บาลีวันละคำ

ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (บาลีวันละคำ 3,695)

ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา

สำนวนภาษาพระวินัย

ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา” เป็นคำพูดท่อนหนึ่งอันเกี่ยวด้วยหลักพระวินัย ตัวอย่างข้อความที่มีคำพูดนี้เช่น –

…………..

ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 

ที่มา: จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 6 นวโกวาท หน้า 5

…………..

ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง 10 นิ้ว ขอบาตรใหม่ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

ที่มา: ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 2 นวโกวาท หน้า 8

…………..

ภิกษุขอโภชนะอันประณีต คือ ข้าวสุกระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาเอามาฉัน ต้องปาจิตตีย์

ที่มา: โภชนวรรคที่ 4 สิกขาบทที่ 9 นวโกวาท หน้า 14

…………..

ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา” หมายความว่าอย่างไร

(๑) “ไม่ใช่ญาติ

คำว่า “ญาติ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ญาติ, ญาติ– : (คำนาม) คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่. (ป.).”

คำว่า “ไม่ใช่ญาติ” คำบาลีว่า “อญฺญาตก” อ่านว่า อัน-ยา-ตะ-กะ รากศัพท์มาจาก + ญาตก

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “ญาตก” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (คือ -) จึงแปลง เป็น

(ข) “ญาตก” อ่านว่า ยา-ตะ-กะ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย + สกรรถ (กะ-สะ-กัด, ลง – ข้างท้าย มีความหมายเท่าเดิม)

: ญา + = ญาต + = ญาตก (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันเขารู้กันว่าเป็นใคร” หมายถึง ญาติพี่น้อง, ผู้มีสายโลหิตเดียวกัน, วงศ์ญาติ (a relation, relative, kinsman) 

คำว่า “ญาตก” เขียนแบบไทย ไม่มีคำอื่นต่อท้าย สะกดเป็น “ญาตกะ” (ยา-ตะ-กะ) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

+ ญาตก ซ้อน ญฺ, แปลง เป็น  

: + ญฺ + ญาตก = นญฺญาตก > อญฺญาตก (อัน-ยา-ตะ-กะ) แปลว่า “ผู้ไม่ใช่วงศ์ญาติ” 

…………..

ใครคือญาติ? 

วิธีนับ “ญาติ” ในวินัย ท่านให้นับ 7 ชั้น คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น 1 ข้างบน 3 คือ 1 ชั้นพ่อแม่ 2 ชั้นปู่ย่าตายาย 3 ชั้นทวด, ข้างล่าง 3 คือ 1 ชั้นลูก 2 ชั้นหลาน 3 ชั้นเหลน รวมเป็น 7 ชั้น เรียกว่า 7 ชั่วคน หรือ 7 ชั่วโคตร 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “เจ็ดชั่วโคตร” บอกไว้ดังนี้ –

เจ็ดชั่วโคตร : (คำนาม) วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.”

คำว่า “เจ็ดชั่วโคตร” ในภาษาบาลี ใช้คำว่า “สตฺตมกุลปริวฏฺฏ” (สัด-ตะ-มะ-กุ-ละ-ปะ-ริ-วัด-ตะ) แยกศัพท์เป็น สตฺตม + กุล + ปริวฏฺฏ 

สตฺตม = ลำดับที่เจ็ด

กุล = ตระกูล

ปริวฏฺฏ (ปริ + วฏฺฏ) = รอบ, การเวียน, วงกลม. สืบลำดับ (round, circle, succession)

สตฺตมกุลปริวฏฺฏ = วงรอบคนในตระกูลลำดับที่เจ็ด > 7 ชั่วคน 

เขยสะใภ้ถ้าไม่ได้เป็นญาติตามเกณฑ์ที่กำหนดนี้ ในพระวินัยท่านไม่นับเป็นญาติ

อญฺญาตก” เขียนแบบไทยเป็น “อัญญาตกะ” อ่านว่า อัน-ยา-ตะ-กะ ถือเอาความสั้นๆ ว่า “ไม่ใช่ญาติ

(๒) “ไม่ใช่ปวารณา

คำว่า “ปวารณา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ปวารณา : (คำกริยา) ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).”

คำว่า “ไม่ใช่ปวารณา” คำบาลีว่า “อปฺปวาริต” อ่านว่า อับ-ปะ-วา-ริ-ตะ รากศัพท์มาจาก + ปวาริต

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

+ ปวาริต ในที่นี้ “ปวาริต” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (คือ -) แปลง เป็น ตามกฎการประสมศัพท์ (ดูข้างต้น)

(ข) “ปวาริต” อ่านว่า ปะ-วา-ริ-ตะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + วรฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา, ห้าม) + ปัจจัย, ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (วรฺ > วาร), ลง อิ อาคมหลังธาตุ หน้าปัจจัย (วรฺ + อิ +

: + วรฺ = ปวร + อิ + = ปวริต > ปวาริต แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาให้ปรารถนาปัจจัย” “อันเขาปวารณาแล้ว” = ยอมให้ขอ คือรับปากว่าเมื่อต้องการสิ่งใดๆ ก็ให้บอก จะจัดหาให้ตามที่รับปากไว้ 

คำกริยาสามัญของ “ปวาริต” คือ “ปวาเรติ” มีความหมายว่า เชื้อเชิญ, ปวารณา, ให้, พอใจ (to invite, offer, present, satisfy)

+ ปวาริต ซ้อน ปฺ, แปลง เป็น  

: + ปฺ + ปวาริต = นปฺปวาริต > อปฺปวาริต (อับ-ปะ-วา-ริ-ตะ) แปลว่า “อันเขามิได้ปวารณา” หมายถึง บุคคลที่ไม่เคยรับปากไว้ว่าจะจัดหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ หรือจะยอมรับใช้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

อปฺปวาริต” เขียนแบบไทยเป็น “อัปปวาริต” อ่านว่า อับ-ปะ-วา-ริด ถือเอาความสั้นๆ ว่า “ไม่ใช่ปวารณา

ขยายความ :

ในวินัยของสงฆ์ มีระเบียบว่า ภิกษุจะขอสิ่งของใดๆ จากชาวบ้านมิได้ ยกเว้นขอกับคนที่เป็นญาติและคนที่ปวารณา คนที่เป็นญาติกัน แม้ไม่ได้ปวารณาไว้ก็เอ่ยปากขอได้ แต่คนที่ไม่ได้เป็นญาติกัน แม้จะรู้จักมักคุ้นขนาดไหน ถ้าเขาไม่เคยปวารณาไว้ จะเอ่ยปากขอมิได้ เขาต้องปวารณาไว้จึงจะขอได้

คนที่ภิกษุไปออกปากขอมิได้ จึงมีคำเรียกรู้กันสั้นๆ ว่า “ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา

หนังสือ “วินัยวินิจฉัย” รวบรวมคำบรรยายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แสดงเหตุผลในเรื่องนี้ไว้ว่า –

…………..

เหตุที่ห้ามไว้นั้น เพราะประสงค์จะป้องกันภิกษุไม่ให้เป็นคนมักขอ คือขอเขาจุกจิกจนรำคาญ

ที่มา: วินัยวินิจฉัย หน้า 49

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความเอื้อเฟื้อยังอยู่ ศัตรูก็ยอมเป็นญาติ

: ความเอื้อเฟื้อขาด แม้ญาติก็เป็นศัตรู

#บาลีวันละคำ (3,695)

25-7-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *