บาลีวันละคำ

อนันตชาติ (บาลีวันละคำ 3,862)

อนันตชาติ

อนันตชาติ

คนฉลาดฤๅจะอยากเกิดไม่รู้จบ

อ่านว่า อะ-นัน-ตะ-ชาด

ประกอบด้วยคำว่า อนันต + ชาติ

(๑) “อนันต” 

บาลีเขียน “อนนฺต” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ ประสมขึ้นจากคำว่า (ไม่, ไม่ใช่) + อนฺต 

(ก) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + (ตะ) ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

(ข) + อนฺต แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงต้องแปลง เป็น อน

: > อน + อนฺต = อนนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีที่สุด” หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless)

ตามศัพท์ อนนฺต ไม่ได้แปลว่า “มากล้น” แต่สิ่งใด “ไม่มีที่สุด” สิ่งนั้นย่อมส่อนัยว่า มากมาย มากเหลือล้นนั่นเอง

บาลี “อนนฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนันต-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “อนันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนันต-, อนันต์ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).”

(๒) “ชาติ” 

บาลีอ่านว่า ชา-ติ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย

กระบวนการทางไวยากรณ์ :

แบบที่ 1 แปลง ชนฺ เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ

แบบที่ 2 แปลง “” ที่ (ช-)นฺ เป็น อา : (ช) > อา (> + อา) = ชา + ติ = ชาติ

ชาติ” (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ –

(1) การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)

(2) ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)

(3) จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)

(4) ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural [opp. artificial]; genuine, pure, excellent [opp. adulterated, inferior])

ในภาษาไทย “ชาติ” อ่านว่า ชาด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด เช่น ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด,

(2) ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สบายทั้งชาติ.

(3) เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่.

(4) ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.

(5) ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ; ประชาชาติ ก็ว่า.

(6) กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน.

(7) ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่.

(8 ) คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น รสชาติ หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ.

ในที่นี้ “ชาติ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) 

อนนฺต + ชาติ = อนนฺตชาติ บาลีอ่านว่า อะ-นัน-ตะ-ชา-ติ แปลว่า “การเกิดอันไม่มีที่สิ้นสุด” หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ คือวังวนแห่งทุกข์อันมีการเกิดเป็นมูลรากไม่มีวันสิ้นสุด

อนนฺตชาติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนันตชาติ” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ-ชาด 

ขยายความ :

คนที่ผูกพยาบาทคาดพยาเวรกัน ไม่รู้จักปล่อยวาง ไม่รู้จักให้อภัยกัน คนเก่ามีคำตำหนิที่มักพูดกันว่า “นี่จะผูกใจเจ็บกันไปชั่วกัปชั่วกัลป์อนันตชาติเชียวหรือ” 

คนที่เคียดแค้นกัน แช่งชักหักกระดูกกัน คำเก่าก็มักจะพูดว่า “ขอให้ตกนรกหมกไหม้ชั่วกัปชั่วกัลป์อนันตชาติเถิด” 

กับอีกคำหนึ่งคือ “ขอให้ตกนรกไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด” หมายความว่า ขอให้ทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรกตลอดไป ไม่ต้องพ้นจากนรกไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิอื่นเป็นอนันตชาติ ซึ่งย่อมมีโอกาสได้เสวยทั้งทุกข์ทั้งสุขคลุกเคล้าสลับกันไป 

“ชั่วกัปชั่วกัลป์อนันตชาติ” หมายถึง ระยะเวลาที่ยาวนานนักหนาจนไม่มีที่สิ้นสุด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผู้ได้รับความไม่เป็นธรรม เป็นทุกข์ชาติเดียว

: แต่ผู้ก่อความไม่เป็นธรรม เป็นทุกข์ตลอดอนันตชาติ

#บาลีวันละคำ (3,862)

8-1-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

……………………………

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *