บาลีวันละคำ

นิติบัญญัติ (บาลีวันละคำ 492)

นิติบัญญัติ

อ่านว่า นิ-ติ-บัน-หฺยัด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

บัญญัติ : (คำนาม) ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ 10 ประการ.(คำกริยา) ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย”

นิติบัญญัติ” เทียบเป็นบาลีว่า “นีติปญฺญตฺติ” (นี-ติ-ปัน-ยัด-ติ) ประกอบด้วย นีติ + ปญฺญตฺติ

นีติ” (โปรดสังเกตว่า บาลีเป็น นี- ไม่ใช่ นิ-) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนำไปให้บรรลุ” หมายถึง การนำไป, การแนะนำ, กฎ, ข้อบังคับ, แบบแผน, การนำทาง, การปฏิบัติ, ความประพฤติที่ถูกต้อง, การทำที่เหมาะที่ควร, การใช้วิธีปกครอง, การปกครองประชาชน

ปญฺญตฺติ” แปลตามศัพท์ว่า “การให้รู้โดยทั่วถึง” “การปูลาด” (เทียบการปูเสื่อ ปูพรม หรือเอาที่นั่งที่นอนมาปูไว้ คือการกำหนดขึ้นว่า ใครจะทำอะไรก็ควรทำหรือต้องทำตามข้อกำหนดอย่างนี้ๆ เหมือนใครนั่งจะนอนก็ควรมานั่งนอนตรงที่ซึ่งปูลาดไว้ให้ ไม่ใช่ไปนั่งนอนเกะกะตามใจชอบ)

ดังนั้น “ปญฺญตฺติบัญญัติ” จึงหมายถึง การประกาศ, การป่าวร้อง, การแจ้งให้รู้, การตั้งขึ้น, ข้อที่กำหนดขึ้น, การกำหนดเรียก, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ, การแสดงให้เห็น, การกำหนด, การตั้งชื่อ, ความคิดหรือแนวความคิด, ความรู้สึก, ความเข้าใจ (making known, manifestation, description, designation, name, idea, notion, concept สำหรับท่านที่เห็นคำอังกฤษแล้วเข้าใจความหมายได้ชัดขึ้น)

นีติปญฺญตฺตินิติบัญญัติ” แปลตรงตัวว่า “บัญญัติกฎหมาย

นิติบัญญัติ” เป็น 1 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตยที่ใช้ในการปกครองประเทศไทย คือ

1. นิติบัญญัติ = รัฐสภา : ทําหน้าที่บัญญัติกฎหมาย

2. บริหาร = คณะรัฐมนตรี : ทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน

3. ตุลาการ = ศาล : ทําหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี

: ถ้าถือศีล มีสัตย์ ก็แทบไม่ต้องบัญญัติกฎหมาย

: ถ้าทิ้งศีล เสียสัตย์ ถึงบัญญัติก็แทบไม่มีความหมาย

19-9-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย