บาลีวันละคำ

มโนคณะ (บาลีวันละคำ 3,686)

มโนคณะ

technical term ของนักเรียนบาลี

อ่านว่า มะ-โน คะ-นะ

ประกอบด้วยคำว่า มโน + คณะ 

(๑) “มโน” 

อ่านว่า มะ-โน รูปคำเดิมเป็น “มน” อ่านว่า มะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มนฺ (ธาตุ = รู้) + (อะ) ปัจจัย 

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลบสระที่สุดธาตุ (มา > )

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มโน” (< มน) หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

มน” แจกรูปด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ เปลี่ยนรูปเป็น “มโน” 

(๑) “คณะ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “คณ” อ่านว่า คะ-นะ รากศัพท์มาจาก คณฺ (ธาตุ = นับ) + (อะ) ปัจจัย 

: คณฺ + = คณ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนย่อยที่นับรวมกัน” 

คณ” ในบาลีมีความหมายดังนี้ – 

(1) เมื่อใช้คำเดียว หมายถึง กลุ่มคน, ฝูงชน, คนจำนวนมากมาย (a crowd, a multitude, a great many)

(2) เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายคำสมาส หมายถึงการรวมเป็นหมู่ของสิ่งนั้นๆ (a collection of) กล่าวคือ กลุ่ม, ฝูงชน, มวล; ฝูง, ฝูงสัตว์; โขลง, หมู่, การรวมกันเป็นหมู่ (a multitude, mass; flock, herd; host, group, cluster)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “คณ-, คณะ” ไว้ดังนี้ –

(1) หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่). 

(2) กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว. 

(3) หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. 

(4) จำนวนคำที่กำหนดไว้ในการแต่งร้อยกรองแต่ละประเภท โดยแบ่งเป็นบท บาท และวรรค เช่น คณะของกลอนแปด ๑ บท มี ๒ บาท แต่ละบาทมี ๒ วรรค แต่ละวรรคมี ๖ ถึง ๙ คำ.

ในที่นี้ “คณะ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) และ (2) 

มโน + คณ = มโนคณ (มะ-โน-คะ-นะ) แปลว่า “กลุ่มของศัพท์มีคำว่า มโน เป็นต้น” 

มโนคณ” เขียนแบบไทยเป็น “มโนคณะ” คำเต็มเรียกว่า “มโนคณะศัพท์

อธิบายขยายความ :

คำว่า “มโนคณ” ประกอบด้วยคำว่า มน + คณ ควรจะได้รูปเป็น “มนคณ” (มะ-นะ-คะ-นะ) แต่ตามกฎบาลีไวยากรณ์ว่าด้วย “มโนคณะศัพท์” กำหนดว่า เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส “มน” ซึ่งแจกวิภัตติเป็น “มโน” ให้คงรูปเป็น มโน– ดังนั้น  มน (> มโน) + คณ แทนที่จะเป็น “มนคณ” จึงเป็น “มโนคณ” (มโนคณะ)

หนังสือบาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ 2 นามและอัพพยศัพท์ พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตอนที่ว่าด้วย “มโนคณะศัพท์” กล่าวไว้ว่า “ศัพท์ชื่อมโนคณะ” มี 12 ศัพท์ ดังนี้ –

…………..

(1) มน = ใจ > (คำในภาษาไทยเช่น) มโนภาพ

(2) อย = เหล็ก > อโยโลห (บาลี: เหล็กและโลหะ)

(3) อุร = อก > ?

(4) เจต = ใจ > เจโตวิมุติ

(5) ตป = ความร้อน > ตโปทาราม

(6) ตม = มืด > ตโมนุท (“ผู้ขจัดความมืด” คือดวงอาทิตย์)

(7) เตช = เดช > เดโชชัย

(8 ) ปย = น้ำนม > ปโยธร (“ผู้ทรงไว้ซึ่งน้ำนม” คือถัน)

(9) ยส = ยศ > ยโสธร

(10) วจ = วาจา > วโจกร (บาลี: “ผู้ตามถ้อยคำ” คือสาวก)

(11) วย = วัย > วโยหร (บาลี: “ผู้นำไปซึ่งวัย” คือผู้ทำให้แก่)

(12) สิร = หัว > ศิโรราบ

…………..

มโนคณะศัพท์” (ตามหลักควรสะกดเป็น “มโนคณศัพท์”) มีกฎว่า เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส ให้แปลง อะ ที่สุดศัพท์เป็น โอ เช่น มน + รม แทนที่จะเป็น “มนรม” ท่านให้แปลง อะ ที่ (ม)- เป็น โอ (มน > มโน) จึงเป็น “มโนรม

มนภาพ” จึงเป็น “มโนภาพ

เจตวิมุติ” จึงเป็น “เจโตวิมุติ

เดชชัย” จึงเป็น “เดโชชัย

ยสธร” จึงเป็น “ยโสธร” ดังนี้เป็นต้น

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สลับคำ ความหมายอาจจะพิกล

: สลับคน ภารกิจอาจจะพิการ

#บาลีวันละคำ (3,686)

16-7-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *