บาลีวันละคำ

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ (บาลีวันละคำ 3,975)

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ

1 ในพุทธกิจ 5 ประการ

…………..

พุทธกิจ 5 ประการปรากฏตามคำบาลีแต่งเป็นคาถาดังนี้ –

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ

ปจฺจูเสว คเต กาเล 

ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ.

เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต

เวลาเย็น แสดงพระธรรมเทศนา

เวลาย่ำค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ

เวลาเที่ยงคืน พยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา

เวลาใกล้รุ่ง ตรวจดูหมู่สัตว์ที่สมควรจะโปรด

หมายเหตุ: คำบาลีนี้ยังไม่พบที่มาว่าอยู่ในคัมภีร์อะไร หรือท่านผู้ใดเป็นผู้รจนาขึ้น ข้อความมีเพียงแค่นี้หรือมีมากกว่านี้ ท่านผู้ใดทราบ ขอความกรุณาให้ข้อมูลด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ” เขียนแบบคำอ่านว่า “สายัณเห ธัมมะเทสะนัง” คำบาลีที่ควรศึกษาคือ “สายณฺเห” และ “ธมฺมเทสน

(๑) “สายณฺเห

รูปคำเดิมเป็น “สายณฺห” อ่านว่า สา-ยัน-หะ ประกอบด้วยคำว่า สาย + อห 

(ก) “สาย” อ่านว่า สา-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สา (ธาตุ = จบ, สิ้น) + ปัจจัย

: สา + = สาย แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่กลางวันสิ้นสุด” 

(2) สา (แทนศัพท์ “สายนฺต” = ทำวันให้สิ้นสุด) + อย (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: สา + อยฺ = สายฺ + = สาย แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ทำกลางวันให้สิ้นไป” 

สาย” (ปุงลิงค์) หมายถึง เวลาเย็น, เวลากลางคืน (evening, at night)

(ข) “อห” อ่านว่า อะ-หะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + หา (ธาตุ = ละ, ทิ้ง) + (อะ) ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ หา (หา > ), แปลง เป็น  

: + หา = นหา > นห + = นห > อห (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ไม่ละการย้อนกลับมา” หมายถึง วัน (a day)

สาย + อห แปลง อห เป็น อณฺห

: สาย + อห = สายห > สายณฺห (สา-ยัน-หะ) แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเย็นแห่งวัน” หมายถึง เวลาเย็น (evening)

สายณฺห” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) นปุงสกลิงค์ เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “สายณฺเห” (สะกดเป็น สายเณฺห ก็มี) แปลว่า “ในเวลาเย็น

บาลี “สายณฺห” สันสกฤตเป็น “สายาหฺน” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สายาหฺน : (คำนาม) สายันกาล evening, eventide.”

ในภาษาไทยใช้เป็น “สายัณห์” และ “สายาห์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

สายัณห์, สายาห์ : (คำนาม) เวลาเย็น. (ป. สายณฺห; ส. สายาหฺน).”

(๒) “ธมฺมเทสน

อ่านว่า ทำ-มะ-เท-สะ-นะ ประกอบด้วยคำว่า ธมฺม + เทสน 

(ก) “ธมฺม” อ่านว่า ทำ-มะ รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” มีความหมายหลายหลาก ดังต่อไปนี้ –

สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

บาลี “ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8 ) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ธมฺม” เขียนแบบคำอ่านเป็น “ธัมม” ความหมายเน้นหนักตามข้อ (1) ถึง (6)

(ข) “เทสน” รูปปกติเป็น “เทสนา” อ่านว่า เท-สะ-นา รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ทิสฺ + ยุ > อน = ทิสน > เทสน + อา = เทสนา แปลตามศัพท์ว่า “วาจาเป็นเครื่องแสดงเนื้อความ

เทสนา” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การเทศน์, การสั่งสอน, บทเรียน (discourse, instruction, lesson) 

(2) ควบกับ ธมฺม+เทสนา = ธมฺมเทสนา หมายถึง การสั่งสอนธรรม, การแสดงธรรม, การเทศน์, คำเทศน์หรือสั่งสอน (moral instruction, exposition of the Dhamma, preaching, sermon) 

(3) การยอมรับ (โดยชอบด้วยกฎหมาย) ([legal] acknowledgment)

เทสนา” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “เทศน์” “เทศนา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เทศน์, เทศนา : (คำนาม) การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา. (คำกริยา) แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ภาษาปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).”

ธมฺม + เทสนา = ธมฺมเทสนา แปลว่า “การแสดงธรรม” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธมฺมเทสนา” ว่า moral instruction, exposition of the Dhamma (ธรรมเทศนา, การแสดงธรรม) (ดูที่ “เทสนา” ข้างต้นด้วย)

โดยถ้อยคำ “ธมฺมเทสนา” หมายถึงแสดงพระธรรมคำสอนอันมีในพระพุทธศาสนา แต่โดยความหมาย “ธมฺมเทสนา” หมายถึงการให้ความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนและหลักปฏิบัติอันมีประโยชน์และดีงามทั่วไป

ขยายความ :

คำบาลีที่ยกขึ้นข้างต้นเป็น “สายณฺเห ธมฺมเทสนํ” คำว่า “ธมฺมเทสนํ” ก็คือ “ธมฺมเทสนา” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) เปลี่ยนรูปเป็น “ธมฺมเทสนํ” แปลว่า “ซึ่งการแสดงธรรม” หรือ “ซึ่งพระธรรมเทศนา

ธมฺมเทสนา” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง และแปลว่า “ซึ่งการแสดงธรรม” บอกให้รู้ว่า คำบาลีในที่นี้จะต้องมีคำกริยาแสดงการกระทำ “ซึ่งการแสดงธรรม” กล่าวคือ โดยหลักวากยสัมพันธ์ “ธมฺมเทสนํ” ทำหน้าที่เป็น “กรรม” ในประโยคเพราะแจกด้วยทุติยาวิภัตติ ดังนั้น จึงต้องมีคำกริยามารับ เพราะ “กรรม” จะอยู่ลอยๆ โดยไม่มีกริยามิได้

เมื่อเติมคำกริยามาให้ครบ รูปประโยคอาจเป็นดังนี้: “สายณฺเห ธมฺมเทสนํ พุทฺธกิจฺจํ กโรติ

แปลตามศัพท์ (แปลโดยพยัญชนะ) ว่า อันว่าพระพุทธเจ้า ย่อมทรงกระทำ ซึ่งพุทธกิจ คือการแสดงธรรม ในเวลาเย็น

…………..

ที่อธิบายมานี้คือหลักวิชาภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระพุทธพจน์ 

จะอธิบายได้เช่นนี้ก็ต้องเรียนรู้ และการเรียนรู้นั้นไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัย คนมีสติปัญญาธรรมดาทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ใครเรียนรู้ถึงระดับหนึ่งก็สามารถอธิบายเช่นนี้ได้ทุกคน ผู้ที่ได้ฟังคำอธิบาย ถ้ามีอุตสาหะเรียนรู้ก็จะเข้าใจคำอธิบายนี้ได้โดยไม่ยาก

…………..

สรุป :

“พุทธกิจ” คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้าตามที่ผู้รู้ท่านประมวลไว้มี 5 ประการ พระพุทธเจ้าต้องทรงปฏิบัติทุกวันตั้งแต่รุ่งเช้าของวันหนึ่งจนถึงรุ่งสางของอีกวันหนึ่ง

พุทธกิจประการที่ 2 ของวัน คำบาลีว่า “สายณฺเห ธมฺมเทสนํ” แปลความว่า “เวลาเย็น ทรงแสดงพระธรรมเทศนา” รายละเอียดของศัพท์มีดังที่แสดงมา

มีเรื่องควรทราบเป็นความรู้ นั่นคือ ชาวพุทธสมัยพุทธกาลนิยมไปวัดวันละ 3 เวลา คือเช้า กลางวัน เย็น 

เวลาเช้า นำอาหารบิณฑบาตไปถวายพระภิกษุสามเณร

เวลากลางวัน คือหลังเที่ยง นำน้ำปานะไปถวายพระภิกษุสามเณร

เวลาเย็น นำดอกไม้ของหอมเครื่องสักการะไปไหว้พระและฟังธรรม

อย่างไรก็ตาม ผู้นำน้ำปานะไปถวายหลังเที่ยง อาจอยู่ยืดเยื้อไปจนถึงเวลาเย็นและฟังธรรมติดต่อกันไป หรือผู้นำดอกไม้ของหอมเครื่องสักการะไปไหว้พระตอนเย็น อาจมีน้ำปานะติดมือไปถวายพระด้วยก็ได้

พุทธกิจประการที่ 2 ที่ว่า “สายณฺเห ธมฺมเทสนํเวลาเย็นทรงแสดงพระธรรมเทศนา ก็คือแสดงธรรมโปรดชาวบ้านที่ไปวัดในเวลาเย็นนี่เอง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้ามีเวลาฟังเพลง

: ก็ควรมีเวลาฟังเทศน์

#บาลีวันละคำ (3,975)

1-5-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *