บาลีวันละคำ

ขีณาสพ (บาลีวันละคำ 3,671)

ขีณาสพ

พบได้ยากในปัจจุบัน

อ่านว่า ขี-นา-สบ

ขีณาสพ” บาลีเป็น “ขีณาสว” อ่านว่า ขี-นา-สะ-วะ แยกศัพท์เป็น ขีณ + อาสว

(๑) “ขีณ

อ่านว่า ขี-นะ รากศัพท์มาจาก ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: ขี + = ขีต > ขีณ แปลตามศัพท์ว่า “สิ้นไปแล้ว

ขีณ” เป็นคำกริยากิตก์ และใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ทำลาย, ทำให้หมด, เคลื่อนย้าย, ทำให้เสียเปล่า, สิ้นไป (destroyed, exhausted, removed, wasted, gone)

(๒) “อาสว” 

อ่านว่า อา-สะ-วะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ) + สุ (ธาตุ = ไหล) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (สุ > โส > สว)

: อา + สุ = อาสุ + = อาสุณ > อาสุ > อาโส > อาสว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิเลสที่ไหลออกมาทางตาเป็นต้น” (2) “น้ำเป็นเหตุไหลออกแห่งความมึนเมาของบุรุษ” (3) “กิเลสที่ไหลไปจนถึงภวัคพรหม” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “อาสว” ว่า อาสวกิเลส, น้ำหมักดอง, เมรัย, สุรา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อาสว” ว่า that which flows (out or on to) outflow & influx. (สิ่งที่ไหล [ออกหรือสู่], การไหลไปและการบ่าเข้ามา)

และขยายความหมายไว้ดังนี้ –

(1) spirit, the intoxicating extract or secretion of a tree or flower (สุรา, น้ำคั้นที่ทำให้มึนเมา หรือน้ำดองของต้นไม้หรือดอกไม้)

(2) discharge from a sore (น้ำหนองจากแผลฝี)

(3) in psychology, t.t. for certain specified ideas which intoxicate the mind (bemuddle it, befoozle it, so that it cannot rise to higher things) (ในจิตวิทยาเป็นศัพท์เฉพาะสำหรับความคิดที่ระบุไว้ ซึ่งทำจิตใจให้มึนเมา [ทำให้งงงวย, หรือผิดพลาด จนไม่สามารถขึ้นสู่แนวสูงได้])

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [135] และ [136] แสดง “อาสวะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

[135] อาสวะ 3 (สภาวะอันหมักดองสันดาน, สิ่งที่มอมพื้นจิต, กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ — Āsava: mental intoxication; canker; bias; influx; taint)

1. กามาสวะ (อาสวะคือกาม — Kāmāsava: canker of sense-desire)

2. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ — Bhavāsava: canker of becoming)

3. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา — Avijjāsava: canker of ignorance)

[136] อาสวะ 4 (Āsava: mental intoxication; canker)

1. กามาสวะ (อาสวะคือกาม — Kāmāsava: canker of sense-desire)

2. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ — Bhavāsava: canker of becoming)

3. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ — Diṭṭhāsava: canker of views or speculation)

4. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา — Avijjāsava: canker of ignorance)

ในที่มาส่วนมาก โดยเฉพาะในพระสูตร แสดงอาสวะไว้ 3 อย่าง โดยสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ.

…………..

ขีณ + อาสว = ขีณาสว (ขี-นา-สะ-วะ) แปลว่า “ผู้มีอาสวะสิ้นไปแล้ว

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ขีณาสว” ว่า one whose Āsavas are destroyed (ผู้มีอาสวะถูกทำลายแล้ว หรือผู้สิ้นอาสวะแล้ว) 

และขยายความว่า whose mind is free from the four mental obsessions, Ep. of an Arahant (ผู้ซึ่งมีจิตปราศจากอาสวะ 4 อย่าง, เป็นคำแสดงลักษณะของพระอรหันต์) 

ขีณาสว” ในภาษาไทยแปลง เป็น ตามหลักนิยม ใช้เป็น “ขีณาสพ” อ่านว่า ขี-นา-สบ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ขีณาสพ : (คำแบบ) (คำนาม) พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์. (ป. ขีณ + อาสว).”

คำว่า “คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าหาพระอรหันต์พบ

: พระขีณาสพก็ยังมี

#บาลีวันละคำ (3,671)

1-7-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *