บาลีวันละคำ

กรรม (บาลีวันละคำ 480)

กรรม

อ่านว่า กำ

กรรม” บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กรรม” ในแง่ภาษา

1- รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย)

2- ลบ รฺ ที่ธาตุ : กรฺ = ก- และ ที่ปัจจัย : รมฺม = -มฺม

3- กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

4- แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” “สิ่งที่ทำ” นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

กรรม” ในแง่ความหมาย

1- การกระทำทั้งปวง เรียกว่า กรรม

2- การถูกทำ, สิ่งที่ถูกทำ, ผลของการกระทำ ก็เรียกว่า กรรม

3- การทำกิจการงาน, การประกอบอาชีพ ก็เรียกว่า กรรม

4- พิธีกรรม, พิธีการต่างๆ ก็เรียกว่า กรรม

กรรม” ในแง่ความเข้าใจ

1- กฎแห่งกรรม คือ “ทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว ดุจปลูกพืชชนิดใด ต้องเกิดผลดอกใบของพืชชนิดนั้น

2- กรรมมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นผล คือสภาพทั้งปวงที่เรากำลังเผชิญหรือประสบอยู่ และส่วนที่เป็นเหตุ คือสิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่ในบัดนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดส่วนที่เป็นผลในลำดับต่อไป (ผู้ที่ไม่เข้าใจ เมื่อมอง “กรรม” มักเห็นแต่ส่วนที่เป็นผล แต่ไม่เห็นส่วนที่เป็นเหตุ)

3- กรรม เป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือความเข้าใจของใคร ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร กรรมก็เป็นจริงอย่างที่กรรมเป็น

: หมอแพทย์ว่าเป็นเพราะโรค

: หมอดูว่าโชคดวงชะตา

: มนุษย์ธรรมดาว่าเทพบันดาล

: ปราญ์บรรหารว่ากรรมทำไว้เอง

(ปลอมโคลงโลกนิติ)

———————-

(ท่าน Navyblue Abhakara สงสัยว่า “กรรม” มาจากคําว่า ฤต ถูกต้องหรือไม่ และคําว่า “ฤตะ” หมายถึงอะไร – ชำระดอกเบี้ยได้แค่นี้ก่อน เงินต้นยังหาไม่ได้)

7-9-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย