บาลีวันละคำ

ปจฺจูเสว คเต กาเล (บาลีวันละคำ 3,978)

ปจฺจูเสว คเต กาเล 

ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ

1 ในพุทธกิจ 5 ประการ

…………..

พุทธกิจ 5 ประการปรากฏตามคำบาลีแต่งเป็นคาถาดังนี้ –

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ

ปจฺจูเสว คเต กาเล 

ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ.

เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต

เวลาเย็น แสดงพระธรรมเทศนา

เวลาย่ำค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ

เวลาเที่ยงคืน พยากรณ์ปัญหาแก่เทวดา

เวลาใกล้รุ่ง ตรวจดูหมู่สัตว์ที่สมควรจะโปรด

หมายเหตุ: คำบาลีนี้ยังไม่พบที่มาว่าอยู่ในคัมภีร์อะไร หรือท่านผู้ใดเป็นผู้รจนาขึ้น ข้อความมีเพียงแค่นี้หรือมีมากกว่านี้ ท่านผู้ใดทราบ ขอความกรุณาให้ข้อมูลด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ” เขียนแบบคำอ่านว่า “ปัจจูเสวะ คะเต กาเล ภัพพาภัพเพ วิโลกะนัง” คำบาลีที่ควรศึกษาคือ “ปจฺจูเสว” “คเต กาเล” “ภพฺพาภพฺเพ” และ “วิโลกน

(๑) “ปจฺจูเสว

อ่านว่า ปัด-จู-เส-วะ ประกอบด้วยคำว่า ปจฺจูเส +  

(ก) “ปจฺจูเส” รูปคำเดิมเป็น “ปจฺจูส” อ่านว่า ปัด-จู-สะ รากศัพท์มาจาก ปติ ( < ปฏิ คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) อุสฺ (ธาตุ = เจ็บปวด) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ (ป)-ติ เป็น แล้วแปลง ตฺย เป็น จฺจ (ปติ > ปตฺย > ปจฺจ), ทีฆะ อุ ที่ อุ-(สฺ) เป็น อู (อุสฺ > อูส)

: ปติ > ปตฺย > ปจฺจ + อุสฺ = ปจฺจุส + = ปจฺจุส > ปจฺจูส แปลตามศัพท์ว่า “กาลที่ยังความมืดให้เจ็บปวด คือให้พินาศไป” หมายถึง เวลาจวนเช้าตรู่, เวลาเช้า, รุ่งอรุณ (the time towards dawn, morning, dawn)

ปจฺจูส” ในภาษาไทยใช้เป็น “ปัจจุส-” (เมื่อมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “ปัจจูสะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัจจุส-, ปัจจูสะ : (คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำนาม) เช้ามืด, ใกล้รุ่ง. (ป.).”

ปจฺจูส” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “ปจฺจูเส” แปลว่า “ในเวลาใกล้รุ่ง” 

(ข) “” อ่านว่า วะ (ไม่ใช่ วอ) เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” อยู่ในกลุ่มนิบาตบอกปฏิเสธ แปลว่า “เทียว” (only) คือปฏิเสธสิ่งอื่น หมายถึงเฉพาะสิ่งนี้เท่านั้น

ปจฺจูเส + = ปจฺจูเสว (ปัด-จู-เส-วะ) แปลว่า “ในเวลาใกล้รุ่งนั่นเทียว” 

(๒) “คเต กาเล” 

อ่านว่า คะ-เต กา-เล เป็นคำบาลี 2 คำ คือ “คเต” และ “กาเล

(1) “คเต” รูปคำเดิมเป็น “คต” อ่านว่า คะ-ตะ รากศัพท์มาจาก คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ

: คมฺ + = คมต > คต แปลตามศัพท์ว่า “ไปแล้ว” “ถึงแล้ว” 

คต” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “คเต” 

(2) “กาเล” รูปคำเดิมเป็น “กาล” อ่านว่า กา-ละ รากศัพท์มาจาก กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กล > กาล)

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน

กาล” ที่หมายถึง “เวลา” (time) ในภาษาบาลียังใช้ในความหมายที่ชี้ชัดอีกด้วย คือ :

(ก) เวลาที่กำหนดไว้, เวลานัดหมาย, เวลาตายตัว (appointed time, date, fixed time)

(ข) เวลาที่เหมาะสม, เวลาที่สมควร, เวลาที่ดี, โอกาส (suitable time, proper time, good time, opportunity)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาล ๑, กาล– : (คำนาม) เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).” 

กาล” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) ปุงลิงค์ เอกวจนะ เปลี่ยนรูปเป็น “กาเล” แปลว่า “ในเวลา” 

คเต กาเล” แปลว่า “ในเวลาที่ถึงแล้ว” รวมกับ “ปจฺจูเสว” ซึ่งเป็นคำขยายอยู่ข้างหน้า เป็น “ปจฺจูเสว คเต กาเล” แปลว่า “ในเวลาใกล้รุ่งที่ถึงแล้ว

(๓) “ภพฺพาภพฺเพ

รูปคำเดิมเป็น “ภพฺพาภพฺพ” แยกศัพท์เป็น ภพฺพ + อภพฺพ

(ก) “ภพฺพ” อ่านว่า พับ-พะ คัมภีร์ธาตุปฺปทีปิกา หรือพจนานุกรมบาลี-ไทย ของหลวงเทพดรุณานุศิษฏ์ (ทวี ธรมธัช ป.9) บอกว่า “ภพฺพ” มาจาก ภพฺพ ธาตุ (เบียดเบียน)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า “ภพฺพ” รากศัพท์มาจาก ภู ธาตุ (มี, เป็น)

ถ้ามาจาก ภู ธาตุ กระบวนการกลายรูปคือ แผลง อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว, แปลง เป็น , ซ้อน พฺ 

: ภู > โภ > ภว > ภพ > ภพฺพ

ภพฺพ” เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า –

(1) สามารถ, เหมาะสำหรับ, สมควร (able, capable, fit for)

(2) เป็นไปได้ (possible)

(ข) “อภพฺพ” อ่านว่า อะ-พับ-พะ รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + ภพฺพ, แปลง เป็น  

: + ภพฺพ = นภพฺพ > อภพฺพ (อะ-พับ-พะ) 

อภพฺพ” เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า –

(1) ไม่สามารถ, ไม่เหมาะ (unfit, incapable)

(2) เป็นไปไม่ได้ (impossible)

ขยายความว่า “ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้อย่างแน่นอน” ตัวอย่างเช่น: 

– ดวงอาทิตย์เป็นอภัพพะที่จะขึ้นทางทิศตะวันตก

– คนที่ฆ่าพ่อฆ่าแม่เป็นอภัพพะที่จะได้บรรลุธรรม

อภพฺพ” เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย ยืดเสียง “” เป็น “อา” และไม่ออกเสียงพยางค์ท้าย จึงได้รูปเป็น “อาภัพ” (อา-พับ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อาภัพ : (คำวิเศษณ์)  ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย, ตกอับ. (ป. อภพฺพ ว่า ไม่สมควร).” 

ภพฺพ + อภพฺพ = ภพฺพาภพฺพ (พับ-พา-พับ-พะ) แปลว่า “ผู้สมควรและผู้ไม่สมควร (ที่จะรู้ธรรมหรือบรรลุธรรม)” 

ภพฺพาภพฺพ” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) พหุวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “ภพฺพาภพฺเพ” แปลว่า “ซึ่ง (สัตว์ทั้งหลาย) ผู้สมควรและผู้ไม่สมควร (ที่จะรู้ธรรมหรือบรรลุธรรม)

หมายเหตุ: ตามหลักการแปล “ภพฺพาภพฺเพ” อยู่ในฐานะเป็นคำขยาย คือ “วิเสสนะ” ของคำนามอีกคำหนึ่ง คำที่เป็นกลางๆ คือ “สตฺเต” ถ้าประกอบศัพท์เต็มรูปก็จะเป็น “ภพฺพาภพฺเพ สตฺเต” แปลว่า “ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้สมควรและผู้ไม่สมควร (ที่จะรู้ธรรมหรือบรรลุธรรม)” 

สตฺเต” ที่เติมเข้ามาเช่นนี้ ภาษาการแปลของนักเรียนบาลีบ้านเราเรียกว่า ศัพท์ที่ “โยค” เข้ามา เรียกสั้นๆ ว่า “โยค” เป็นอันรู้กัน อย่างในที่นี้ก็พูดว่า “โยค สตฺเต

(๔) “วิโลกน

อ่านว่า วิ-โล-กะ-นะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + โลกฺ (ธาตุ = ดู, มอง) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วิ + โลกฺ + ยุ > อน = วิโลกฺน แปลตามศัพท์ว่า “การดูอย่างแจ่มแจ้ง” หมายถึง การมองดู, การคำนึง, การเลือกหาหรือสอบดู, การทำนาย (looking, reflection, investigation, prognostication)

ขยายความ :

คำบาลีที่ยกขึ้นข้างต้นเป็น “ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ” คำว่า “วิโลกนํ” ก็คือ “วิโลกน” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง (ทุติยาวิภัตติ) นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “วิโลกนํ” แปลว่า “ซึ่งการดูอย่างแจ่มแจ้ง” 

วิโลกนํ” แจกด้วยวิภัตตินามที่สอง และแปลว่า “ซึ่งการดูอย่างแจ่มแจ้ง” บอกให้รู้ว่า คำบาลีในที่นี้จะต้องมีคำกริยาแสดงการกระทำ “ซึ่งการดูอย่างแจ่มแจ้ง” กล่าวคือ โดยหลักวากยสัมพันธ์ “วิโลกนํ” ทำหน้าที่เป็น “กรรม” ในประโยคเพราะแจกด้วยทุติยาวิภัตติ ดังนั้น จึงต้องมีคำกริยามารับ เพราะ “กรรม” จะอยู่ลอยๆ โดยไม่มีกริยามิได้

เมื่อเติมคำกริยามาให้ครบ รูปประโยคอาจเป็นดังนี้: “ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ พุทฺธกิจฺจํ กโรติ

แปลตามศัพท์ (แปลโดยพยัญชนะ) ว่า อันว่าพระพุทธเจ้า ย่อมทรงกระทำ ซึ่งพุทธกิจ คือการตรวจดูสัตว์ทั้งหลายผู้สมควรและผู้ไม่สมควร ที่จะรู้ธรรมหรือบรรลุธรรม ในเวลาใกล้รุ่ง อันถึงแล้ว

…………..

สรุป :

“พุทธกิจ” คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้าตามที่ผู้รู้ท่านประมวลไว้มี 5 ประการ พระพุทธเจ้าต้องทรงปฏิบัติทุกวันตั้งแต่รุ่งเช้าของวันหนึ่งจนถึงรุ่งสางของอีกวันหนึ่ง

พุทธกิจประการที่ 5 ของวัน คำบาลีว่า “ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ” แปลความว่า “เวลาใกล้รุ่งตรวจดูหมู่สัตว์ที่สมควรจะโปรด” รายละเอียดของศัพท์มีดังที่แสดงมา

…………..

อภิปรายแถม :

เมื่อพิจารณาการบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันแล้ว จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าแทบจะไม่ได้ทรงมีเวลาพักผ่อนหรือเวลาเป็นส่วนพระองค์เลย ทรงบำเพ็ญพุทธกิจตั้งแต่เช้าวันหนึ่งจนถึงเช้าของอีกวันหนึ่ง เป็นเช่นนี้ตลอดเวลา 45 พรรษาหลังจากตรัสรู้

อายุขัยของมนุษย์ยุคนี้คือ 100 ปี แต่พระพุทธเจ้าของเราทรงดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 น้อยกว่าอายุขัยถึง 20 ปี น่าจะเป็นเพราะทรงกรากกรำพระวรกายเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตวโลกอย่างยิ่งยวดเช่นนี้เอง ใช่หรือไม่?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ร้อยปีก็น้อยเกินไปที่จะทำความดี

: หนึ่งนาทีก็มากเกินไปที่จะทำความชั่ว

#บาลีวันละคำ (3,978)

4-5-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *