บาลีวันละคำ

สังฆบิดร (บาลีวันละคำ 527)

สังฆบิดร

อ่านว่า สัง-คะ-บิ-ดอน

บาลีเป็น “สงฺฆปิตโร” อ่านว่า สัง-คะ-ปิ-ตะ-โร

ประกอบด้วย สงฺฆ + ปิตุ

สงฺฆ” ในที่นี้หมายถึง พระสงฆ์, คณะสงฆ์, ภิกษุหรือสมณะในพระพุทธศาสนา

ปิตุ” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้คุ้มครองบุตร” หรือ “ผู้รักบุตร” คำไทยว่า พ่อ

ปิตุ” เมื่อแจกตามวิภัตติ เปลี่ยนรูปเป็นต่างๆ เช่น ปิตา (ที่ไทยใช้ว่า “บิดา”) ปิตโร (รูปพหูพจน์) เป็นต้น สันสกฤตเป็น “ปิตฺฤ” และอาจเขียนเป็น “ปิตฺร” ได้อีก

คำว่า “บิดร” ที่ใช้ในภาษาไทยก็แปลงมาจาก ปิ ที่ปรากฏในบาลีสันสกฤตนั่นเอง

สงฺฆปิตุ > สงฺฆปิตโร > สังฆปิตรสังฆบิดร” แปลว่า “บิดาของสงฆ์

สังฆบิดรบิดาของสงฆ์” หรือพูดภาษาปากว่า “พ่อของพระ” ตามความหมายที่แท้จริงในพระพุทธศาสนาคือใคร ?

ในพระไตรปิฎกมีคำเรียกภิกษุในพระพุทธศาสนาว่า “สมโณ สกฺยปุตฺติโย” (สะมะโณ สักยะปุตติโย) แปลว่า “สมณะพวกศากยบุตร” เรียกภิกษุณีว่า “สกฺยธีตา” = ศากยธิดา

สกฺย” หรือ “ศากยะ” เป็นชื่อวงศ์ของพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ดังมีคำเก่าเรียกว่า “พระศากยมุนีโคดม

ศากยบุตร” แปลว่า “ลูกของศากยะ” จึงหมายถึง “ลูกของพระพุทธเจ้า

ในคัมภีร์มีคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสาวกที่บรรลุธรรมแล้วว่า “มม ปุตฺโต” (มะมะ ปุตโต) แปลว่า “ลูกของเรา

ในวรรณกรรมไทย มีคำเรียกพระสงฆ์ว่า “ชินบุตร” และ “พุทธชิโนรส” ซึ่งก็แปลตรงตัวว่า “ลูกของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระสงฆ์เป็น “ลูกของพระพุทธเจ้า” พระพุทธเจ้าจึงอยู่ในฐานะเป็น “สังฆบิดรบิดาของสงฆ์

แต่ในคัมภีร์มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสเรียกภิกษุที่เป็นพระเถระ มีอายุพรรษามาก อยู่ในฐานะเป็น “สงฺฆปิตโร  สงฺฆปรินายกา” ได้ด้วย ซึ่งตรงกับคำไทยที่ถวายคุณนามสมเด็จพระสังฆราชว่า “สังฆบิดร” และ “สังฆปริณายก

25-10-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย