บาลีวันละคำ

วิสภาคารมณ์ (บาลีวันละคำ 4,054)

วิสภาคารมณ์

รูปคำสวย แต่รวยพิษสง

อ่านว่า วิ-สะ-พา-คา-รม

แยกศัพท์เป็น วิสภาค + อารมณ์

(๑) “วิสภาค” 

ภาษาไทยอ่านว่า วิ-สะ-พาก บาลีอ่านว่า วิ-สะ-พา-คะ รากศัพท์มาจาก วิ + + ภาค

(ก) “วิ” เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่างๆ กัน

(ข) “” ตัดมาจาก –

(1) “มาน” (สะ-มา-นะ) = เหมือนกัน เท่ากัน เสมอกัน

(2) “ห” (สะ-หะ) = ร่วมกัน พร้อมกัน

(ค) “ภาค” บาลีอ่านว่า พา-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ภชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ชฺ) เป็น อา, แปลง เป็น

: ภชฺ + = ภชณ > ภช > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จำแนกผลดีหรือไม่ดีให้มากขึ้น

(2) ภชฺ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ชฺ) เป็น อา, แปลง เป็น

: ภชฺ + = ภชณ > ภช > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลเสพ

(3) ภาชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: ภาชฺ + = ภาชณ > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาแบ่งออก

ภาค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ส่วน, ภาค, อนุภาค, ส่วนแบ่ง (part, portion, fraction, share)

(2) ส่วน (ของเงิน) ที่แบ่งให้, ค่าธรรมเนียม, ค่าจ้างรางวัล (apportioned share (of money), fee, remuneration)

(3) ส่วนของพื้นที่, สถานที่, ภูมิภาค (division of space, quarter, side, place, region)

(4) ส่วนของเวลา, เวลา (division of time, time)

ในที่นี้ “ภาค” ใช้ในความหมายว่า “ส่วน” ตามข้อ (1)

การประสมคำ “วิสภาค” :

+ ภาค = สภาค (สะ-พา-คะ) แปลว่า “ส่วนที่เหมือนกัน” หมายถึง –

(1) ธรรมดา, มีส่วนเสมอกัน (common, being of the same division) (2) เหมือนกัน, เท่ากัน, อย่างเดียวกัน (like, equal, similar)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สภาค” (อ่านว่า สะ-พาก) ไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ –

สภาค : (คำวิเศษณ์) ร่วมกัน, อยู่หมวดเดียวกัน; เหมือนกัน, เท่ากัน. (ป.).”

วิ + สภาค = วิสภาค (วิ-สะ-พา-คะ) แปลว่า “มีส่วนเหมือนที่ต่างกัน” “มีส่วนเหมือนที่แปลกออกไป” 

ตัวอย่าง –

คนทุกคนมีขา ขาจึงเป็น “ส่วนเหมือน” ของคนเพราะทุกคนมีเหมือนกัน

แต่ขาของแต่ละคนย่อมจะไม่เหมือนกัน เช่น เล็ก ใหญ่ สั้น ยาว ขาว ดำ เป็นต้น ต่างกันไปแต่ละคน นี่คือ “มีส่วนเหมือนที่ต่างกัน” = “วิสภาค

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิสภาค” ว่า different, unusual, extraordinary, uncommon (แปลก, ไม่ปกติ, ผิดธรรมดา, วิสามัญ) 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “วิสภาค” ไว้ว่า –

วิสภาค : มีส่วนไม่เสมอกัน คือขัดกัน เข้ากันไม่ได้ ไม่ถูกกัน หรือไม่กลมกลืนกัน, ไม่เหมาะกัน.

คำว่า “วิสภาค” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

(๒) “อารมณ์” 

บาลีเป็น “อารมฺมณ” อ่านว่า อา-รำ-มะ-นะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่ว, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ซ้อน มฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (รมฺ + มฺ + ยุ), แปลง (ที่ อน) เป็น

: อา + รมฺ = อารมฺ + มฺ + ยุ > อน = อารมฺมน > อารมฺมณ แปลตามศัพท์ว่า “อันเป็นที่มายินดี (แห่งจิตและเจตสิก)” 

คำว่า “มายินดี” เป็นภาษาธรรม หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปจับหรือรับรู้ คือเมื่อจิตจับอยู่กับสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นที่ “มายินดี” ของจิต ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นที่น่ายินดี (ชอบ) ไม่น่ายินดี (ชัง) หรือเป็นกลางๆ (เฉย) ก็ตาม

อารมฺมณ” หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ คือที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวที่กระทบกาย และเรื่องที่จิตคิดนึก (a basis for the working of the mind & intellect)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลคำว่า “อารมฺมณ” ในเชิง “ตีความ” ไว้ดังนี้ –

(1) support, help, footing, expedient, anything to be depended upon as a means of achieving what is desired, basis of operation, chance (การสนับสนุน, การช่วยเหลือ, ที่มั่น, ความสะดวก, สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พึ่งพิงได้เพื่อเป็นหนทางไปสู่เป้าหมาย, ฐานปฏิบัติการ, โอกาส)

(2) condition, ground, cause, means, a cause of desire or clinging to life (เงื่อนไข, พื้นฐาน, ต้นเหตุ, หนทาง, ต้นเหตุของความต้องการหรือความเกี่ยวเกาะอยู่กับชีวิต)

(3) a basis for the working of the mind & intellect (พื้นฐานสำหรับการทำงานของจิตและสติปัญญา. คือเมื่อจิตรับ “อารมฺมณ” เข้ามาแล้วก็ใช้สิ่งนั้นเป็นที่ทำงานต่อไป กล่าวคือชอบบ้าง ชังบ้าง เฉยบ้าง ตามแต่ระดับสติปัญญาจะพาไป)

อารมฺมณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “อารมณ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) (คำนาม) สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู

(2) เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย

(3) ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย

(4) อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน

(5) ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์

(6) ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์

(7) (คำวิเศษณ์) มีอัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน

วิสภาค + อารมฺมณ = วิสภาคารมฺมณ (วิ-สะ-พา-คา-รำ-มะ-นะ) แปลตามแนวการปฏิบัติว่า “อารมณ์อันเป็นข้าศึก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิสภาคารมฺมณ” ว่า pudendum muliebre (อารมณ์ยวนใจ)

วิสภาคารมฺมณ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วิสภาคารมณ์” (วิ-สะ-พา-คา-รม)

ขยายความ :

อารมณ์” ในภาษาธรรมปฏิบัติหมายถึง สิ่งที่มาสู่การรับรู้ เรียกเป็นศัพท์วิชาการว่า –

รูปารมณ์ = เห็น

สัททารมณ์ = ได้ยิน

คันธารมณ์ = ได้กลิ่น

รสารมณ์ = ลิ้มรส

โผฏฐัพพารมณ์ = กระทบสัมผัสทางกาย

ธัมมารมณ์ = ใจนึกคิด

วิสภาคารมณ์” คืออารมณ์ที่ขัดแย้งกับพื้นอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ เช่น –

– ต้องการความเงียบสงบ แต่มีเสียงดังเอะอะเกิดขึ้น เสียงดังเอะอะนั้นคือ “วิสภาคารมณ์

– กำลังเจริญอสุภกรรมฐาน (พิจารณาซากศพที่ไม่สวยงาม) มีสตรีที่สวยงามผ่านเข้ามา สตรีที่สวยงามนั้นคือ “วิสภาคารมณ์

ในชีวิตประจำวันปกติ มีสิ่งใดๆ เกิดขึ้นเรียกร้องความสนใจอย่างมาก ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง สิ่งนั้นก็อนุโลมเรียกว่า “วิสภาคารมณ์” ได้เช่นกัน 

เช่นกำลังดูโทรทัศน์เพลินๆ มีคนมาร้องเรียก คนที่มาร้องเรียกก็เป็น “วิสภาคารมณ์

…………..

ดูก่อนภราดา!

ผู้รู้กล่าวไว้ว่า –

ปุริสสฺส  หิ  อิตฺถีสรีรํ  

อิตฺถิยา  จ  ปุริสสรีรํ  วิสภาคํ  ฯ

: เรือนร่างสตรีเป็นวิสภาคารมณ์ของบุรุษ

: เรือนร่างบุรุษเป็นวิสภาคารมณ์ของสตรี

ที่มา: อสุภกัมมัฏฐานนิทเทส วิสุทธิมรรค ภาค 1 หน้า 229

#บาลีวันละคำ (4,054)

19-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *