บาลีวันละคำ

พุทธานุสติ – 1 ในอนุสติ 10 (บาลีวันละคำ 4,035)

พุทธานุสติ – 1 ในอนุสติ 10

ระลึกเนืองๆ ถึงพระพุทธคุณ

อ่านว่า พุด-ทา-นุด-สะ-ติ

ประกอบด้วยคำว่า พุทธ + อนุสติ

(๑) “พุทธ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “พุทฺธ” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า พุด-ทะ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ, แปลง เป็น ธฺ (นัยหนึ่งว่า แปลง ธฺ ที่สุดธาตุกับ เป็น ทฺธ)

: พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺต > พุทฺธ (พุธฺ + = พุธฺต > พุทฺธ

พุทฺธ” แปลตามความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า –

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง

(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย

(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

แต่ “พุทฺธ” ยังแปลตามศัพท์ได้อีกหลายนัย ขอยกมาแสดงในที่นี้เพื่อประกอบการระลึกถึงพระพุทธคุณ ดังนี้ –

(1) สพฺพํ พุทฺธวาติ พุทฺโธ = ผู้ทรงรู้ทุกอย่างที่ควรรู้

(2) ปารมิตาปริภาวิตาย ปญญาย สพฺพมฺปิ เญยฺยํ อพุชฺฌีติ พุทฺโธ = ผู้ทรงรู้เญยธรรมทั้งปวงด้วยพระปัญญาที่ทรงสั่งสมอบรมมาแล้วเต็มเปี่ยม 

(3) พุชฺฌิตา สจุจานีติ พุทฺโธ = ผู้ตรัสรู้สัจธรรม 

(4) โพเธตา ปชายาติ พุทฺโธ = ผู้ทรงยังหมู่สัตว์ให้รู้ตาม 

(5) สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ = ผู้ทรงรู้ธรรมทุกอย่าง

(6) สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ = ผู้ทรงเห็นแจ้งธรรมทุกอย่าง

(7) อภิญฺเญยฺยตาย พุทฺโธ = ผู้ทรงรู้ยิ่ง

(8 ) วิสวิตาย พุทฺโธ = ผู้ทรงทำพระนิพพานให้แจ้ง

(9) ขีณาสวสงฺขาเตน พุทฺโธ = ผู้ทรงสิ้นอาสวกิเลส

(10) นิรุปกฺกิเลสสงฺขาเตน พุทฺโธ = ผู้ทรงปราศจากอุปกิเลส

(11) เอกนฺตวีตราคโทสโมโหติ พุทฺโธ = ผู้ทรงปราศจากราคะ โทสะ โมหะโดยส่วนเดียว

(12) เอกนฺตนิกฺกิเลโสติ พุทฺโธ = ผู้ทรงสิ้นกิเลสแล้วโดยส่วนเดียว

(13) เอโก อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโรติ พุทฺโธ = ผู้ตรัสรูพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว 

(14) อพุทฺธิวหตฺตา พุทฺธิปฏิลาภตฺตา พุทฺโธ = ผู้ทรงกำจัดอวิชชาและทรงได้วิชชา

(15) สวาสนสมฺโมหนิทฺทาย พุชฺฌติ ปพุชฺฌติ ปพุชฺฌนํ กโรตีติ พุทฺโธ = ผู้ทรงตื่น ทรงปลุก ทรงทำให้ตื่นตัวจากความหลับไหลด้วยอำนาจสัมโมหะพร้อมทั้งวาสนา 

(16) พุชฺฌติ วิกสติ พุชฺฌนํ วิกสนํ กโรตีติ พุทฺโธ = ผู้ทรงเบิกบาน แจ่มใส ทรงทำความเบิกบานแจ่มใส 

(17) เทฺว วฏฺฏมูลานิ ขนฺธสนฺตานโต สยเมว อุทฺธรตีติ พุทฺโธ = ผู้ทรงเพิกถอนรากเหง้าแห่งวัฏฏะทั้งสองจากขันธสันดานได้ด้วยพระองค์เอง 

(18) เทว อตฺเถ อุทฺธริตฺวา ธาเรตีติ พุทฺโธ = ผู้ทรงยกประโยชน์สองประการขึ้นไว้ 

(19) พาลสงขาเต ปุถุชฺชเน วฏฺฏทุกฺขโต อุทฺธรติ อุทฺธรณํ กโรตีติ พุทฺโธ = ผู้ทรงยกปุถุชนคนพาลขึ้นจากวัฏทุกข์ 

ความหมายที่เข้าใจกันเป็นสามัญ “พุทธ”  หมายถึง “พระพุทธเจ้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “พุทฺธ” ว่า –

One who has attained enlightenment; a man superior to all other beings, human & divine, by his knowledge of the truth, a Buddha (ผู้ตรัสรู้, ผู้ดีกว่าหรือเหนือกว่าคนอื่นๆ รวมทั้งมนุษย์และเทพยดาด้วยความรู้ในสัจธรรมของพระองค์, พระพุทธเจ้า)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “พุทธ” ไว้ดังนี้ – 

พุทธ, พุทธ-, พุทธะ : (คำนาม) ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. (ป.).”

(๒) “อนุสติ

บาลีเป็น “อนุสฺสติ” (โปรดสังเกต 2 ตัว) อ่านว่า อะ-นุด-สะ-ติ ประกอบด้วย อนุ + สติ

(ก) “อนุ” เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า –

(1) ภายหลัง, ข้างหลัง (after, behind)

(2) ไปยัง, ตรงไปยังเป้าหมาย, ดำเนินต่อไป, ข้ามไปยัง, ข้างหน้า (for, towards an aim, on to, over to, forward)

ความหมายของ “อนุ” ที่เข้าใจกันหมู่นักเรียนบาลี คือ น้อย, ภายหลัง, ตาม, เนืองๆ

(ข) “สติ” รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = คิด, ระลึก; เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (สรฺ > )

: สรฺ + ติ = สรติ > สติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาที่ระลึกได้” (2) “ธรรมชาติเป็นเหตุให้ระลึกได้” (3) “ผู้เบียดเบียนความประมาท” 

สติ” หมายถึง ความระลึกได้, การจำได้, สติ; ความตั้งใจ, การมีใจตื่นอยู่, ความตระหนัก, ความระมัดระวัง, ความเข้าใจ, การครองสติ, มโนธรรม, ความมีสติถึงตนเอง (memory, recognition, consciousness, intentness of mind, wakefulness of mind, mindfulness, alertness, lucidity of mind, self-possession, conscience, self-consciousness)

อนุ + สติ ซ้อน สฺ : อนุ + สฺ + สติ = อนุสฺสติ แปลตามศัพท์ว่า “การระลึกถึงเนืองๆ” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อนุสฺสติ” ว่า remembrance, recollection, thinking of, mindfulness (อนุสติ, ความระลึก, ความทรงจำ, ความคิด, ความตั้งใจ) (โปรดสังเกตคำแปลภาษาอังกฤษระหว่าง “สติ” กับ “อนุสฺสติ” บางคำตรงกัน)

พุทฺธ + อนุสฺสติ = พุทฺธานุสฺสติ (พุด-ทา-นุด-สะ-ติ) แปลตามศัพท์ว่า “การระลึกเนืองๆ ถึงคุณของพระพุทธเจ้า” (recollection of the Buddha; contemplation on the virtues of the Buddha)

พุทฺธานุสฺสติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “พุทธานุสติ” (อนุสฺสติ ในบาลีตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง เป็น อนุสติ)

พุทธานุสติ” เป็น 1 ในอนุสติ 10 คือ –

1. พุทธานุสติ = ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า

2. ธัมมานุสติ = ระลึกถึงคุณพระธรรม

3. สังฆานุสติ = ระลึกถึงคุณพระสงฆ์

4. สีลานุสติ = ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา

5. จาคานุสติ = ระลึกถึงความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน

6. เทวตานุสติ = ระลึกถึงคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดา

7. มรณสติ = ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา

8. กายคตาสติ =  “สติอันไปในกาย” คือมีสติรู้เท่าทันสภาวะกายของตนมิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ = สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

10. อุปสมานุสติ = ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือพระนิพพาน

1. พุทธานุสติ = ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า

2. ธัมมานุสติ = ระลึกถึงคุณพระธรรม

3. สังฆานุสติ = ระลึกถึงคุณพระสงฆ์

4. สีลานุสติ = ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา

5. จาคานุสติ = ระลึกถึงความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน

6. เทวตานุสติ = ระลึกถึงคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดา

7. มรณสติ = ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา

8. กายคตาสติ =  “สติอันไปในกาย” คือมีสติรู้เท่าทันสภาวะกายของตนมิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ = สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

10. อุปสมานุสติ = ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือพระนิพพาน

คำว่า “พุทธานุสติ” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ที่คำว่า “พุทธานุสติ” บอกไว้ดังนี้ –

…………..

พุทธานุสติ : ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น พุทธานุสสติ (ข้อ ๑ ในอนุสติ ๑๐).

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [335] อนุสติ 10 แสดงความหมายของ “พุทธานุสติ” ไว้ดังนี้ –

…………..

1. พุทธานุสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์ — Buddhānussati: recollection of the Buddha; contemplation on the virtues of the Buddha)

…………..

ขยายความ :

คุณของพระพุทธเจ้าตามคำบาลีแสดงพระพุทธคุณ ว่าดังนี้ –

…………..

อิติปิ  โส  ภควา  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ 

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  สุคโต  โลกวิทู 

อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ 

สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ  พุทฺโธ  ภควาติ.

ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 1 ข้อ 1

…………..

แปลเป็นไทยโดยประสงค์ ดังนี้ –

อิติปิ โส ภควา = แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จึง-

อรหํ = ทรงเป็นพระอรหันต์

สมฺมาสมฺพุทฺโธ = ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน = ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคโต = ทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

โลกวิทู = ทรงรู้แจ้งโลก

อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ = ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกได้ที่ยอดเยี่ยม

สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ = ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 

พุทฺโธ = ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ภควา = ทรงเป็นผู้มีโชค ผู้จำแนกแจกธรรม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเพื่อให้เราเกิดกำลังใจทำความดี

: อย่าระลึกถึงเพื่อให้พระพุทธเจ้าบันดาลให้เราโชคดี

#บาลีวันละคำ (4,035)

30-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *