บาลีวันละคำ

โขมพัสตร์ (บาลีวันละคำ 3,708)

โขมพัสตร์

ผ้าอะไร

อ่านว่า โข-มะ-พัด

ประกอบด้วยคำว่า โขม + พัสตร์

(๑) “โขม

บาลีอ่านว่า โข-มะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ขุ (ธาตุ = มีเสียง) + ปัจจัย, แปลง อุ เป็น โอ

: ขุ + = ขุม > โขม แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่มีชื่อเสียงเพราะเป็นผ้าดี

(2) ขุ (เสียงดังขุขุ) + ปัจจัย, แผลง อุ เป็น โอ

: ขุ + = ขุม > โขม แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่มีเสียงว่าขุขุ

(3) ขุม (ฝ้าย) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ เป็น โอ

: ขุม + = ขุมณ > ขุม > โขม แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่สำเร็จมาจากฝ้าย

(4) โขม + ปัจจัย, ลบ

: โขม + = โขมณ > โขม แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่เกิดจากเปลือกไม้” 

โขม” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคำนาม (นปุงสกลิงค์): ผ้าเปลือกไม้, ผ้าลินิน, เสื้อผ้าลินิน (a linen cloth, linen garment)

(2) เป็นคุณศัพท์: อันทำด้วยเปลือกไม้ (flaxen

บาลี “โขม” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โขม– : (คำแบบ) (คำนาม) โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).”

บาลี “โขม” สันสกฤตเป็น “เกฺษาม

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

เกฺษาม : (คำนาม) ผ้าลีเน็น; ปอ; ห้องโล่งโถงบนหลังคาเรือน; หลังปราสาทหรือมนเทียร; ที่มั่นน่าเรือน; ตึกหรือบ้านอันมีรูปเปนพิเศษ; ผ้าไหม; linen-cloth; linen of flax; an airy room on the top of a house; the back of an edifice or palatial house; a fortified place in front of a building; a building of a particular form; woven silk or silk-cloth; – (คำวิเศษณ์) อันทำด้วยผ้าลีเน็น; made of linen.”

(๒) “พัสตร์” 

บาลีเป็น “วตฺถ” (วัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก – 

(1) วสฺ (ธาตุ = ปกปิด) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (วสฺ > วตฺ)

: วสฺ + = วสฺถ > วตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาปกปิดร่างกาย” 

(2) วุ (ธาตุ = ปิด, กั้น) + ปัจจัย, แปลง อุ ที่ วุ เป็น อะ (วุ > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (วุ + ตฺ + )

: วุ + ตฺ + = วุตฺถ > วตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องป้องกันร่างกาย” 

วตฺถ” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ผ้า; เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องแต่งตัว (cloth; clothing, garment, raiment)

บาลี “วตฺถ” สันสกฤตเป็น “วสฺตฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วสฺตฺร : (คำนาม) ‘วัสตร์, พัสตร์,’ ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่มหรือแต่งตัว; cloth, clothes, raiment, covering for the body.” 

วตฺถ” ในภาษาไทยเขียนอิงรูปคำสันสกฤต “วสฺตฺร” แปลง เป็น : วสฺ– > พสฺ– = พัสตร > พัสตร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พัสตร์ : (คำนาม) ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).” 

โขม + พัสตร์ = โขมพัสตร์

พจนานุกรมฯ เก็บคำว่า “โขม-” ไว้ และให้ตัวอย่างไว้ว่า “ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี”

แต่คำว่า “โขมพัตถ์” “โขมพัสตร์” และ “โขษมพัสตร์” ก็ยังไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฯ

ขยายความ :

ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุบริโภคใช้สอยคือ :

(๑) ปิณฑิยาโลปโภชนะ : โภชนะที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง คือเที่ยวบิณฑบาต

(๒) บังสุกุลจีวร : ผ้านุ่งห่มที่ทำจากของเขาทิ้ง = ผ้าบังสุกุล

(๓) รุกขมูลเสนาสนะ : ที่อยู่อาศัยคือโคนไม้ 

(๔) ปูติมุตตเภสัช : ยาน้ำมูตรเน่า 

แต่ก็มีปัจจัยที่ทรงอนุญาตเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิมเมื่อมีผู้จัดหาจัดทำถวาย ปัจจัยส่วนนี้เรียกว่า “อติเรกลาภ” 

เฉพาะส่วนที่เป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้า “โขมะ” หรือ “โขมพัสตร์” เป็นอย่างหนึ่งที่ทรงอนุญาตเพิ่มขึ้น ดังคำในพระบาลีวินัยปิฎกว่าดังนี้

…………..

ปํสุกูลจีวรํ  นิสฺสาย  ปพฺพชฺชา  ตตฺถ  เต  ยาวชีวํ  อุสฺสาโห  กรณีโย  อติเรกลาโภ  โขมํ  กปฺปาสิกํ  โกเสยฺยํ  กมฺพลํ  สาณํ  ภงฺคํ. 

บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อติเรกลาภคือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)

ที่มา: คัมภีร์มหาขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1

พระไตรปิฎกเล่ม 6 ข้อ 87

…………..

โปรดสังเกตคำแปล คำว่า “โขม” เมื่อกล่าวถึงเดี่ยวๆ อาจหมายถึง ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน หรืออย่างที่พจนานุกรมฯ บอกว่า ผ้าใยไหม ผ้าป่าน

แต่เมื่อมาเป็นชุดรวมกับผ้าชนิดอื่น จะเห็นว่า ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าป่าน ก็มีศัพท์เรียกโดยเฉพาะอยู่แล้ว กรณีเช่นนี้ “โขม” ก็ต้องแปลเลี่ยงไปเป็นผ้าอื่น

นี่ก็คือ “ลีลาของบาลี” ชนิดหนึ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แปลภาษาบาลี บางทีลีลาก็ต้องมี เป็นเครื่องประเทืองใจ

: ปฏิบัติพระธรรมวินัย ตรงมาตรงไป ไม่ต้องใช้ลีลา

#บาลีวันละคำ (3,708)

7-8-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *