บาลีวันละคำ

ศตวรรษ (บาลีวันละคำ 512)

ศตวรรษ

อ่านว่า สะ-ตะ-วัด

ศตวรรษ ประกอบด้วย ศต + วรรษ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 มีคำว่า “ศตวรรษ” และ “ศตพรรษ” (สะ-ตะ-พัด) บอกความหมายว่า “รอบ 100 ปี

สต” เป็นศัพท์สังขยา (คำที่ใช้นับจำนวน) แปลว่า หนึ่งร้อย (จำนวน 100) สันสกฤตเป็น “ศต” (บาลี เสือ สันสกฤต ศาลา)

วสฺส” แปลว่า “ปี” สันสกฤตเป็น “วรฺษ” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “วรรษ

คำว่า “ศตวรรษ” เราคิดขึ้นเทียบคำฝรั่งว่า century

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล century เป็นบาลีว่า “สตวจฺฉร” (สะ-ตะ-วัด-ฉะ-ระ)

วจฺฉร คำเต็มคือ สํวจฺฉร (สัง-วัด-ฉะ-ระ) แปลว่า “ปี” เช่นเดียวกับ วสฺส

ข้อสังเกต

1. “สต” เป็นศัพท์สังขยาชนิด “สังขยานาม” คือไม่ใช้เป็นคุณศัพท์ ต่างจาก “สังขยาคุณ” ที่ใช้เป็นคุณศัพท์อย่างเดียว เช่น ปญฺจ (ห้า) ต้องมีคำนามเป็นตัวตั้งว่าอะไรห้า เช่น ปญฺจ ชนาคนทั้งหลาย 5” = คน 5 คน

แต่ สต จะพูดว่า สต ชนาคนทั้งหลาย 100” ไม่ได้ ต้องพูดว่า ชนานํ สตํ หรือ ชนสตํร้อยแห่งคนทั้งหลาย” = คน 100 คน

2. ในคัมภีร์บาลี เมื่อกล่าวถึง “100 ปี” จะใช้คำว่า “วสฺสสต” (วัด-สะ-สะ-ตะ) = “ร้อยแห่งปี” คำคุณศัพท์จะเป็น “วสฺสสติก” (วัด-สะ-สะ-ติ-กะ : วสฺส + สต + อิก) = “สิ่งที่มีอายุ 100 ปี” โปรดสังเกตว่า สต จะอยู่หลังคำนามที่ถูกนับเสมอ

3. สรุปว่า “ศตวรรษ” = รอบ 100 ปี บาลีจะกลับกันเป็น “วสฺสสต” แต่ที่เป็น “สตวสฺส” ตรงกันก็มีบ้าง พบในคัมภีร์มิลินทปัญหา ใช้ “สตวสฺส” 2 แห่ง และในบทอนุโมทนามงคลจักรวาฬน้อยซึ่งเป็นของที่แต่งขึ้นในยุคใหม่ตอนที่ว่า –

สตวสฺสา  จะ  อายู  จ  ชีวสิทฺธี  ภวนฺตุ  เต

(สะตะวัสสา จะ อายู จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต)

= อายุยืนร้อยปี และความสำเร็จในชีวิตจงมีแก่ท่าน

ในพระธรรมบทมีพระพุทธพจน์ตรัสว่า

โย  จ  วสฺสสตํ  ชีเว …

ครองศีลครองสติมั่น หนึ่ง

มีปัญญารู้เท่าทันโลกวิถี หนึ่ง

มุ่งมั่นทำดีเป็นประจำ หนึ่ง

เห็นสัจธรรมคือ เกิด-ดับ-เกิด หนึ่ง

ดำเนินทางประเสริฐสู่อมฤตสมบัติ หนึ่ง

แม้อยู่ไม่ถึงศตวรรษ..ก็เกินคุ้ม

9-10-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย