บาลีวันละคำ

สกลมหาสังฆปริณายก (บาลีวันละคำ 506)

สกลมหาสังฆปริณายก

อ่านตามหลักว่า สะ-กน-ละ-มะ-หา-สัง-คะ-ปะ-ริ-นา-ยก

ประกอบด้วยคำว่า สกล + มหาสังฆ + ปริณายก

สกล” (บาลีอ่านว่า สะ-กะ-ละ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปพร้อมกับส่วนย่อยทั้งหลาย” ไขความว่า “รวมส่วนย่อยเข้ามาไว้ทั้งหมด” จึงหมายถึง ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทั้งสิ้น, ทั่วไปหมด

มหาสังฆ” บาลี : มหนฺต + สงฺฆ = มหาสงฺฆ แปลตามศัพท์ว่า “หมู่ใหญ่” “หมู่มาก” ในที่นี้หมายถึง พระสงฆ์หมู่ใหญ่ หรือคณะสงฆ์จำนวนมาก

สกล + มหาสังฆ = สกลมหาสังฆ หมายถึง พระสงฆ์หมู่ใหญ่ทั้งหมดทั้งสิ้น, พระสงฆ์ทั้งปวงในสังฆมณฑล

ปริณายก” : ปริ + นายก แปลง หนู เป็น เณร = ปริณายก

ปริ = รอบ, เวียน, ทั่วไป, เต็มไปหมด, รวมหมด

นายก = ผู้นํา, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้นำทาง

ปริณายก = ผู้นำรอบด้าน, ผู้นำทั่วทุกทาง

ข้อสังเกต

1. คัมภีร์บาลีของไทย มีทั้ง “ปริายก” ( หนู) และ “ปริายก” ( เณร)

2. แปลง เป็น เมื่อมี “ปริ-” นำหน้าเท่านั้น “นายก” คำเดียวคงใช้ หนู ไม่มีที่เป็น “ณายก

3. ในภาษาไทย พจน.42 กำหนดให้เขียน “ปริณายก” ( เณร)

สกลมหาสังฆ + ปริณายก = สกลมหาสังฆปริณายก หมายถึง ผู้นำหรือผู้เป็นประมุขแห่งสงฆ์ทั้งปวง (มิใช่เฉพาะสงฆ์หมู่ใดหมู่หนึ่ง)

สกลมหาสังฆปริณายก” เป็นสร้อยพระนามสมเด็จพระสังฆราช เช่น “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ผู้นำ-ผู้ตาม :

กระแสธรรม : ความดีของผู้ตาม เป็นความงามของผู้นำ

กระแสโลก : ถ้าผู้นำเลวทราม ผู้ตามก็ยิ่งระยำ

3-10-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย