บาลีวันละคำ

กมลมนเทียร (บาลีวันละคำ 3,897)

กมลมนเทียร

กมลมนเทียร

วัดดอกบัว

อ่านว่า กะ-มะ-ละ-มน-เทียน ก็ได้

อ่านว่า กะ-มน-ละ-มน-เทียน ก็ได้

ประกอบด้วยคำว่า กมล + มนเทียร

(๑) “กมล

บาลีอ่านว่า กะ-มะ-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) กํ (น้ำ) + อลฺ (ธาตุ = ประดับ) + ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ กํ เป็น (กํ > กม)

: กํ > กม + อลฺ = กมล + = กมล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ประดับน้ำ

(2) กํ (น้ำ) + อล (ประดับ) แปลงนิคหิตที่ กํ เป็น (กํ > กม)

: กํ > กม + อล = กมล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กระทำซึ่งการตกแต่งน้ำ

(3) (น้ำ) + มล (มลทิน

: + มล = กมล แปลตามศัพท์ว่า “มลทินแห่งน้ำ” (คือสิ่งที่ทำให้น้ำมีสิ่งเจือปน)

กมล” ในบาลีหมายถึง ดอกบัว 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กมล” ไว้ดังนี้ –

(1) lotus, the lotus flower, Nelumbium (บัว, ดอกบัว, บัวหลวง)

(2) a kind of grass, of which sandals were made (หญ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ทำรองเท้า)

(3) f. kamalā a graceful woman (อิตถีลิงค์เป็น “กมลา” หญิงที่สง่างาม)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กมล : (คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. (คำวิเศษณ์) เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).”

(๒) “มนเทียร

บาลีเป็น “มนฺทิร” อ่านว่า มัน-ทิ-ระ รากศัพท์มาจาก มนฺทฺ (ธาตุ = เบิกบาน) + อิร ปัจจัย

: มนฺทฺ + อิร = มนฺทิร (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่เบิกบานใจแห่งผู้คน” หมายถึง บ้าน, อาคาร, วัง (a house, edifice, palace)

มนฺทิร” ในภาษาไทยใช้เป็น “มนเทียร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มนเทียร : (คำนาม) เรือนหลวงซึ่งใช้เป็นที่ประทับประจำของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).” 

พจนานุกรมฯ บอกว่า “(ป., ส. มนฺทิร)” หมายความว่า คำว่า “มนเทียร” นี้ ทั้งบาลีและสันสกฤตเป็น “มนฺทิร” เหมือนกัน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

มนฺทิร : (คำนาม) แผลงใช้เปน – ‘มนเทียร,’ บ้าน, เรือน; เมือง; วิหาร; ทเล; ปฤษฐภาคของเข่า; โรงรถ; โรงม้า; a house; a town; a temple; sea; the back part of knee; a stable.”

กมล + มนฺทิร = กมลมนฺทิร (กะ-มะ-ละ-มัน-ทิ-ระ) แปลว่า “มนเทียรประดุจดอกบัว

กมลมนฺทิร” แผลงรูปเป็นไทย เป็น “กมลมนเทียร

ขยายความ :

กมลมนเทียร” แปลงกลับเป็นบาลีคือ “กมลมนฺทิร” คำนี้ได้มาจากชื่อสิ่งก่อสร้างแห่งหนึ่งในอินเดีย ซึ่งสะกดชื่อเป็นอักษรโรมันว่า Kaamal Mandir แปลเป็นคำอังกฤษว่า Lotus Temple มีผู้แปลเป็นไทยว่า “วัดดอกบัว”

Kaamal Mandir สะกดเป็นอักษรเทวนาครีซึ่งเป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาฮินดี อ่านได้ว่า กมลมันดิร (ดูภาพประกอบ) ตรงกับรูปคำบาลีว่า “กมลมนฺทิร

คำในภาษาฮินดีที่ออกเสียงว่า มัน-ดิน (Mandir) ซึ่งตรงกับคำบาลีว่า “มนฺทิร” นั้น เป็นคำที่ใช้เรียกวัดด้วย เช่นวัดไทยที่พุทธคยา คนอินเดียเรียกว่า ไท-มัน-ดิน

และโปรดสังเกตคำว่า “มนฺทิร” ในภาษาสันสกฤต มีคำแปลเป็นอังกฤษคำหนึ่งว่า a temple (ดูข้างต้น)

เป็นอันว่า Kaamal Mandir > กมลมนฺทิร > กมลมนเทียร > Lotus Temple > วัดดอกบัว

ญาติมิตรท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับ Kaamal Mandir ถ้าจะกรุณานำมาร่วมบูรณาการเป็นองค์ความรู้ร่วมกัน ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้เขียนบาลีวันละคำขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ดอกบัวบูชาพระพุทธปฏิมา

: หัวใจบูชาพระพุทธเจ้า

#บาลีวันละคำ (3,897)

12-02-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *