บาลีวันละคำ

อนัตตตา (บาลีวันละคำ 3,687)

อนัตตตา

คนละคำกับ อนัตตา

อ่านว่า อะ-นัด-ตะ-ตา

เขียนแบบบาลีเป็น “อนตฺตตา” ประกอบด้วยคำว่า + อตฺต + ตา ปัจจัย

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “อตฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ (คือ -) จึงแปลง เป็น อน

(๒) “อตฺต” 

อ่านว่า อัด-ตะ มาจากรากศัพท์ดังนี้ :

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้) 

๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ) 

๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น  

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul) หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง เขียนในภาษาไทยเป็น “อัตตา” 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อัตตา : (คำนาม) ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).”

ในทางปรัชญา “อัตตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego

(๓) “ตา” 

เป็นปัจจัยตัวหนึ่ง ในบาลีไวยากรณ์อยู่ในส่วนที่เรียกว่า “ตัทธิต” (ตัด-ทิด) ตา-ปัจจัยเป็นปัจจัยในภาวตัทธิต แทนศัพท์ว่า “ภาว” (ความเป็น) ใช้ต่อท้ายศัพท์ ทำให้เป็นคำนาม แปลว่า “ความเป็น–” เทียบกับภาษาอังกฤษก็คล้ายกับ -ness -ation หรือ -ity นั่นเอง เช่น –

happy แปลว่า สุข สบาย 

happiness แปลว่า ความสุข 

การประสมคำ :

> อน + อตฺต = อนตฺต (อะ-นัด-ตะ) แปลว่า “ไม่ใช่ตน” “ไม่ใช่อัตตา” หมายถึง ไม่มีตัวตน, ปราศจากตัวตน (not a soul, without a soul)

อนตฺต + ตา = อนตฺตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) แปลว่า “ความไม่ใช่ตน” “ความไม่ใช่อัตตา” หมายถึง ภาวะที่ไม่มีตัวตน, ภาวะที่ปราศจากตัวตน, ความเป็นของไม่ใช่ตน (soullessness; state of being not self)

อนตฺตตา” เขียนแบบไทยเป็น “อนัตตตา” 

ข้อควรสังเกตคือ ตามหลักนิยมในภาษาไทย คำที่มาจากบาลีสันสกฤตเรามักตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เช่น “รฏฺฐ” ตัด ออก เขียนเป็น “รัฐ“ ถ้าใช้หลักนี้ “อนัตตตา” ตัด ออกตัวหนึ่งก็จะเป็น “อนัตตา” รูปซ้ำกับ “อนัตตา” (อนตฺตา) คำที่มีอยู่เดิม 

อนตฺตา” กับ “อนตฺตตา” เป็นคนละคำ คนละความหมายกัน 

ถ้าในภาษาไทยสะกดเหมือนกัน ก็จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า “อนัตตา” มาจากคำบาลี “อนตฺตา” หรือมาจากคำบาลี “อนตฺตตา

เพราะฉะนั้น คำบาลี “อนตฺตตา” จึงต้องใช้ในภาษาไทยเป็น “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา มี 3 ตัว) จะตัดตัวสะกดออก เขียนเป็น “อนัตตา” ไม่ได้ เพราะจะซ้ำกับ “อนัตตา” ที่มาจากคำบาลีว่า “อนตฺตา” ซึ่งสะกดอย่างนี้อยู่แล้ว

อภิปรายขยายความ :

คำที่เราคุ้นกันดีคือ “อนัตตา” เป็นคำในชุด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เขียนแบบบาลีเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ทำหน้าที่เป็นคำขยาย หรือคุณศัพท์ (บาลีไวยากรณ์เรียก วิเสสนะ) เช่น –

รูปํ อนิจฺจํ = รูปไม่เที่ยง

รูปํ ทุกฺขํ = รูปทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

รูปํ อนตฺตา = รูปไม่ใช่ตัวตน (คือไม่มีตัวที่แท้จริง มีแต่เพียงสิ่งต่างๆ มาประสมกันจึงเกิดเป็นรูปขึ้น)

แต่คำนี้ไม่ใช่ “อนตฺตา” (อนัตตา) หากแต่เป็น “อนตฺตตา” (อนัตตตา) มีเสียง -ตะ- เพิ่มเข้ามาอีกพยางค์หนึ่ง

อะ-นัด-ตะ-ตา

ไม่ใช่ อะ-นัด-ตา

ทั้งนี้เพราะเป็น อนตฺต (อะ-นัด-ตะ) + ตา ปัจจัย

อนตฺต” (อะ-นัด-ตะ) มีเสียง -ตะ ท้ายคำอยู่แล้ว เมื่อ + ตา ปัจจัย เสียง -ตะ ก็ยังอยู่ จึงเป็น อะ-นัด-ตะ-ตา = อนตฺตตา > อนัตตต

ถ้า – อะ-นัด-ตา ก็ = อนตฺตา > อนัตตา

ความแตกต่างในฐานะของคำก็คือ –

อนตฺตา > อนัตตา เป็นคำคุณศัพท์ (คำขยาย) 

อนตฺตตา > อนัตตตา เป็นคำนาม 

อนตฺตา > อนัตตา (อะ-นัด-ตา) = (สิ่งที่) ไม่ใช้ตัวตน (not a soul, without a soul)

อนตฺตตา > อนัตตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) = ภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน (soullessness; state of being not self)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อนัตตา : (คำวิเศษณ์) ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. (ป.).”

คำว่า “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

คำที่เป็นชุดของ “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) คือ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา เขียนแบบบาลีเป็น อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา

พูดให้ครบชุดตามหลักธรรมก็มี 3 หัวข้อ เรียกว่า “ไตรลักษณ์” (ไตฺร-ลัก, = ลักษณะทั้งสาม: the Three Characteristics) หรือ “สามัญลักษณ์” (สา-มัน-ยะ-ลัก, = ลักษณะที่มีทั่วไปเป็นธรรมดา: the Common Characteristics) กล่าวคือ –

(1) อนิจจตา (อะ-นิด-จะ-ตา) = ความเป็นของไม่เที่ยง (impermanence; transiency)

(2) ทุกขตา (ทุก-ขะ-ตา) = ความเป็นทุกข์ (state of suffering or being oppressed)

(3) อนัตตตา (อะ-นัด-ตะ-ตา) = ความเป็นของไม่ใช่ตน (soullessness; state of being not self)

ในพระไตรปิฎกเรียกธรรมะชุดนี้ว่า “ธรรมนิยาม” (ทำ-มะ-นิ-ยาม) ข้อความที่สมบูรณ์ตามสูตรท่านว่าไว้ดังนี้ – 

(1) สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สัพเพ สังขารา อะนิจจา) = สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง (all conditioned states are impermanent)

(2) สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สัพเพ สังขารา ทุกขา) = สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ (all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)

(3) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (สัพเพ ธัมมา อะนัตตา) = ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน (all states are not-self or soulless)

(หลักคำและความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต)

…………..

สรุปว่า คำในชุดนี้มี 2 ชุด คือ –

๑ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นชุดคุณศัพท์

๒ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา เป็นชุดคำนาม

เวลาพูดถึงคำในชุดนี้ ถ้าไม่เข้าใจก็จะใช้คำสับสน คือในที่ซึ่งควรจะพูดว่า “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) ก็ไปพูดว่า “อนัตตา” (อะ-นัด-ตา) หรือทั้งๆ ที่เขียนว่า “อนัตตตา” แท้ๆ ก็ยังหลงอ่านว่า อะ-นัด-ตา ทั้งนี้เพราะแยกไม่ออก บอกไม่ถูก หรือไม่ได้สังเกตว่า “อนัตตตา” (อะ-นัด-ตะ-ตา) กับ “อนัตตา” (อะ-นัด-ตา) มีความหมายต่างกันอย่างไร

หวังว่าบาลีวันละคำวันนี้คงจะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ไปได้บ้าง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เอาตนเป็นใหญ่

: แล้วเมื่อไรจะได้เป็นใหญ่เหนือตน

#บาลีวันละคำ (3,687)

17-7-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *