บาลีวันละคำ

นภพลภูมิสิริ (บาลีวันละคำ 3,998)

นภพลภูมิสิริ

พลังแห่งแผ่นฟ้า ศรีสง่าแห่งแผ่นดิน

อ่านว่า นบ-พะ-พน-พู-มิ-สิ-หฺริ

ประกอบด้วยคำว่า นภ + พล + ภูมิ + สิริ

(๑) “นภ

บาลีอ่านว่า นะ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ไม่, ไม่ใช่) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีวัตถุอะไรเลย

(2) (จาก นตฺถิ = ไม่มี) + (จาก ภูมิ = แผ่นดิน) + (อะ) ปัจจัย

: + = นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีแผ่นดิน

(3) (ไม่, ไม่ใช่) + ภี (ธาตุ = กลัว) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภี > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่พวกนกไม่กลัว

นภ” หมายถึง หมอก, ไอน้ำ, เมฆ, ทองฟ้า (mist, vapour, clouds, sky)

ในที่นี้ “นภ” หมายถึง ทองฟ้า

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

นภ– : (คำนาม) ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).”

(๒) “พล” 

บาลีอ่านว่า พะ-ละ รากศัพท์มาจาก พลฺ (ธาตุ = มีชีวิต, ระวัง, ครอบงำ) + (อะ) ปัจจัย 

: พล + = พล (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เหตุอันทำให้มีชีวิตอยู่ได้” “ผู้เฝ้าระวัง” “ผู้ครอบงำศัตรู

พล” ใช้ในความหมาย 2 อย่างคือ –

(1) ความแข็งแรง, พลัง, อำนาจ (strength, power, force)

(2) กองทัพ, กองกำลังทหาร (an army, military force)

พล” ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น.

(2) ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก.

(3) สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ.

(4) ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล).

คำที่เขียนว่า “พล” ในภาษาไทย :

– ถ้าใช้ตามลำพังอ่านว่า พน 

– ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายอ่านว่า พน-ละ- ก็มี อ่านว่า พะ-ละ- ก็มี 

แต่ในคำว่า “นภพลภูมิสิริ” นี้ เนื่องจากเป็นชื่อเฉพาะและล้อมาจากชื่อ “นภเมทนีดล” ซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า “-ดล” อ่านว่า -ดน ต้องการเสียงที่รับสัมผัสกัน “พล” ในที่นี้จึงอ่านว่า พน เพื่อให้สัมผัสกับ “ดล

(๓) “ภูมิ

บาลีอ่านว่า พู-มิ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + มิ ปัจจัย

: ภู + มิ = ภูมิ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่มีอยู่เป็นอยู่แห่งสัตว์โลก” มีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ พื้นดิน, ดิน, แผ่นดิน, สถานที่, ถิ่น, แคว้น, แถบ, ภูมิภาค, พื้น, พื้นราบ, ขั้นตอน, ระดับ (ground, soil, earth, place, quarter, district, region, plane, stage, level)

ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “ภูมิ” เหมือนบาลี ถ้าอยู่ท้ายคำอ่านว่า พูม ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า พู-มิ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของคำว่า “ภูมิ” ในภาษาไทยไว้ว่า (1) แผ่นดิน, ที่ดิน (2) พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ (3) สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย

ในที่นี้ “ภูมิ” หมายถึง แผ่นดิน, ที่ดิน

(๔) “สิริ” 

บาลีอ่านว่า สิ-ริ (บาลีมี “สิรี” อีกรูปหนึ่ง) รากศัพท์มากจาก สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา, อาศัย) + ปัจจัย + อิ หรือ อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิ + = สิร + อิ (อี) = สิริ (สิรี) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” หรือ “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แยกความหมายของ “สิริ” ไว้ดังนี้ –

1 ความโอ่อ่าอลังการ, ความสวยงาม (splendour, beauty)

2 โชค, ความรุ่งโรจน์, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง (luck, glory, majesty, prosperity)

3 เทพธิดาแห่งโชคลาภ (the goddess of luck)

4 (เมื่อ + คพฺภ = สิริคพฺภ) ห้องบรรทม (the royal bed-chamber)

สิริ” บาลี ใช้ในภาษาไทยเป็น “สิริ” ตามบาลี ตรงกับสันสกฤตว่า “ศฺรี” ที่เราใช้ในภาษาไทยเป็น “ศรี” (อ่านว่า สี) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) สิริ ๒, สิรี : (คำนาม) ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระสิริโฉม. (ป.; ส. ศฺรี).

(2) ศรี ๑ : (คำนาม) มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).

การประสมคำ :

นภ + พล = นภพล อ่านแบบบาลีว่า นะ-พะ-พะ-ละ อ่านแบบไทยว่า นบ-พะ-พน แปลตามประสงค์ว่า “กำลังแห่งฟ้า

ภูมิ + สิริ = ภูมิสิริ อ่านแบบบาลีว่า พู-มิ-สิ-ริ อ่านแบบไทยว่า พู-มิ-สิ-หฺริ แปลตามประสงค์ว่า “สิริแห่งแผ่นดิน” 

นภพล + ภูมิสิริ = นภพลภูมิสิริ อ่านว่า นบ-พะ-พน-พู-มิ-สิ-หฺริ แปลตามประสงค์ว่า “กำลังแห่งแผ่นฟ้าและสิริแห่งแผ่นดิน

ขยายความ :

นภพลภูมิสิริ” เป็นชื่อพระมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

แผ่นป้ายจารึกติดตั้งไว้ที่ข้างทางขึ้น มีข้อความแสดงประวัติของพระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ตอนหนึ่งว่า –

…………..

                   พระมหาธาตุเจดีย์ นภพลภูมิสิริ

     สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ มาทรงรับพระมหาธาตุเจดีย์ ที่กองทัพอากาศและปวงชนชาวไทยร่วมใจกันสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล และเทิดพระเกียรติ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

         พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ ได้รับพระราชทานนามว่า 

                            “นภพลภูมิสิริ

         มีความหมายว่า เป็นกำลังแห่งฟ้า เป็นสิริแห่งดิน

                          …………   …………

…………..

บนดอยอินทนนท์ยังมีพระมหาธาตุอีกองค์หนึ่งคู่กับพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ มีนามว่า “พระมหาธาตุนภเมทนีดล”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ฟ้าดินร่มเย็นเป็นผล

: ผู้คนประพฤติธรรมเป็นเหตุ

: คนทั้งโลกอยากให้ฟ้าดินร่มเย็น

: แต่คนเกือบทั้งโลกไม่อยากประพฤติธรรม

#บาลีวันละคำ (3,998)

24-5-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *