บาลีวันละคำ

อุทเทสภัต (บาลีวันละคำ 3,991)

อุทเทสภัต

1 ในบิณฑบาตที่เป็นอดิเรกลาภ

…………..

ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา เมื่อแรกที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ มี 4 อย่าง ที่เราเรียกรู้กันว่า “จตุปัจจัย” หรือ “ปัจจัยสี่” คือ:-

(1) อาหาร: ปิณฑิยาโลปโภชนะ = โภชนะที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง คือเที่ยวบิณฑบาต

(2) เครื่องนุ่งห่ม: บังสุกุลจีวร = ผ้านุ่งห่มทำจากผ้าที่เขาทิ้งแล้ว 

(3) ที่อยู่อาศัย: รุกขมูลเสนาสนะ = ที่อยู่อาศัยคือโคนไม้ 

(4) ยารักษาโรค: ปูติมุตตเภสัช = ยารักษาโรคคือน้ำมูตรดอง 

ต่อมา ทรงอนุญาตปัจจัยพิเศษในแต่ละอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิม เรียกว่า “อดิเรกลาภ” กล่าวเฉพาะหมวดอาหารมี 7 อย่าง คือ:-

(1) สังฆภัต = ภัตถวายสงฆ์

(2) อุทเทสภัต = ภัตถวายภิกษุที่สงฆ์คัดเลือกให้

(3) นิมันตนภัต = ภัตในกิจนิมนต์

(4) สลากภัต = ภัตถวายตามสลาก

(5) ปักขิกภัต = ภัตถวายในปักษ์

(6) อุโปสถิกภัต = ภัตถวายในวันอุโบสถ์

(7) ปาฏิปทิกภัต = ภัตถวายในวันปาฏิบท 

ถ้ามีภัตเหล่านี้เกิดขึ้น จะไม่ต้องออกบิณฑบาตก็ได้ 

…………..

อุทเทสภัต” อ่านว่า อุด-เท-สะ-พัด หรือ อุด-เทด-สะ-พัด ก็ได้

ประกอบด้วยคำว่า อุทเทส + ภัต

(๑) “อุทเทส

เขียนแบบบาลีเป็น “อุทฺเทส” อ่านว่า อุด-เท-สะ (โปรดสังเกตว่า มี 2 ตัว จุดใต้ ทฺ ตัวหน้า และสะกดด้วย เสือ) รากศัพท์มาจาก อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, นอก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + (อะ) ปัจจัย (นัยหนึ่งว่า ปัจจัย, ลบ ), ซ้อน ทฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุ + ทฺ + ทิสฺ), แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: อุ + ทฺ + ทิสฺ = อุทฺทิสฺ + (หรือ , ลบ ) = อุทฺทิส > อุทฺเทส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยกขึ้นแสดง” 

อุทฺเทส” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) การชี้ให้เห็น, การยกขึ้นชี้แจง, อุเทศ, การอธิบาย, การชี้บอก, กำหนดการ (pointing out, setting forth, proposition, exposition, indication, programme)

(2) การอธิบาย (explanation)

(3) การกล่าวแสดงหรือเสนอ, การสวด, การสาธยายหรือกล่าวซ้ำ (propounding, recitation, repetition)

บาลี “อุทฺเทส” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “อุเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุเทศ : (คำนาม) การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. (คำวิเศษณ์) ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้นชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).”

ในที่นี้ใช้ตามรูปบาลีเป็น “อุทเทส

(๒) “ภัต” 

บาลีเป็น “ภตฺต” อ่านว่า พัด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ภชฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ปัจจัย, แปลง ชฺ เป็น ตฺ

: ภชฺ + = ภชต > ภตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ของเป็นเครื่องเสพ” 

(2) ภุชฺ (ธาตุ = กลืนกิน, ใช้สอย) + ปัจจัย, แปลง อุ ที่ ภุ-(ชฺ) เป็น (ภุ > ), แปลง ชฺ เป็น ตฺ

: ภุชฺ + = ภุชต > ภชต > ภตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ของที่จะพึงกลืนกิน” 

ข้อความบางแห่งในคัมภีร์ คำว่า “ภตฺต” หมายถึง “ข้าวสุก” โดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไป “ภตฺต” หมายถึง อาหาร (ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นข้าว)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภตฺต” (นปุงสกลิงค์) ว่า food, nourishment, meal, feeding (อาหาร, ของบำรุงเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นมื้อ, การเลี้ยง) 

บาลี “ภตฺต” สันสกฤตเป็น “ภกฺต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

ภกฺต : (คำวิเศษณ์) อันมีความภักดีต่อ; อันเอาใจใส่; อันหุงหรือต้มแล้ว; attached to; attentive to; cooked or boiled; – (คำนาม) อาหาร; ข้าวอันหุงหรือต้มแล้ว; food; cooked or boiled rice.”

บาลี “ภตฺต” ภาษาไทยใช้เป็น “ภัต” และ “ภัตร” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ภัต, ภัต-, ภัตร : (คำนาม) อาหาร, ข้าว. (ป. ภตฺต).”

อุทฺเทส + ภตฺต = อุทฺเทสภตฺต (อุด-เท-สะ-พัด-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภัตเพื่อภิกษุอันสงฆ์ยกขึ้นแสดง” หมายถึง อาหารที่ถวายแก่ภิกษุที่สงฆ์คัดเลือกให้ไปรับ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุทฺเทสภตฺต” ว่า special or specified food (อาหารพิเศษหรืออาหารที่ระบุจำเพาะเจาะจง) 

อุทฺเทสภตฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อุทเทสภัต” (โปรดสังเกต ไม่มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านว่า อุด-เท-สะ-พัด หรือ อุด-เทด-สะ-พัด ก็ได้

คำว่า “อุทเทสภัต” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ขยายความ :

คำว่า “อุทเทสภัต” คำบาลีท่านใช้ว่า “อุทฺเทสภตฺตํ” (อุทเทสะภัตตัง) คำแปลเดิมท่านแปลว่า “ภัตเฉพาะสงฆ์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “อุทเทสภัต” ไว้ว่า –

………………….

อุทเทสภัต: อาหารอุทิศสงฆ์หรือภัตที่ทายกถวายตามที่สงฆ์แสดงให้ หมายถึงของที่เขาถวายสงฆ์แต่ไม่พอแจกทั่วกัน ท่านให้แจกไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่พระสังฆเถระลงมา ของหมดแค่ลำดับไหนกำหนดไว้ เมื่อของมีมาอีกจึงแจกต่อไปตั้งแต่ลำดับที่ค้างอยู่ อย่างนี้เรื่อยไปจนทั่วกัน แล้วจึงเวียนขึ้นต้นใหม่อีก.

………………….

อุทเทสภัตก็คือสังฆภัต คืออาหารที่ทายกตั้งใจถวายสงฆ์นั่นเอง แต่เนื่องจากอาหารมีไม่พอแก่สงฆ์ทั้งหมด จึงขอให้สงฆ์คัดเลือกภิกษุจำนวนหนึ่งเท่าที่จะถวายอาหารได้ครบ โดยปกติสงฆ์จะคัดเลือกภิกษุตามลำดับพรรษาหรือตามลำดับอาวุโส สงฆ์คัดจัดภิกษุเช่นไรมาทายกก็ไม่รังเกียจรังงอนว่ารูปนี้เป็นอย่างนั้น รูปนั้นเป็นอย่างโน้น แต่ถือว่าทุกรูปเป็นตัวแทนจากสงฆ์ ยินดีพอใจถวายเต็มศรัทธา

จากอุทเทสภัตนี้ จึงเกิดธรรมเนียมอย่างหนึ่ง คือวัดต่างๆ จะมอบหมายให้ภิกษุรูปหนึ่งทำหน้าที่จัดลำดับภิกษุในวัดเมื่อมีทายกถวายอุทเทสภัต ภิกษุที่ทำหน้าที่นี้มีชื่อเรียกว่า “ภัตตุทเทสกะ” (พัด-ตุด-เท-สะ-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้แสดงขึ้นซึ่ง (ภิกษุผู้รับ) ภัต” เรียกแบบไทยว่า “ภัตตุทเทศก์” (พัด-ตุด-เทด)

วาดภาพให้เห็นชัดขึ้น:-

…………..

1 ทายกนำอาหารมาถวายสงฆ์ นั่งรอถวายอยู่ในศาลา แต่อาหารไม่พอแก่ภิกษุทั้งวัด

2 ภิกษุที่ได้รับมอบหมายให้จัดลำดับชี้บอก ( = อุทเทส) ภิกษุในวัดว่า รูปนี้ๆๆ นิมนต์ไปรับอาหารของทายก

3 ภิกษุที่ถูกชี้ไปรับถวายอาหาร อาหารที่รับมาเป็นสิทธิ์ของภิกษุที่ไปรับ

4 อาหารเช่นนั้น เรียกว่า “อุทเทสภัต

5 ภิกษุที่ทำหน้าที่ชี้ให้ภิกษุไปรับถวายอาหาร เรียกว่า “พระภัตตุทเทศก์

…………..

กรณีที่ทายกนิมนต์ไปฉันในงานก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน เป็นระบบที่ยุติธรรม ไม่มีภิกษุที่เจ้าอาวาสโปรดก็ได้รับนิมนต์บ่อย ทั้งนี้เพราะจะได้รับนิมนต์หรือไม่ได้รับเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ใช่ตามความพอใจของเจ้าอาวาส

…………..

ดูก่อนภราดา!

: แบ่งกันกิน ได้กินทุกคน

: แย่งกันกิน อดกินทุกคน

#บาลีวันละคำ (3,991)

17-5-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *