บาลีวันละคำ

นภเมทนีดล (บาลีวันละคำ 3,997)

นภเมทนีดล

แผ่นฟ้าจดแผ่นดิน

อ่านว่า นบ-พะ-เม-ทะ-นี-ดน

ประกอบด้วยคำว่า นภ + เมทนี + ดล

(๑) “นภ

บาลีอ่านว่า นะ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ไม่, ไม่ใช่) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีวัตถุอะไรเลย

(2) (จาก นตฺถิ = ไม่มี) + (จาก ภูมิ = แผ่นดิน) + (อะ) ปัจจัย

: + = นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีแผ่นดิน

(3) (ไม่, ไม่ใช่) + ภี (ธาตุ = กลัว) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภี > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่พวกนกไม่กลัว

นภ” หมายถึง หมอก, ไอน้ำ, เมฆ, ทองฟ้า (mist, vapour, clouds, sky)

ในที่นี้ “นภ” หมายถึง ทองฟ้า

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

นภ– : (คำนาม) ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).”

(๒) “เมทนี” 

บาลีอ่านว่า เม-ทะ-นี รากศัพท์มาจาก มิทฺ (ธาตุ = ติดใจ, ชอบใจ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แผลง อิ ที่ มิ-(ทฺ) เป็น เอ (มิทฺ > เมท) + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มิทฺ + ยุ > อน = มิทน > เมทน + อี = เมทนี แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ติดใจแห่งสัตวโลก” 

เมทนี” เป็น “เมทินี” อีกรูปหนึ่ง รากศัพท์มาจาก เมท (น้ำมัน, ไขมัน) + อินี ปัจจัย 

: เมท + อินี = เมทินี แปลตามศัพท์ว่า “แหล่งที่มีน้ำมันตามคำบอก” 

เมทนี” และ “เมทินี” หมายถึง แผ่นดิน (the earth) 

บาลี “เมทนี” และ “เมทินี” สันสกฤตเป็น “เมทินี

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

เมทินี : (คำนาม) พสุธา; the earth.”

ในภาษาไทยใช้ทั้ง “เมทนี” และ “เมทินี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เมทนี, เมทินี : (คำนาม) แผ่นดิน. (ป. เมทนี, เมทินี; ส. เมทินี).” 

(๓) “ดล” 

บาลีเป็น “ตล” อ่านว่า ตะ-ละ รากศัพท์มาจาก ตลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่) + (อะ) ปัจจัย

: ตลฺ + = ตล แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้งสิ่งของ” 

ตล” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) พื้นราบ (flat surface) 

(2) ระดับ, พื้น, ฐาน (level, ground, base) 

(3) ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า (the palm of the hand or the sole of the foot)

บาลี “ตล” สันสกฤตก็เป็น “ตล” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ตล : (คำนาม) ‘ดล,’ สารภูตรูป; ความลึก, ความซึ้ง, ก้นบึ้ง, ตำแหน่งต่ำ; ป่า, อรัณย์; หลุม, บ่อ; การณ์, มูล, เหตุ; ฝ่าเท้า; แผ่น; สนับหนังซึ่งนายขมังธนูสรวมหัสต์เบื้องซ้าย; ด้ามกระบี่; เท้าหรือฐานภาชนะทั่วไป; ประโกษฐ์, ช่วงศอก, อวัยวะตอนตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ; กิษกุ, คืบ; essential nature; depth, bottom, inferiority of position; a wood, a forest; a hole, a pit; cause, origin, motive; sole of the foot; a slap; a leathern fence worn by archers on the left arm; the hilt or handle of a sword; the stand or support of anything; the fore-arm; a span.”

บาลี “ตล” ภาษาไทยใช้เป็น “ดล” อยู่ท้ายคำอ่านว่า ดน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ดล ๑, ดล– : (คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง) (คำนาม) พื้น, ชั้น, เช่น พสุธาดล เมทนีดล. (ป., ส. ตล).”

การประสมคำ :

นภ + เมทนี = นภเมทนี อ่านแบบบาลีว่า นะ-พะ-เม-ทะ-นี อ่านแบบไทยว่า นบ-พะ-เม-ทะ-นี 

นภเมทนี + ตล (ตะ-ละ บาลี ต เต่า) = นภเมทนีตล อ่านว่า นะ-พะ-เม-ทะ-นี-ตะ-ละ แปลว่า “พื้นแห่งฟ้าและแผ่นดิน” 

นภเมทนีตล” ในภาษาไทยใช้เป็น “นภเมทนีดล” (ดล ด เด็ก) อ่านว่า นบ-พะ-เม-ทะ-นี-ดน) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “นภเมทนีดล” แต่มีคำว่า “เมทนีดล” บอกไว้ว่า – 

เมทนีดล : (คำนาม) พื้นแผ่นดิน. (ป.).

นภเมทนีดล” หมายถึง พื้นแผ่นฟ้าและพื้นแผ่นดิน

ขยายความ :

นภเมทนีดล” เป็นชื่อพระมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้กองทัพอากาศจัดสร้างขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลในศุภวารมงคลที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ ตามที่กองทัพอากาศขอพระราชทานว่า “พระมหาธาตุนภเมทนีดล” มีความหมายว่า “พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่ยิ่งใหญ่เพียงฟ้าจดดิน

บนดอยอินทนนท์ยังมีพระมหาธาตุอีกองค์หนึ่งคู่กับพระมหาธาตุนภเมทนีดล มีนามว่า “พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ”

…………..

คำอุทธรณ์ :

ผู้เขียนบาลีวันละคำค้นหาประวัติและภาพพระมหาธาตุนภเมทนีดล พบภาพถ่ายคำจารึกประวัติการสร้าง เข้าใจว่าติดตั้งไว้ที่บริเวณองค์พระมหาธาตุ ภาพนั้นถ่ายคำจารึกไว้เต็มภาพ แต่ตัวหนังสือในภาพเล็กมาก อ่านได้เป็นบางคำ สรุปว่าไม่สามารถอ่านให้รู้เรื่องได้เลย พยายามค้นหาข้อความที่ลอกคัดออกมาจากคำจารึกนั้นก็ไม่พบว่ามีใครจดจารึกบันทึกไว้ที่ไหน คำจารึกนั้นถ้าลอกคัดออกมาทั้งหมดก็จะได้ทราบประวัติการสร้างพระมหาธาตุนภเมทนีดลอย่างสมบูรณ์ ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่สำนวนใครสำนวนมันอย่างที่พบเกลื่อนไปนั่นเลย

การที่ไม่มีใครลอกคัดหรือถ่ายภาพคำจารึกประวัติที่สามารถอ่านได้ชัดเจนเผยแพร่ไว้ในที่ไหนเลย บอกให้รู้ว่า คนสมัยนี้สนใจเรื่องอะไรและไม่สนใจเรื่องอะไร

ผู้เขียนบาลีวันละคำขออุทธรณ์มา ณ ที่นี้ว่า ขอร้องท่านผู้ใดก็ตามที่สามารถจะทำได้ให้ลอกคัดหรือถ่ายภาพคำจารึกประวัติพระมหาธาตุนภเมทนีดลที่สามารถอ่านได้ชัดเจนเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ให้สาธารณชนได้ทราบต่อไปด้วย

หน่วยงานที่สมควรรับภาระโดยตรงคือ กองทัพอากาศ

บุคคลที่สมควรแสดงความมีแก่ใจในเรื่องนี้เป็นกลุ่มแรกคือ ท่านที่สังกัดอยู่ในกองทัพอากาศ

ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งมา ณ ที่นี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อยากสูง จงขึ้นไปให้ถึง

: แต่อย่าดึงของสูงให้ต่ำลง

——————–

(ส่งการบ้านพระคุณท่าน พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท รุจิเวทย์)

#บาลีวันละคำ (3,997)

23-5-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *