บาลีวันละคำ

ทาส (บาลีวันละคำ 526)

ทาส

ภาษาไทยอ่านว่า ทาด

บาลีอ่านว่า ทา-สะ

รากศัพท์ของคำว่า “ทาส” มีมาหลายทาง เช่น –

1. ทาสฺ (ธาตุ = ร้อน) + ปัจจัย = ทาส แปลว่า “ผู้เดือดร้อน

2. ทุ (= ไม่ดี, น่าเกลียด) > > ทา + อส (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย = ทาส แปลว่า “ผู้กินน่าเกลียด

3. ทา (ธาตุ = ให้) + ปัจจัย = ทาส แปลว่า “ผู้อันเขาให้” คือถูกยกให้คนอื่นไปใช้

4. บางท่านว่า คำว่า “ทาส” กลายเสียงมาจากสันสกฤตว่า “ทสฺยุ” คำนี้บาลีเป็น “ทสฺสุ” (ทัด-สุ) แปลว่า ข้าศึก, ศัตรู, ขโมย ขยายความว่า เมื่อจับคนพวกนี้ได้ แทนที่จะฆ่าเสีย ก็เอาตัวมาเป็นคนรับใช้ : ทสฺยุ > ทสฺสุ > ทาส

ฝรั่งอธิบายความหมายเดิมของ “ทาส” ว่า meaning “non-Aryan” i. e. slave = ไม่ใช่ “อารยัน” คือทาส

ในคัมภีร์ระบุถึงทาส 4 ประเภท คือ

1. อนฺโตชาต แปลว่า “เกิดภายใน” = ทาสในเรือนเบี้ย

2. ธนกฺกีต แปลว่า “ซื้อมาด้วยเงิน” = ทาสน้ำงิ้น, ทาสสินไถ่

3. กรมรานีต แปลว่า “ถูกนำมาเป็นเชลย” = ทาสเชลย

4. สามํทาสพฺยอุปคต แปลว่า “ยอมเป็นทาสเอง” = ทาสแท้

โลกเลิกทาสแล้ว แต่โลกก็ยังเป็นทาส :

อูโน  โลโก  อติตฺโต  ตณฺหาทาโส (พุทธภาษิต)

โลกพร่อง ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสตัณหา

23-10-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย