บาลีวันละคำ

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ (บาลีวันละคำ 3,977)

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ

1 ในพุทธกิจ 5 ประการ

…………..

พุทธกิจ 5 ประการปรากฏตามคำบาลีแต่งเป็นคาถาดังนี้ –

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ

ปจฺจูเสว คเต กาเล 

ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ.

เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต

เวลาเย็น แสดงพระธรรมเทศนา

เวลาย่ำค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ

เวลาเที่ยงคืน พยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา

เวลาใกล้รุ่ง ตรวจดูหมู่สัตว์ที่สมควรจะโปรด

หมายเหตุ: คำบาลีนี้ยังไม่พบที่มาว่าอยู่ในคัมภีร์อะไร หรือท่านผู้ใดเป็นผู้รจนาขึ้น ข้อความมีเพียงแค่นี้หรือมีมากกว่านี้ ท่านผู้ใดทราบ ขอความกรุณาให้ข้อมูลด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ” เขียนแบบคำอ่านว่า “อัฑฒะรัตเต เทวะปัญหะนัง” คำบาลีที่ควรศึกษาคือ “อฑฺฒรตฺเต” และ “เทวปญฺหน

(๑) “อฑฺฒรตฺเต

รูปคำเดิมเป็น “อฑฺฒรตฺต” อ่านว่า อัด-ทะ-รัด-ตะ ประกอบด้วยคำว่า อฑฺฒ + รตฺต 

(ก) “อฑฺฒ” อ่านว่า อัด-ทะ รากศัพท์มาจาก อสฺ (ธาตุ = ทิ้ง, ขว้างไป) + ปัจจัย, แปลง สฺต (คือ สฺ ที่ อสฺ ธาตุ และ ปัจจัย) เป็น ฑฺฒ

: อสฺ + = อสฺต > อฑฺฒ แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่ทิ้งความบริบูรณ์” หมายถึง ครึ่งหนึ่ง, ครึ่ง (one half, half)

(ข) “รตฺต” อ่านว่า รัด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ อา ที่สุดธาตุ (รา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รา + ตฺ + )

: รา + ตฺ + = ราตฺต > รตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ถือเอาความไม่เบียดเบียน” (คือโดยปกติเป็นเวลาพักผ่อน หยุดการงาน จึงไม่มีใครทำอะไรแก่ใคร)

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = กำหนัด, ยินดี) + ปัจจัย, ลบ (ร)-ญฺชฺ ที่สุดธาตุ (รญฺช > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รญฺช + ตฺ + )

: รญฺชฺ + ตฺ + = รญฺชตฺต > รตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่ชื่นชอบแห่งผู้มีความกำหนัด” 

รตฺต” (ปุงลิงค์) หมายถึง กลางคืน (night)

หมายเหตุ: คำบาลีที่หมายถึง “กลางคืน” ที่เราคุ้นกันคือ “รตฺติ” (ใช้อิงสันสกฤติเป็น “ราตรี”) 

รตฺต” เป็นคำที่เราไม่คุ้น ในคัมภีร์มีคำที่ใช้คู่กันหลายแห่งว่า “ทิวา จ รตฺโต จ” แปลว่า “กลางวันด้วย กลางคืนด้วย” “ทิวา” = กลางวัน เป็นคำที่เราคุ้น ส่วน “รตฺโต” = กลางคืน ก็คือ “รตฺต” คำนี้ แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “รตฺโต

อฑฺฒ + รตฺต = อฑฺฒรตฺต (อัด-ทะ-รัด-ตะ) แปลว่า “ราตรีกึ่งหนึ่ง” คือกลางคืนล่วงไปครึ่งหนึ่ง หมายถึง ครึ่งคืน คือเที่ยงคืน (midnight)

อฑฺฒรตฺต” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “อฑฺฒรตฺเต” แปลว่า “ในเวลาเที่ยงคืน” 

(๒) “เทวปญฺหน” 

อ่านว่า เท-วะ-ปัน-หะ-นะ ประกอบด้วยคำว่า เทว + ปญฺหน 

(ก) “เทว” อ่านว่า เท-วะ รากศัพท์มาจาก ทิวฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, เล่น, สนุก, เพลิดเพลิน) + (อะ) ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ทิ-(วฺ) เป็น เอ (ทิวฺ > เทว

: ทิวฺ + = ทิว > เทว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ของตน” (2) “ผู้เพลิดเพลินด้วยเบญจกามคุณ” 

ความหมายของ “เทว” ที่มักเข้าใจกัน คือหมายถึง เทพเจ้า, เทวดา 

แต่ความจริง “เทว” ในบาลียังมีความหมายอีกหลายอย่าง 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เทว” ไว้ดังนี้ –

(1) good etc. (สิ่งที่ดี และอื่นๆ)

(2) a god, a deity, a divine being (เทวดา, เทพเจ้า, เทพ)

(3) the sky, rain-cloud, rainy sky, rain-god (ท้องฟ้า, เมฆฝน, ท้องฟ้ามีฝน, เทพแห่งฝน) 

ในที่นี้ “เทว” ใช้ในความหมายตามข้อ (2) คือเทวดาหรือเทพเจ้า 

(ข) “ปญฺหน” อ่านว่า ปัน-หะ-นะ รากศัพท์มาจาก ปญฺห (ธาตุ = ถาม; ต้องการ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ปญฺห + ยุ > อน = ปญฺหน แปลตามศัพท์ว่า (1) “ข้อที่พึงถาม” (2) “ข้ออันคนอยากรู้” 

ปญฺหน” คำนี้ก็คือที่คุ้นกันในภาษาไทยว่า “ปัญหา” นั่นเอง คำนี้ปกติบาลีเป็น “ปญฺห” เป็นปุงลิงค์ ถ้าแจกวิภัตติสามัญ คือวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ ก็จะเป็น “ปญฺโห” พหูพจน์เป็น “ปญฺหา” 

ภาษาไทยไม่ใช้ “ปัญหะ” ตามรูปเดิมในบาลี และไม่ใช้ “ปัญโห” ตามรูปเอกพจน์ แต่ใช้เป็น “ปัญหา” ตรงกับพหูพจน์ในบาลี แต่ในที่นี้ท่านใช้ว่า “ปญฺหน” ความหมายก็อย่างเดียวกับ “ปญฺห” นั่นเอง

ปญฺหน” “ปญฺห” “ปญฺโห”หรือ “ปญฺหา” คำที่เราคุ้นหน้าคุ้นตา แต่มีความหมายมากกว่าที่เราคิด คือหมายถึง –

(1) คำถาม, ระบบคำถาม, แบบสอบถาม (a question, a system of questions, questionnaire)

(2) วิธีถาม, การสอบถาม, การสืบสวน, ปัญหา (mode of asking, inquiry, investigation, question)

(3) การถาม, การสอบถาม, การไต่ถาม (asking, enquiring, questioning)

คำนี้ ในภาษาไทยใช้ว่า “ปัญหา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัญหา : (คำนาม) ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทําได้โดยไม่มีปัญหา, คําถาม, ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง. (ป.).”

เทว + ปญฺหน = เทวปญฺหน (เท-วะ-ปัน-หะ-นะ) แปลว่า “ปัญหาของเทวดา” หมายถึง เทวดาถามปัญหาและพระพุทธองค์ทรงตอบปัญหา

ขยายความ :

คำบาลีที่ยกขึ้นข้างต้นเป็น “อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ” คำว่า “เทวปญฺหนํ” ก็คือ “เทวปญฺหน” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “เทวปญฺหนํ” แปลว่า “ซึ่งปัญหาของเทวดา

เทวปญฺหน” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง และแปลว่า “ซึ่งปัญหาของเทวดา” บอกให้รู้ว่า คำบาลีในที่นี้จะต้องมีคำกริยาแสดงการกระทำ “ซึ่งปัญหาของเทวดา” กล่าวคือ โดยหลักวากยสัมพันธ์ “เทวปญฺหนํ” ทำหน้าที่เป็น “กรรม” ในประโยคเพราะแจกด้วยทุติยาวิภัตติ ดังนั้น จึงต้องมีคำกริยามารับ เพราะ “กรรม” จะอยู่ลอยๆ โดยไม่มีกริยามิได้

เมื่อเติมคำกริยามาให้ครบ รูปประโยคอาจเป็นดังนี้: “อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ พุทฺธกิจฺจํ กโรติ

แปลตามศัพท์ (แปลโดยพยัญชนะ) ว่า อันว่าพระพุทธเจ้า ย่อมทรงกระทำ ซึ่งพุทธกิจ คือ (การตอบ) ซึ่งปัญหาของเทวดา ในเวลาเที่ยงคืน

…………..

สรุป :

“พุทธกิจ” คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้าตามที่ผู้รู้ท่านประมวลไว้มี 5 ประการ พระพุทธเจ้าต้องทรงปฏิบัติทุกวันตั้งแต่รุ่งเช้าของวันหนึ่งจนถึงรุ่งสางของอีกวันหนึ่ง

พุทธกิจประการที่ 4 ของวัน คำบาลีว่า “อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ” แปลความว่า “เวลาเที่ยงคืนทรงตอบปัญหาของเทวดา” รายละเอียดของศัพท์มีดังที่แสดงมา

…………..

อภิปรายแถม :

นักอธิบายธรรมสมัยใหม่ที่คล้อยตามมติคนรุ่นใหม่ซึ่งไม่เชื่อเรื่องผีสางเทวดา นิยมอธิบายพุทธกิจข้อ “อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ = เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา” นี้ว่า เที่ยงคืนทรงสนทนาธรรมกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมือง คือตีความ “เทวดา” เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เนื่องจากตอนกลางวันเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินต้องว่าราชการบ้านเมือง กว่าภารกิจจะเบาบางก็มืดค่ำดึกดื่น เที่ยงคืนไปแล้วจึงพอมีเวลาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า 

เมื่ออธิบายอย่างนี้ ก็เท่ากับปฏิเสธว่าเทวดาจริงไม่มี เหตุผลสำคัญที่คนรุ่นใหม่ปฏิเสธว่าเทวดาไม่มีก็คือ-ไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็เท่ากับบอกว่า สรรพสิ่งในสากลจักรวาลนี้มีมิติเดียวคือมิติทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น

หรืออีกนัยหนึ่งก็เท่ากับประกาศว่า อะไรก็ตามที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นและข้าพเจ้าสัมผัสไม่ได้ สิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง

ขอเชิญท่านผู้มีปัญญาตรึกตรองปัญหานี้โดยแยบคายเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เทวดามีปัญหายังต้องพึ่งปัญญาพระพุทธเจ้า

: แล้วปัญหาของเราทำไมจะต้องพึ่งเทวดา

#บาลีวันละคำ (3,977)

3-5-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *