บาลีวันละคำ

นิพฺพานปจฺจโย โหตุ – อีกที (บาลีวันละคำ 3,987)

และอาจจะอีกหลายที-ถ้ายังไม่เลิกเขียนผิด

อ่านว่า นิบ-พา-นะ-ปัด-จะ-โย โห-ตุ

เขียนแบบคำอ่านเป็น “นิพพานะปัจจะโย โหตุ” 

นิพฺพานปจฺจโย โหตุ” เป็นข้อความที่เป็นประโยคบาลีสมบูรณ์ คำบาลีที่เห็นมี 2 คำ คือ “นิพฺพานปจฺจโย” คำหนึ่ง “โหตุ” คำหนึ่ง

(๑) “นิพฺพานปจฺจโย

เขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน ไม่ใช่แยกหรือเว้นวรรคเป็น “นิพฺพาน  ปจฺจโย” (นิพพานะ  ปัจจะโย) คือ “นิพฺพาน” คำหนึ่ง “ปจฺจโย” อีกคำหนึ่ง แบบนี้ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ผิด

นิพฺพาน  ปจฺจโย” (นิพพานะ  ปัจจะโย) เป็นคำเขียนผิด

นิพฺพาน  ปจฺจโย” (นิพพานะ  ปัจจะโย) เป็นคำเขียนผิด

นิพฺพาน  ปจฺจโย” (นิพพานะ  ปัจจะโย) เป็นคำเขียนผิด

คำที่ถูกต้องคือ “นิพฺพาน” กับ “ปจฺจโย” เขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน คือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน = “นิพฺพานปจฺจโย

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

คำเขียนถูกคือ “นิพฺพานปจฺจโย” (นิพพานะปัจจะโย) 

(ก) “นิพฺพาน” บาลีอ่านว่า นิบ-พา-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) นิ (คำอุปสรรค = ไม่มี, ออก) + วาน (ตัณหา, เครื่องร้อยรัด), แปลง เป็น , ซ้อน พฺ ระหว่างอุปสรรคและบทหลัง 

: นิ + วาน = นิวาน > นิพาน : นิ + พฺ + พาน = นิพฺพาน แปลตามศัพท์ว่า “สภาวธรรมที่ออกพ้นจากตัณหาที่เรียกว่า วานะ

(2) นิ (คำอุปสรรค = ไม่มี, ออก) + วา (ธาตุ = ดับ, สงบ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ซ้อน วฺ ระหว่างอุปสรรคและธาตุ (นิ + + วา), แปลง วฺว (คือ ที่ซ้อนเข้ามาและ ที่เป็นธาตุ) เป็น พฺพ 

: นิ + + วา = นิววา + ยุ > อน = นิววาน > นิพฺพาน แปลตามศัพท์ว่า “สภาวธรรมเป็นเหตุดับไปแห่งไฟราคะเป็นต้น

(3) (คำนิบาต = ไม่, ไม่มี) + วาน (ตัณหา, เครื่องร้อยรัด), แปลง อะ ที่ เป็น อิ ( > นิ), แปลง ที่ วาน เป็น , ซ้อน พฺ ระหว่างนิบาตและบทหลัง

: + วาน = นวาน > นิวาน > นิพาน : นิ + พฺ + พาน = นิพฺพาน แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะธรรมเป็นที่ไม่มีตัณหา หรือสภาวธรรมที่เมื่อบุคคลได้บรรลุแล้วย่อมไม่มีตัณหา

นิพฺพาน” (นปุงสกลิงค์) มีความหมายดังนี้ – 

(1) การดับของตะเกียงหรือไฟ (the going out of a lamp or fire) 

(2) อนามัย, ความรู้สึกว่าร่างกายมีความผาสุกสวัสดี (health, the sense of bodily well-being) 

(3) การดับไฟทางใจ 3 กอง คือ ราค, โทส และ โมห (The dying out in the heart of the threefold fire of rāga, dosa & moha: ความกำหนัด, ความโกรธ และความหลง lust, ill-will & stupidity) 

(4) ความรู้สึกมีสุขภาพในด้านดี, ความมั่นคง, ความถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ, ชัยชนะและความสงบ, ความพ้นจากอบายมุข, ความสุขสำราญ (the sense of spiritual well-being, of security, emancipation, victory and peace, salvation, bliss)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า – 

นิพพาน : การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

นิพพาน : (คำนาม) ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. (คำกริยา) ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).”

อนึ่ง พึงทำความความเข้าใจ “นิพฺพาน” ให้ถูกต้อง –

1- นิพพานไม่ใช่สถานที่ ซึ่งมีอยู่แล้ว ณ เวลานี้ แล้วก็พยายามจะไปกันให้ถึง แต่นิพพานเป็นสภาวะหรือคุณภาพของจิตใจ

2- นิพพานเป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นกับความเชื่อหรือความเข้าใจของใคร ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร นิพพานก็เป็นจริงอย่างที่นิพพานเป็น

3- นิพพานเข้าใจได้ด้วยการสัมผัสของจริง ไม่ใช่ด้วยการอ่านหรือฟังคำบรรยาย เหมือนรสอาหาร ต่อให้พรรณนาหยดย้อยก็รู้ไม่ได้ แต่เมื่อได้ลิ้มรส แม้ไม่ต้องพรรณนาก็รู้ได้เอง

4- ผู้บรรลุนิพพานไม่ต้องออกไปอยู่นอกสังคมหรือนอกโลก พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งคือผู้บรรลุนิพพานแล้วท่านก็ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ

(ข) “ปจฺจโย” อ่านว่า ปัด-จะ-โย รูปคำเดิมเป็น “ปจฺจย” อ่านว่า ปัด-จะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ปฏิ หรือ ปติ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง ปฏิ เป็น ปจฺจ หรืออีกนัยหนึ่ง แปลง อิ ที่ ปติ เป็น , แปลง ตย (คือ ปตย) เป็น ปจฺจ, แปลง อิ ธาตุเป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ปฏิ > ปจฺจ (ปติ > ปตย > ปจฺจ) + อิ > เอ > อย : ปจฺจ + อย + = ปจฺจย แปลตามศัพท์ว่า “เหตุเป็นแดนอาศัยเป็นไปแห่งผล” “เหตุเป็นเครื่องเป็นไปแห่งผล” 

ปจฺจย” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) สิ่งสนับสนุน, ของที่จำเป็น, ปัจจัย, วิถีทาง, เครื่องค้ำจุน (requisite, means, stay)

(2) เหตุผล, เหตุ, รากฐาน, สาเหตุ, วิธี, เงื่อนไข (reason, cause, ground, motive, means, condition) 

(3) เหตุผลสำหรับ, ความเชื่อ, ความมั่นใจ, การเชื่อถือหรืออาศัย (ground for, belief, confidence, trust, reliance) 

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปคือ ปัจจัย, เหตุ, สาเหตุ, ที่พึ่ง, ความช่วยเหลือ ฯลฯ

นิพฺพาน + ปจฺจย = นิพฺพานปจฺจย (นิบ-พา-นะ-ปัด-จะ-ยะ) แปลว่า “ปัจจัยแห่งพระนิพพาน” หรือ “ปัจจัยแก่พระนิพพาน

โปรดสังเกตว่า “นิพฺพาน” กับ“ปจฺจย” ซึ่งแต่เดิมเป็นคนละคำกัน บัดนี้ได้สมาสเป็นคำเดียวกันแล้ว จึงต้องเขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน คือเขียนเป็น “นิพฺพานปจฺจย” 

นิพฺพานปจฺจย” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “นิพฺพานปจฺจโย

(๒) “โหตุ

เป็นคำกริยา (ปฐมบุรุษ [ = ผู้ที่ถูกพูดถึง], เอกพจน์) มาจาก หุ (ธาตุ = มี, เป็น) + ตุ วิภัตติอาขยาต แผลง อุ ที่ หุ เป็น โอ (หุ > โห)

: หุ > โห + ตุ = โหตุ แปลว่า “จงเป็น” 

ประกอบคำเข้าเป็นประโยค :

นิพฺพานปจฺจโย” คำหนึ่ง กับคำกริยา “โหตุ” อีกคำหนึ่ง รวมกันเป็นรูปประโยค —

นิพฺพานปจฺจโย  โหตุ” เขียนแบบบาลี

นิพพานะปัจจะโย  โหตุ” เขียนแบบคำอ่าน

โปรดสังเกตว่า “โหตุ” เขียนแยกเป็นอีกคำหนึ่ง เป็นคนละคำกัน 

ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยเห็นการเขียนที่เจ็บปวดที่สุดคือ “นิพพานะ  ปัจจะโยโหตุ

นิพพานะ” กับ “ปัจจะโย” จะต้องเขียนติดกัน ก็ไปเขียนแยกกันเสีย

–ปัจจะโย” กับ “โหตุ” จะต้องเขียนแยกกัน ก็ไปเขียนติดกันเสีย

แปลยกศัพท์โดยพยัญชนะ :

(อิทํ เม กตปุญฺญํ อันว่าบุญที่ข้าพเจ้าทำแล้วนี้)

นิพฺพานปจฺจโย เป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน

โหตุ จงเป็น

แปลโดยอรรถ :

บุญที่ข้าพเจ้าทำแล้วนี้จงเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน

หมายความว่า ขอความดีหรือบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้จงเป็นเหตุสนับสนุนให้ข้าพเจ้าได้บรรลุถึงพระนิพพาน

…………..

นิพฺพานปจฺจโย  โหตุ” เป็นประโยคภาษาบาลีที่ติดปากคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นเก่า เมื่อทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งและกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญเสร็จแล้ว ก็จะกล่าวข้อความนี้เป็นการอธิษฐาน หรือตั้งความปรารถนา 

ข้อความเต็มๆ ที่เคยได้ยินกล่าวกัน มีว่า –

นิพฺพานปจฺจโย  โหตุ  เม  อนาคเต  กาเล” 

แปลความว่า ขอความดีที่ได้บำเพ็ญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าบรรลุพระนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ 

เป็นการตั้งความปรารถนาที่สูงส่ง ตรงเป้าหมายของพระพุทธศาสนา และถือว่าเป็นอุดมคติของชาวพุทธที่ทำความดีเพื่อผลสูงสุดนี้ ผลอื่นๆ เป็นเรื่องรองลงมา

โปรดสังเกตว่า แม้จะปรารถนาสิ่งสูงสุด แต่ก็มิใช่ในชาติปัจจุบัน หากแต่ “ในอนาคตกาลโน้นเทอญ” เป็นการตั้งความปรารถนาแบบเจียมตัวและรู้ประมาณศักยภาพของตัวเอง แต่กระนั้นก็ไม่ละทิ้งความพยายาม ด้วยตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน

สำหรับผู้ที่เชื่อว่าตนสามารถบรรลุพระนิพพานได้ในชาตินี้ คือบรรลุก่อนจะตายในชาตินี้ หรือเข้าใจว่านิพพานบรรลุได้ทุกขณะที่จิตว่างจากกิเลส คำตั้งความปรารถนานี้ คำว่า “อนาคเต  กาเล” ก็ไม่ได้ขัดแย้งหรือขัดข้องแต่ประการใด เพราะขณะจิตต่อจากที่กำลังตั้งความปรารถนา ก็ยังเป็น “อนาคต” อยู่นั่นเอง 

คำร้องขอ :

ทุกครั้งที่พูดหรือเขียนคำบาลี ให้ถามตัวเองไปพร้อมๆ กันว่า คำที่เราพูดหรือเขียนลงไปนี้ถูกต้องแน่แล้วหรือ 

โดยเฉพาะการเขียนเพื่อเผยแพร่เป็นสาธารณะ ซึ่งจะมีคนเห็นได้ทั่วไปและปรากฏอยู่ได้นาน โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า การสะกดคำและการแบ่งวรรคถูกต้องแน่แล้ว

ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจ โปรดตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือสอบถามบุคคลที่เชื่อถือได้

เคยได้ฟังคำอุทธรณ์จากคนเขียนคำบาลีผิดว่า ไม่รู้จะไปถามใคร

นี่เป็นความเจ็บปวดอีกเรื่องหนึ่ง

เราสนับสนุนการเรียนบาลีกันคึกคัก ประกาศผลสำเร็จของการเรียนบาลีกันครึกโครม

แต่พอมีปัญหาเรื่องบาลี ไม่รู้จะไปถามใคร

เหมือนสนับสนุนให้คนเรียนหมอ จบหมอออกมาเดินกันเกลื่อน

แต่พอมีคนป่วย ไม่รู้จะไปหาหมอที่ไหน

…………..

มีปัญหาเรื่องบาลี

นึกถึงใครไม่ออก

บอกผู้เขียนบาลีวันละคำ

แถม :

ทุกครั้งที่เขียนหรือสวดหรือพูดหรือนึกถึงคำนี้ ให้ตั้งสติกำหนดว่า “นิพฺพาน กับ ปจฺจโย ติดกัน” = “นิพฺพานปจฺจโย” ไม่ใช่ “นิพฺพาน   ปจฺจโย” (นิพพานะ   ปัจจะโย)

นิพฺพานปจฺจโย” แปลว่า “เป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน

ถ้าตั้งสติกำหนดรู้คำบาลีคำเดียวเท่านี้แล้วเขียนให้ถูก ยังทำไม่ได้ ก็คงยากที่จะขอให้เป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน

ถ้าไม่คิดจะเรียน และไม่พยายามที่จะเขียนให้ถูก วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ อย่าเขียน 

ถ้าอยากเขียนเต็มแก่ ก็เขียนไว้อ่านเองคนเดียว อย่าเผยแพร่ให้ใครเห็น 

เพราะการเขียนคำผิดออกเผยแพร่เป็นการสร้างความสกปรกขึ้นในภาษา และสร้างนิสัย-ทำผิดก็ไม่เห็นว่าเสียหาย-ให้เกิดขึ้นในตัว

ตอนแรกก็คิดอย่างนี้กับเรื่องภาษา แต่ถ้าคิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ต่อไปจะลามไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย คือ ทำอะไรผิดก็จะไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเสียหาย 

ต่อไปก็จะถึงขั้น-แม้ทำชั่วก็ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเสียหาย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เขียนคำบาลีผิดก็บรรลุพระนิพพานได้

: แต่บรรลุพระนิพพานได้ด้วย เขียนถูกด้วย ดีกว่า

#บาลีวันละคำ (3,987)

13-5-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *