บาลีวันละคำ

พยาบาท (บาลีวันละคำ 3,972)

พยาบาท

หญ้าปากคอกอีกคำหนึ่ง

อ่านว่า พะ-ยา-บาด

พยาบาท” บาลีเป็น “พฺยาปาท” อ่านว่า เพีย-ปา-ทะ และ “วฺยาปาท” (เวีย-ปา-ทะ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + ปทฺ (ธาตุ = ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (ปทฺ > ปาท), แปลง อิ ที่ วิ เป็น (วิ > วฺย), แผลง วฺ เป็น พฺ

: วิ > วฺย + อา = วฺยา + ปทฺ = วฺยาปทฺ + = วฺยาปทฺณ > วฺยาปท > วฺยาปาท > พฺยาปาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะเป็นเหตุถึงความแปลกไปแห่งจิต” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พฺยาปาท” ว่า ill-will, malevolence (ความประสงค์ร้าย, ความพยาบาท)

ศัพท์นี้ ไม่แผลง วฺ เป็น พฺ ได้รูปเป็น “วฺยาปาท” ก็มี

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วฺยาปาท” ว่า making bad, doing harm: desire to injure, malevolence, ill-will (ความพยาบาท, การทำอันตราย; ความปรารถนาที่จะทำร้าย, ความประสงค์ร้าย, เจตนาร้าย)

บาลี “พฺยาปาท” และ “วฺยาปาท” สันสกฤตเป็น “วฺยาปาท

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วฺยาปาท : (คำนาม) ‘พยาบาท,’ การปองร้าย, โทฺรหมติ, ความตั้งใจจะทำร้ายผู้อื่น; evil design, malice, intention to harm another.”

พฺยาปาท” และ “วฺยาปาท” ในภาษาไทยใช้เป็น “พยาบาท

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

พยาบาท : (คำนาม) การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า ผูกพยาบาท. (คำกริยา) ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไปพยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).”

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “พยาบาท” ไว้ดังนี้ –

…………..

พยาบาท : ความขัดเคืองแค้นใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย; ตรงข้ามกับ เมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น

…………..

และมีคำว่า “พยาบาทวิตก” อีกคำหนึ่ง บอกไว้ดังนี้ – 

…………..

พยาบาทวิตก : ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา (ข้อ ๒ ในอกุศลวิตก ๓)

…………..

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่โกรธ ดี

: ไม่เกลียด ดีมาก

: ไม่พยาบาท ดีที่สุด

#บาลีวันละคำ (3,972)

28-4-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *