บาลีวันละคำ

โภชนสัปปายะ – 1 ในสัปปายะ 7 (บาลีวันละคำ 3,884)

โภชนสัปปายะ – 1 ในสัปปายะ 7

โภชนสัปปายะ – 1 ในสัปปายะ 7 

อาหารที่เหมาะกัน

…………..

สัปปายะ” หมายถึง สิ่งที่สบาย, สภาพเอื้อ, สิ่งที่เกื้อกูล, สิ่งที่เอื้อต่อการอยู่ดีและการที่จะพัฒนาชีวิต, สิ่งที่เหมาะกัน อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย มี 7 อย่าง คือ 

1. อาวาสสัปปายะ = ที่อยู่อันเหมาะ

2. โคจรสัปปายะ = แหล่งอาหารอำนวย

3. ภัสสสัปปายะ = การพูดคุยที่เหมาะกัน 

4. ปุคคลสัปปายะ = บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน 

5. โภชนสัปปายะ = อาหารที่เหมาะกัน 

6. อุตุสัปปายะ = ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะ 

7. อิริยาปถสัปปายะ = อิริยาบถที่เหมาะกัน 

…………..

โภชนสัปปายะ” อ่านว่า โพ-ชะ-นะ-สับ-ปา-ยะ

ประกอบด้วยคำว่า โภชน + สัปปายะ 

(๑) “โภชน” 

บาลีอ่านว่า โพ-ชะ-นะ รากศัพท์มาจาก ภุชฺ (ธาตุ = กิน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น โอ (ภุชฺ > โภช

: ภุชฺ + ยุ > อน = ภุชน > โภชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขากิน” “สิ่งที่ควรกิน” หมายถึง อาหาร, โภชนะ, ของกินโดยทั่วๆ ไป (food, meal, nourishment in general); การกิน (eating)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

โภชน-, โภชนะ : (คำนาม) อาหาร; การกิน, การกินข้าว. (ป., ส.).”

(๒) “สัปปายะ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สปฺปาย” อ่านว่า สับ-ปา-ยะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (หรือลบนิคหิตแล้วซ้อน ), แปลง อิ ที่ธาตุเป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย แล้วทีฆะ อะ ที่ -(ย) เป็น อา ด้วยอำนาจ ปัจจัย (อย > อาย

: สํ > สปฺ + = สปฺป + อา = สปฺปา + อิ > เอ > อย = สปฺปย + = สปฺปยณ > สปฺปย > สปฺปาย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไปได้พร้อมทั่วถึง” = อยากจะไป อยากจะทำอะไร ก็ไปได้ทำได้ไม่ติดขัด 

สปฺปาย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) เป็นคำนาม: สิ่งที่เป็นประโยชน์, คุณประโยชน์, การช่วยเหลือ (something beneficial, benefit, help)

(2) เป็นคุณศัพท์: น่าเป็นจริง, มีประโยชน์, เหมาะสม, สมควร (likely, beneficial, fit, suitable)

สปฺปาย” ในภาษาไทยใช้ว่า “สบาย” (โปรดสังเกตว่าไม่ต้องประวิสรรชนีย์ที่ -) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

(1) อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มีวิตกกังวลใด ๆ.

(2) สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัวสบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย.

(3) พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย.

(4) ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือนเมื่อก่อน.

(5) ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้.

(6) มีความพอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย.

โภชน + สปฺปาย = โภชนสปฺปาย (โพ-ชะ-นะ-สับ-ปา-ยะ) แปลว่า “โภชนะเป็นสัปปายะ” คืออาหารที่บริโภคแล้วไม่ก่อให้เกิดอาการแปรปรวนในร่างกาย แต่ช่วยให้ระบบในร่างกายปลอดโปร่ง เกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรม

โภชนสปฺปาย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “โภชนสัปปายะ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [286] สัปปายะ 7 บอกไว้ว่า 

…………..

5. โภชนสัปปายะ (โภชะนะ-) : อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันหรือรับประทานไม่ยาก (suitable food) บางแห่งเรียก อาหารสัปปายะ

…………..

ข้อสังเกต :

สัปปายะที่ 2 โคจรสัปปายะ และสัปปายะที่ 5 โภชนสัปปายะ กล่าวถึง “อาหาร” เหมือนกัน สัปปายะทั้ง 2 นี้ต่างกันอย่างไร?

โคจรสัปปายะ หมายถึง แหล่งที่แสวงหาอาหารได้สะดวก

โภชนสัปปายะ หมายถึง ชนิดของอาหารที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

…………..

ขยายความ :

ขอนำคำขยายความคำว่า “โภชนสัปปายะ” ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเสนอในที่นี้ หากมีถ้อยคำใดอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ พึงศึกษาหาความรู้ต่อไป พึงตั้งอารมณ์ว่าอ่านเพื่อเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม ก็จะเป็นมหากุศล

ข้อความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นดังนี้ –

(สำนวนแปลของนาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต อดีตหัวหน้ากองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ, ผู้สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคด้วยวิธีสอบข้อเขียนได้เป็นคนแรกของประเทศไทย)

…………..

ส่วนโภชนะ สำหรับลางคนรสหวาน ลางคนก็รสเปรี้ยว เป็นสัปปายะ แม้ฤดู ลางคนก็หนาว ลางคนก็ร้อน เป็นสัปปายะ เพราะฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรเสพโภชนะใดก็ดี ฤดูใดก็ดี ความผาสุกย่อมเกิดมี (จิตของเธอ) ที่ยังไม่เป็นสมาธิย่อมเป็นสมาธิ หรือว่าจิตที่เป็นสมาธิแล้วย่อมตั้งมั่นยิ่งขึ้นก็ดี โภชนะนั้นและฤดูนั้นนับเป็นสัปปายะ โภชนะนอกนี้และฤดูนอกนี้นับเป็นอสัปปายะ

ที่มา:

วิสุทธิมรรคฉบับบาลี ภาค 1 หน้า 162

สุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 103

หมายเหตุ:

วิสุทธิมรรคท่านเอา “โภชนะ” และ “อุตุ” มาพูดรวมกัน เพราะ 2 สิ่งนี้มีผลกระทบต่อร่างกายในลักษณะเดียวกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้ารู้ว่ากินเพื่ออยู่

: ก็ควรจะรู้ต่อไปว่าอยู่เพื่ออะไร

#บาลีวันละคำ (3,884)

30-1-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

……………………………

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *