บาลีวันละคำ

นักเลง (บาลีวันละคำ 3,980)

นักเลง

บาลีว่าอย่างไร

คำว่า “นักเลง” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

นักเลง : (คำนาม) ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน; ผู้เกะกะระราน เช่น เขาเป็นนักเลงมีลูกน้องมาก, นักเลงโต ก็ว่า. (คำวิเศษณ์) มีใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย เช่น ใจนักเลง.”

ในบาลี เมื่อพูดว่า “นักเลง” นักเรียนบาลีย่อมจะนึกถึงศัพท์ว่า “ธุตฺต

ธุตฺต” อ่านว่า ทุด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ธุพฺพิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (ธุพฺพิ + ตฺ + ), ลบสระที่สุดธาตุและลบ พฺพ (ธุพฺพิ > ธุพฺพ > ธุ), 

: ธุพฺพิ + ตฺ + = ธุพฺพิตฺต > ธุพฺพตฺต > ธุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียน” 

(2) ธุ (ธาตุ = หวั่นไหว) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (ทุ + ตฺ +

: ธุ + ตฺ + = ธุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้หวั่นไหว” (คือมีความกลัวกังวลตลอดเวลา) 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “ธุตฺต” (ปุงลิงค์) ว่า นักเลง, นักพนัน, นักลวง 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธุตฺต” ไว้ดังนี้ –

(1) เป็นคุณศัพท์: of abandoned life, wild, fast, cunning, crafty, fraudulent; wicked, bad. (มีชีวิตที่ไม่กลัวครหานินทา, คะนอง, เที่ยวจัด, ทะลึ่ง, ฉลาดแกมโกง, มีเล่ห์เหลี่ยม, ฉ้อฉล, ชั่วช้า, สามานย์) 

(2) เป็นคำนาม: a rogue, cheat, evil-minded person, scoundrel, rascal. (คนหยาบคาย, คนคดโกง, คนใจชั่ว, นักเลง, คนเลว) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ธุตตะ” ไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ – 

ธุตตะ : (คำแบบ) (คำนาม) นักเลง. (ป. ธุตฺต; ส. ธูรฺต).”

บาลี “ธุตฺต” พจนานุกรมฯ บอกว่าสันสกฤตเป็น “ธูรฺต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “ธูรฺตฺต” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ธูรฺตฺต : (คำวิเศษณ์) โกง, ทุจริต, ให้โทษ; fraudulent, dishonest, injurious; – (คำนาม) ทุรชน; นักเลงการพนัน; สนิมเหล็ก, ผงตะใบเหล็ก; เกลือสีดำ; a rogue; a gamester or gambler; iron-rust, iron-filings; black salt.”

ขยายความ :

ธุตฺต” หรือ “นักเลง” ที่ขึ้นชื่อบ่อยๆ ในคัมภีร์มี 3 จำพวก ดังที่แสดงไว้ใน “ปราภวสูตร” ดังนี้ –

…………..

อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต

อกฺขธุตฺโต จ โย นโร

ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ

ตํ ปราภวโต มุขํ  ฯ

คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา

และเป็นนักเลงการพนัน

ผลาญทรัพย์ที่ตนหามาได้

ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม

ที่มา: ปราภวสูตร สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 304

…………..

ธุตฺต” 3 จำพวก –

(1) อิตฺถีธุตฺโต นักเลงหญิง

(2) สุราธุตฺโต นักเลงสุรา

(3) อกฺขธุตฺโต นักเลงพนัน

คัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาคัมภีร์สุตตนิบาต ตอนอธิบายปราภวสูตรไขความไว้ดังนี้ –

…………..

อิตฺถิธุตฺโตติ  อิตฺถีสุ  สารตฺโต  ยํ  กิญฺจิ  อตฺถิ  ตํ  สพฺพมฺปิ  ทตฺวา  อปราปรํ  อิตฺถึ  สงฺคณฺหาติ  ฯ

ผู้ติดเนื้อพึงใจหญิงทั้งหลาย ทรัพย์สิ่งไรที่มีอยู่ก็ปรนเปรอหญิงคนแล้วคนเล่าจนหมดสิ้น ชื่อว่า “อิตฺถีธุตฺโต” นักเลงหญิง

ตถา  สพฺพมฺปิ  อตฺตโน  สนฺตกํ  นิกฺขิปิตฺวา  สุราปานปฺปยุตฺโต  สุราธุตฺโต  ฯ  

อนึ่ง ผู้ทิ้งทรัพย์สิ่งของทุกอย่างที่ตนมีอยู่ (ลงไปในน้ำเมา) หมกมุ่นอยู่แต่การกินดื่ม ชื่อว่า “สุราธุตฺโต” นักเลงสุรา

นิวตฺถสาฏกมฺปิ  นิกฺขิปิตฺวา  ชูตกีฬนมนุยุตฺโต  อกฺขธุตฺโตติ  ฯ

ผู้เปลื้องปลิดสมบัติของตนแม้กระทั่งผ้าที่นุ่งลงไปในการเล่นพนัน ชื่อว่า “อกฺขธุตฺโต” นักเลงพนัน

เอเตหิ  ตีหิ  ฐาเนหิ  ยํ  กิญฺจิปิ  ลทฺธํ  โหติ  ตสฺส  วินาสนโต  

ลทฺธํ  ลทฺธํ  วินาเสตีติ  เวทิตพฺโพ  ฯ

คนที่ตกอยู่ในฐานะทั้ง 3 นั้น พึงทราบเถิดว่า หาทรัพย์ได้มาเท่าไรก็ย่อมผลาญหมด เพราะไม่ว่าทรัพย์สิ่งไรที่ได้มาถูกผลาญพินาศหมดสิ้น

โย  เอวํวิโธ  โส  ปราภวติเยว  ฯ

คนอย่างนี้ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว

เตนสฺเสตํ  อิมาย  คาถาย  ติวิธํ  ปราภวมุขํ  วุตฺตํ  ฯ

ด้วยเหตุนั้น โดยคาถานี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ฐานะ 3 อย่างนั้นเป็น ปราภวมุข ทางแห่งความเสื่อมของผู้นั้น

ที่มา: ปรมัตถโชติกา สุตตนิปาตวัณณนา ภาค 1 หน้า 234

…………..

ดูก่อนภราดา!

ท่านเป็นนักเลงสมัยไหน?

: นักเลงเก่า จนแค่ไหนก็ไม่ขายชาติ

: นักเลงใหม่ รวยทายาด แต่ขายทุกอย่างแม้แต่วิญญาณของตัวเอง

#บาลีวันละคำ (3,980)

6-5-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *