บาลีวันละคำ

กายภาพ (บาลีวันละคำ 3,960)

กายภาพ

คำไม่ยาก แต่ทำไม่ง่าย

อ่านว่า กาย-ยะ-พาบ

ประกอบด้วยคำว่า กาย + ภาพ

(๑) “กาย” 

บาลีอ่านว่า กา-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุ (สิ่งที่น่ารังเกียจ, สิ่งที่น่าเกลียด) + อาย (ที่มา, ที่เกิดขึ้น), “ลบสระหน้า” คือ อุ ที่ กุ (กุ > )

: กุ > + อาย = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย

(2) (อวัยวะ) + อายฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป), + (อะ) ปัจจัย

: + อายฺ = กายฺ + = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่เป็นไปแห่งอวัยวะทั้งหลาย

(3) กาย (ร่างกาย) + ปัจจัย, ลบ  

: กาย + = กายณ > กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นแห่งส่วนย่อยทั้งหลายเหมือนร่างกาย” (คือร่างกายเป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ฉันใด “สิ่งนั้น” ก็เป็นที่รวมอยู่แห่งส่วนย่อยทั้งหลายฉันนั้น)

กาย” (ปุงลิงค์) หมายถึง ร่างกาย; กลุ่ม, กอง, จำนวนที่รวมกัน, การรวมเข้าด้วยกัน, ที่ชุมนุม (body; group, heap, collection, aggregate, assembly)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาย, กาย– : (คำนาม) ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).”

(๒) “ภาพ

รูปคำเหมือนจะมาจาก “ภาว” (พา-วะ) ในบาลี 

ภาว” รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภาว” ไว้ดังนี้ –

(1) being, becoming, condition, nature (ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ)

(2) cultivation or production by thought, mental condition (การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด, ภาวะทางใจ)

ความหมายของ “ภาว” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาว-, ภาวะ : (คำนาม) ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).”

ภาว แปลง เป็น = ภาพ 

ความหมายของ “ภาพ” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย.

(2) รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน.

(3) สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย.

ในที่นี้ “ภาพ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

กาย + ภาพ = กายภาพ อ่านว่า กาย-ยะ-พาบ (กาย-ยะ- ไม่ใช่ กา-ยะ-) เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใช้ในภาษาไทย เทียบคำอังกฤษว่า physic

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล physic เป็นบาลี ดังนี้: 

(1) tikicchā ติกิจฺฉา (ติ-กิด-ฉา) = การบำบัดรักษาโรค 

(2) vejjakamma เวชฺชกมฺม (เวด-ชะ-กำ-มะ) = “งานของแพทย์” การรักษาโรค 

(3) bhesajja เภสชฺช (เพ-สัด-ชะ) = ยารักษาโรค 

(4) rūpadhātuvijjā รูปธาตุวิชฺชา (รู-ปะ-ทา-ตุ-วิด-ชา) = ศาสตร์เกี่ยวกับวัตถุธาตุ

และแปล physical เป็นบาลี ดังนี้: 

(1) sārīrika สารีริก (สา-รี-ริ-กะ) = เกี่ยวกับร่างกาย, สิ่งที่มีอยู่ในร่างกาย 

(2) rūpamaya รูปมย (รู-ปะ-มะ-ยะ) = สิ่งที่เป็นวัตถุธาตุ

(3) osadhiya โอสธิย (โอ-สะ-ทิ-ยะ) = เกี่ยวกับยารักษาโรค

…………..

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กายภาพ : (คำวิเศษณ์) เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต, เกี่ยวกับสสารและพลังงาน, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ ศึกษาเกี่ยวกับสสารและพลังงาน; เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโลก เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของผิวดิน บรรยากาศ อากาศ พืช และสัตว์ในถิ่นต่าง ๆ.”

แถม :

คำที่เนื่องมาจาก “กายภาพ” ที่เราออกจะคุ้นกันดีคือ “กายภาพบำบัด” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

กายภาพบำบัด : (คำนาม) การรักษาโรคโดยอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์แทนการใช้ยา เช่น โดยการนวด การฉายรังสี การใช้กระแสไฟฟ้า การใช้กระแสนํ้า ความร้อน หรือการออกกําลังกาย. (อ. physical therapy).

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้คำนิยามใหม่ เป็นดังนี้ –

กายภาพบำบัด : (คำที่ใช้ในกฎ) (คำนาม) การบำบัด ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูความบกพร่องของร่างกายที่เกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปรกติ.”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: กายกับใจใหญ่ทั้งคู่

: แต่ต้องรู้ว่าใครใหญ่ทางไหน

#บาลีวันละคำ (3,960)

16-4-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *