บาลีวันละคำ

อัตตุกังสันปรวัมภัน (บาลีวันละคำ 4,014)

อัตตุกังสันปรวัมภัน

ยกตนข่มท่าน

อ่านว่า อัด-ตุ-กัง-สัน-ปะ-ระ-วำ-พัน

อัตตุกังสันปรวัมภัน” เขียนแบบบาลีเป็น “อตฺตุกฺกํสนปรวมฺภน” อ่านว่า อัด-ตุก-กัง-สะ-นะ-ปะ-ระ-วำ-พะ-นะ

แยกศัพท์เป็น อตฺตุกฺกํสน + ปรวมฺภน 

(๑) “อตฺตุกฺกํสน

อ่านว่า อัด-ตุก-กัง-สะ-นะ แยกศัพท์เป็น อตฺต + อุกฺกํสน 

(ก) “อตฺต” อ่านว่า อัด-ตะ มาจากรากศัพท์ดังนี้ :

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้) 

(๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ) 

(๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น  

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

(๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul)

อตฺต” หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

ในทางปรัชญา “อตฺต” หรือ “อตฺตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) ในที่นี้ “อตฺต” คงรูปเป็น “อตฺต” 

(ข) “อุกฺกํสน” อ่านว่า อุก-กัง-สะ-นะ รากศัพท์มาจาก อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, นอก) + กสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ซ้อน กฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุ + กฺ + กสฺ) ลงนิคหิตต้นธาตุ (กสฺ > กํส), 

: อุ + กฺ + กสฺ = อุกฺกสฺ + ยุ > อน = อุกฺกสน > อุกฺกํสน แปลตามศัพท์ว่า “การยกขึ้น” หมายถึง การยกยอ, การสรรเสริญ, การสดุดี, การยกย่อง (raising, extolling, exaltation)

หมายเหตุ: กสฺ ธาตุ หมายถึง “ทำลาย” มี อุ– อุปสรรคนำหน้า ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเป็น “ยกขึ้น” ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรคเบียนธาตุ”

อตฺต + อุกฺกํสน = อตฺตุกฺกํสน (อัด-ตุก-กัง-สะ-นะ) แปลว่า “การยกตน” หมายถึง การยกย่องตัวเอง, การสรรเสริญตัวเอง (self-exaltation, self-praise)

(๒) “ปรวมฺภน

อ่านว่า ปะ-ระ-วำ-พะ-นะ แยกศัพท์เป็น ปร + วมฺภน 

(ก) “ปร” บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ หึสา = เบียดเบียน) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” หมายถึง –

(1) อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (another, other) 

(2) ศัตรู, ปรปักษ์ (enemies, opponents)

ในภาษาไทยใช้ว่า “ปร-” เหมือนบาลี (ขีดท้ายคำบ่งว่าใช้นำหน้าคำอื่น ไม่ใช้เดี่ยวๆ) อ่านว่า ปะ-ระ- และ ปอ-ระ-

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปร– : (คำวิเศษณ์) อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).”

(ข) “วมฺภน” รากศัพท์มาจาก วภิ (ธาตุ = ติเตียน, นินทา) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ลงนิคหิตต้นธาตุแล้วแปลงเป็น มฺ (วภิ > วํภิ > วมฺภิ), “ลบสระหน้า” คือ อิ ที่ วภิ (วภิ > วภ : วภิ > วํภิ > วมฺภิ > วมฺภ), 

: วภิ > วํภิ > วมฺภิ > วมฺภ + ยุ > อน = วมฺภน แปลตามศัพท์ว่า “การติเตียน” หมายถึง การดูหมิ่น, การดูถูก (contempt, despite)

ปร + วมฺภน = ปรวมฺภน (ปะ-ระ-วำ-พะ-นะ) แปลว่า “การติเตียนผู้อื่น” “การดูหมิ่นผู้อื่น” หมายถึง เหยียดหยามคนอื่นๆ (contempting others)

อตฺตุกฺกํสน + ปรวมฺภน = อตฺตุกฺกํสนปรวมฺภน (อัด-ตุก-กัง-สะ-นะ-ปะ-ระ-วำ-พะ-นะ) แปลโดยพยัญชนะว่า “อันว่าการยกขึ้นซึ่งตนและการดูหมิ่นซึ่งผู้อื่น”

ขยายความ :

อตฺตุกฺกํสนปรวมฺภน” ตรงกับคำไทยที่เข้าใจกันดีว่า “ยกตนข่มท่าน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ยกตนข่มท่าน : (สํานวน) (คำกริยา) ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.”

อตฺตุกฺกํสนปรวมฺภน” เป็นคำบาลีที่มีเสียงตะกุกตะกัก คนที่ไม่ได้เรียนบาลีจะอ่านออกเสียงให้ราบรื่นได้ยากมาก

ผู้เขียนบาลีวันละคำทดลองปรับให้เป็นคำไทยได้รูปเป็น “อัตตุกังสันปรวัมภัน” อ่านว่า อัด-ตุ-กัง-สัน-ปะ-ระ-วำ-พัน ดูจะค่อยราบรื่นขึ้นมาหน่อย ถ้ากำหนดแยกคำให้ถูก ก็น่าจะช่วยให้อ่านง่ายขึ้น

อัตตุกังสัน” (อัด-ตุ-กัง-สัน) “ยกตน” คำหนึ่ง

ปรวัมภัน” (ปะ-ระ-วำ-พัน) “ข่มท่าน” อีกคำหนึ่ง

อัตตุกังสันปรวัมภัน” (อัด-ตุ-กัง-สัน-ปะ-ระ-วำ-พัน) = ยกตนข่มท่าน

คำนี้ไม่ขอฝากไว้ในวงวรรณ เพราะอ่านยาก คงไม่มีใครเอาไปใช้ เสนอไว้เป็นอลังการทางภาษา บอกให้รู้ว่า คนเรียนบาลีมีสิทธิ์ที่จะประดิษฐ์คำใหม่ๆ ขึ้นไว้เป็นสมบัติในภาษาของตนขึ้นได้เสมอ 

ไม่มีใครพูดตามใช้ตามก็ไม่ขาดทุนอะไร ถือว่าเป็นการออกกำลังทางภาษา เป็นความสุขและเป็นความสนุกอย่างหนึ่งที่ปราศจากพิษภัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใช้ภาษาตามธรรม กำไร

: ใช้ภาษาตามใจ (ระวังจะ) ขาดทุน

#บาลีวันละคำ (4,014)

9-6-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *