถูกต้อง, ยุติธรรม, สมควร, ถูกต้อง
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล right เป็นบาลีว่า –
ยถาภูต = ตามความเป็นจริง
ธมฺมิก = ชอบธรรม
อุชุ = ตรงไปตรงมา
อธิการ = ทำอย่างไว้ฝีมือ, ทำอย่างถวายชีวิต
นิทฺโทส = ปราศจากข้อตำหนิ
พจน.42 บอกไว้ว่า –
“อภิสิทธิ : สิทธินอกเหนือขอบเขต, สิทธิเหนือกฎหรือระเบียบที่วางไว้, สิทธิที่ได้รับนอกเหนือไปจากกฎหรือระเบียบที่วางไว้”
ตามศัพท์แล้ว “อภิสิทฺธิ – อภิสิทธิ์” มีความหมาย 2 นัย คือ
– นัยที่หนึ่ง : สิทธิพิเศษที่จะทำอะไรข้ามหัวคนทั่วไปได้
– นัยที่สอง : การทำงานได้สำเร็จเหนือกว่าคนอื่นที่เคยทำหรือที่เคยอยู่ในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ มาก่อน
ถ้าได้ “อภิสิทธิ์” ท่านจะคิดอย่างไร :
– เลือกใช้ตามนัยที่หนึ่ง ?
– หรือจะนึกถึงนัยที่สอง ?
บาลีวันละคำ (479)
6-9-56
อภิ อัพ.
เฉพาะ, ข้างหน้า, ยิ่ง. (พจนานุกรมศัพท์บาลี)
สิทฺธิ (บาลี-อังกฤษ)
การกระทำสำเร็จ, ความสำเร็จ, ความรุ่งเรือง
อภิสิทธิ์ n.privilege (สอ เสถบุตร)
privilege (พรีฝ-อิลิจ) n. vt.สิทธิพิเศษ, ให้สิทธิพิเศษ, ประโยชน์พิเศษ
privilege : (พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี)
visesādhikāra ; pasāda ; vara . visesādhikāraṃ or varaṃ deti . dinnavara .
privileged : varalābhī .
वरदान ; varadāna ; granting of a boon or privilege .
สิทธิ, สิทธิ์
[สิดทิ, สิด] น. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้. (ป., ส.); (กฎ) อํานาจที่จะกระทําการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย. (อ. right).
อภิสิทธิ์
น. สิทธินอกเหนือขอบเขต, สิทธิเหนือกฎหรือระเบียบที่วางไว้, สิทธิที่ได้รับนอกเหนือไปจากกฎหรือระเบียบที่วางไว้. (ป., ส.).
right : (พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี)
yathābhūta ยถาภูต; avitatha อวิตถ; dhammika ธมฺมิก; dakkhiṇa ทกฺขิณ; uju อุชุ; niddosa นิทฺโทส. yutti ยุตฺติ. ñāya ญาย; dhamma ธมฺม; āyatta-bhāva อายตฺตภาว; pariggaha ปริคฺคห; dakkhiṇapassa ทกฺขิณปสฺส; adhikāra อธิการ. yathocitaṃ ยโถจิตํ; sādhukaṃ สาธุกํ. bhaddhaṃ ภทฺทํ; sādhu สาธุ. ujuṃ or niddosaṃ karoti อุชุง กโรติ หรือ นิทฺโทสํ กโรติ; suppathaṃ pāpeti สุปฺปถํ ปาเปติ. Niddosīkata นิทฺโทสีกต
right angle : samakoṇa สมโกณ.
right-handed : paricitadakkhiṇahattha ปริจิตทกฺขิณหตฺถ.
righteous : dhammika ธมฺมิก; dhammaṭṭha ธมฺมฏฺฐ; anavajja อนวชฺช.
righteously : dhammikākārena ธมฺมิกากาเรน.
righteousness : dhammikatta ธมฺมิกตฺต; anavajjatta อนวชฺชตฺต.
rightful : ñāyānugata ญายานุคต; nītyanukūla นีตฺยนุกูล.
rightly : yathātathaṃ ยถาตถํ; sammā สมฺมา; suṭṭhu สุฏฺฐุ.
rightly disposed : sammāpaṭipanna สมฺมาปฏิปนฺน.
rightness : sammatta สมฺมตฺต; niddosatta นิทฺโทสตฺต.
belief : bhatti ภตฺติ; diṭṭhi ทิฏฺฐิ; laddhi ลทฺธิ. vissāsa วิสฺสาส. saddahana สทฺทหน||
wrong belief: dulladdhi ทุลฺลทฺธิ; micchādiṭṭhi มิจฺฉาทิฏฺฐิ;
right belief: sammādiṭṭhi สมฺมาทิฏฺฐิ.
birth right : dāyāda ทายาท; jaccādhikāra ชจฺจาธิการ.
conduct : ācaraṇa อาจรณ; nayana นยน; āvahana อาวหน. cariyā จริยา; paṭipatti ปฏิปตฺติ. ācāra อาจาร. 1 . ācarati อาจรติ; paṭipajjati ปฏิปชฺชติ; 2 . pāpeti ปาเปติ; 3 . vidahati วิทหติ; nibbāhati นิพฺพาหติ. ācarita อาจริต; paṭipanna ปฏิปนฺน; pāpita ปาปิต; vihita วิหิต; nibbāhita นิพฺพาหิต||
proper conduct: sammāvattanā สมฺมาวตฺตนา;
right conduct: (nt . ; m .) s
down right : akuṭila อกุฏิล; avaṅka อวงฺก. ujuṃ อุชุง; akuṭilaṃ อกุฏิลํ.
effort : ussāha อุสฺสาห; vāyāma วายาม; uyyāma อุยฺยาม; uyyoga อุยฺโยค. viriya วิริย;
right effort: sammāvāyāma สมฺมาวายาม;
wrong effort: micchāvāyāma มิจฺฉาวายาม.
right (ไรท) (สอ เสถบุตร)
n. vi. adj. adv. vt.rightly (ไรท-ลิ) adv.rightness (ไรท-เน็ซ) n.
1. ธรรม, ชอบธรรม, เป็นธรรม
2. สิทธิอันถูกต้อง, สิทธิ
3. ความยุติธรรม, ยุติธรรม
4. สมควร, ถูกต้อง, ฝ่ายที่ถูกต้อง, ถูก, ข้อผิดถูก
5. ความถูก
6. เหมาะ, ความเหมาะเจาะ
7. (จริต) ปกติ, เรียบร้อย
8. (เรือ) คืนลำ, ทำให้คืนตรง, ทำให้ตั้งขึ้น, ตั้งตัว
9. แก้ (ความผิด)
10. ขวา, ทางขวามือ, หมัดขวา, พอดี, ตรง, ทีเดียว, เต็ม (รอบ)