บาลีวันละคำ

วุฒบรรพชิต (บาลีวันละคำ 4,015)

วุฒบรรพชิต

“ผู้บวชเมื่อภายแก่”

อ่านว่า วุด-ทะ-บัน-พะ-ชิด

ประกอบด้วยคำว่า วุฒ + บรรพชิต

(๑) “วุฒ” 

บาลีเป็น “วุฑฺฒ” อ่านว่า วุด-ทะ รากศัพท์มาจาก วฑฺฒฺ (ธาตุ = เจริญ) + ปัจจัย, แผลง อะ ที่ -(ฑฺฒ) เป็น อุ, แปลง ฑฺฒ เป็น , แปลง เป็น

: วฑฺฒฺ > วุฑฺฒ > วุฑ + = วุฑต > วุฑฺฒ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เจริญ” หมายถึงผู้มีพัฒนาการไปในทางใดทางหนึ่ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วุฑฺฒ” ว่า old (แก่), venerable (เป็นที่เคารพสักการะ)

บาลี “วุฑฺฒ” ในภาษาไทยตัด ออก ใช้เป็น “วุฒ” ใช้คำเดียวหรืออยู่ท้ายคำ อ่านว่า วุด มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า วุด-ทะ- เป็นคุณศัพท์ หรือที่นักเรียนบาลีเรียกว่า “วิเสสนะ” (วิ-เส-สะ-นะ) ไวยากรณ์ไทยเรียกว่า “คำวิเศษณ์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วุฒ : (คำวิเศษณ์) เจริญแล้ว; สูงอายุ. (ป. วุฑฺฒ; ส. วฺฤทฺธ).”

(๒) “บรรพชิต

บาลีเป็น “ปพฺพชิต” อ่านว่า ปับ-พะ-ชิ-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปพฺพชฺชา (การออกบวช) + อิต ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อา ที่ ปพฺพชฺชา และลบ (ปพฺพชฺชา > ปพฺพชฺช > ปพฺพช)

: ปพฺพชฺชา > ปพฺพชฺช + อิต = ปพฺพชฺชิต > ปพฺพชิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีบรรพชาเกิดขึ้นแล้ว” 

หมายเหตุ : คำว่า “ปพฺพชฺชา”หรือ “บรรพชา” แปลตามศัพท์ว่า “เว้นทั่ว” หมายถึง การออกบรรพชา, การถือเพศเป็นนักพรต, การถือเพศเป็นภิกษุ, การทรงเพศสมณะ, การออกบวช (ฝรั่งแปลว่า leaving the world, adopting the ascetic life; state of being a Buddhist friar, taking the (yellow) robe, ordination) 

(2) (แทนศัพท์ “ปสฏฺฐ” = ประเสริฐ) + วชฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมหน้าปัจจัย, ซ้อน วฺ หน้าธาตุแล้วแปลง วฺว เป็น พฺพ (วช > ววชฺ > พพช)

: + + วชฺ > ปววชฺ> ปพฺพช + อิ + = ปพฺพชิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปสู่ความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด” 

ปพฺพชิต” หมายถึง ผู้ออกบวช, บรรพชิต, ผู้บวชเป็นพระหรือเป็นฤๅษีหรือนักพรต (one who has gone out from home, one who has given up worldly life & undertaken the life of a bhikkhu recluse or ascetic)

ปพฺพชิต” ในบาลีใช้เป็นคำคุณศัพท์และเป็นคำกริยาได้ด้วย

บาลี “ปพฺพชิต” ภาษาไทยใช้เป็น “บรรพชิต” (บัน-พะ-ชิด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรรพชิต : (คำนาม) นักบวชในพระพุทธศาสนา. (ป. ปพฺพชิต; ส. ปฺรวฺรชิต).”

วุฑฺฒ + ปพฺพชิต = วุฑฺฒปพฺพชิต (วุด-ทะ-ปับ-พะ-ชิ-ตะ) แปลโดยพยัญชนะตามสำนวนนักเรียนบาลีว่า “ผู้บวชแล้วในกาลแห่งตนเป็นคนแก่” แปลกระชับเข้ามาอีกนิดว่า “ผู้บวชในภายแก่” 

วุฑฺฒปพฺพชิต” นักเรียนบาลีที่มีอารมณ์สุนทรีย์มักแปลให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางภาษาของคนไทย แฝงนัยแห่งความครึกครื้นว่า “พระหลวงตา” แปลให้ขลังขึ้นมาหน่อยว่า “พระผู้เฒ่า”

วุฑฺฒปพฺพชิต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วุฒบรรพชิต” (วุด-ทะ-บัน-พะ-ชิด) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ขยายความ :

วุฒบรรพชิต” รูปหนึ่งที่มีชื่อปรากฏในพุทธประวัติ ชื่อ “สุภัททวุฒบรรพชิต” (สุ-พัด-ทะ-วุด-ทะ-บัน-พะ-ชิด) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บรรยายความไว้ดังนี้ –

(ขออนุญาตปรับย่อหน้าวรรคตอนเพื่อให้อ่านง่าย)

…………..

สุภัททวุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน ออกบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้งสองเอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก 

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับ และทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงซักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว 

จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ 

ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถุชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า 

“อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่กระทำสิ่งนั้น” 

พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้ว (อรรถกถากล่าวว่า ท่านเกิดธรรมสังเวช) ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย 

ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททวุฒบรรพชิต ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า คำกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยนี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก; 

สุภัททวุฑฒบรรพชิต ก็เขียน (คำบาลีว่า สุภทฺโท วุฑฺฒปพฺพชิโต)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่ควรตำหนิพระที่บวชเมื่อวัยชรา

: ควรตำหนิพระที่ไม่รักษาพระธรรมวินัย

#บาลีวันละคำ (4,015)

10-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *