บาลีวันละคำ

ภัณฑไทย (บาลีวันละคำ 3,932)

ภัณฑไทย

ศัพท์วิชาการทางพระวินัย ไม่เรียนไม่รู้

อ่านว่า พัน-ดะ-ไท

ประกอบด้วยคำว่า ภัณฑ + ไทย 

(๑) “ภัณฑ

บาลีเป็น “ภณฺฑ” อ่านว่า พัน-ดะ รากศัพท์มาจาก ภฑิ (ธาตุ = ห่อ, เก็บ) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมแล้วแปลงเป็น , ลบ และสระที่สุดธาตุ

: ภฑิ > ภํฑิ > ภณฺฑิ + = ภณฺฑิก > ภณฺฑิ > ภณฺฑ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลพึงห่อเก็บ” เดิมหมายถึง สิ่งซึ่งสามารถห่อแล้วเก็บไว้ได้ ต่อมาความหมายขยายไปถึงสิ่งของทั่วไป 

ภณฺฑ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) ของค้าขาย; สินค้า, สิ่งของ, ทรัพย์สมบัติ (stock in trade; collectively goods, wares, property, possessions) 

(2) เครื่องใช้, วัตถุ, เครื่องมือ (implement, article, instrument)

ภณฺฑ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ภัณฑ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “ภัณฑ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัณฑ-, ภัณฑ์ : (คำนาม) สิ่งของ, เครื่องใช้. (ป.; ส. ภาณฺฑ).”

(๒) “ไทย

บาลีเป็น “เทยฺย” อ่านว่า เทย-ยะ (เสียง เอยฺย– บางสำนักให้อ่านว่า ไอ อ้างว่าเป็นการออกเสียงให้ตรงกับเสียงเดิม แต่พึงทราบว่า ในภาษาบาลีไม่มีรูปสระ ไอ) รากศัพท์มาจาก ทา (ธาตุ = ให้) + ณฺย ปัจจัย, แปลง ณฺย เป็น เอยฺย, ลบสระหน้า คือ อา ที่ ทา (ทา > )

: ทา > + ณฺย > เอยฺย : + เอยฺย = เทยฺย แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันพึงให้”  

เทยฺย” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) (นปุงสกลิงค์) ของควรให้, ของควรเซ่นสรวง (a gift, offering)

(2) (คุณศัพท์) ควรให้ (to be given); ควรได้รับการให้, ควรแก่การถวาย (deserving a gift, worthy of receiving alms)

เทยฺย” ในภาษาไทยใช้เป็น “ไทย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ไทย– ๒ : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) ควรให้, ใช้ประกอบเป็นคำนำหน้าสมาส. (ป. เทยฺย).”

ในที่นี้ เทยฺย = ไทย ใช้เป็นส่วนหลังของคำสมาส

ภณฺฑ + เทยฺย = ภณฺฑเทยฺย (พัน-ดะ-เทย-ยะ) แปลตามประสงค์ว่า “สิ่งอันจำจะต้องให้” หรือ “ต้องให้ตามราคาทรัพย์สิน

ภณฺฑเทยฺย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ภัณฑไทย

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ดังนี้ –

ภัณฑไทย : ของที่จะต้องให้ (คืน) แก่เขา, สินใช้, การที่จะต้องชดใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป.”

คำว่า “ภัณฑไทย” ยังไม่ได้เก็บไว้ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ขยายความ :

คัมภีร์สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัยปิฎก) ภาค 1 ตอนอธิบายทุติยปาราชิก (อาบัติปาราชิกสิกขาบทที่สอง ว่าด้วยลักทรัพย์) จำกัดความคำว่า “ภณฺฑเทยฺย” (ภัณฑไทย) ไว้ดังนี้ –

…………..

ภณฺฑเทยฺยนฺนาม  ยํ  ปรสฺส  นฏฺฐํ  ตสฺส  มูลํ  วา  ตเทว  วา  ภณฺฑํ  ทาตพฺพนฺติ  อตฺโถ  ฯ

คำว่า “ภณฺฑเทยฺย” (ภัณฑไทย) หมายความว่า สิ่งของใดของผู้อื่นเสียหายไป ต้องใช้ราคาสิ่งของนั้น หรือใช้สิ่งของนั้นนั่นเอง

ที่มา: สมันตปาสาทิกา ภาค 1 หน้า 385

…………..

ถ้าจะเข้าใจง่ายๆ ไว้ทีก่อน “ภัณฑไทย” ก็คือ “ค่าปรับ” ในเมื่อภิกษุทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย หรือเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่ได้ทรัพย์ที่จะพึงได้ตามสิทธิ์

“ผู้อื่นไม่ได้ทรัพย์ที่จะพึงได้ตามสิทธิ์” ก็อย่างเช่น จะทำการบางอย่างต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่หลบเลี่ยงไม่ยอมเสีย ถ้าเขาเรียกร้องขึ้นมาต้องเสียให้เขา อย่างนี้เป็นต้น

ภัณฑไทย” หรือ “ค่าปรับ” นี้ กรณีทำให้ทรัพย์สินเสียหาย จะให้เป็นเงินตามราคาของทรัพย์ก็ได้ จะให้เป็นทรัพย์ชนิดเดียวกันก็ได้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เขียนบาลีวันละคำทำให้ผู้อื่นเสียเวลาอ่าน

: ถ้าถูกปรับก็คงบาน-ตะไท

#บาลีวันละคำ (3,932)

19-3-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *