บาลีวันละคำ

อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี  (บาลีวันละคำ 4,055)

อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี 

พระดีๆ ไม่เห็นอะไรเลยว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

เขียนเป็นคำอ่านว่า อะนุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี

ประกอบด้วยคำบาลี 3 คำ คือ “อนุมตฺเตสุ” “วชฺเชสุ” “ภยทสฺสาวี

(๑) “อนุมตฺเตสุ” 

อ่านว่า อะ-นุ-มัด-เต-สุ รูปศัพท์เดิมเป็น “อนุมตฺต” อ่านว่า อะ-นุ-มัด-ตะ ประกอบด้วย อนุ + มตฺต

(ก) “อนุ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า น้อย, ภายหลัง, ตาม, เนืองๆ

ในที่นี้ “อนุ” แปลว่า น้อย

(ข) “มตฺต” อ่านว่า มัด-ตะ รูปคำเดิมเป็น “มตฺตา” รากศัพท์มาจาก มา (ธาตุ = กะ, ประมาณ) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (มา > ), ซ้อน ตฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (มา + ตฺ + ) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: มา > + ตฺ + = มตฺต + อา = มตฺตา แปลตามศัพท์ว่า “จำนวนอันเขาประมาณเอา

มตฺตา” เป็นคำนาม เมื่อใช้เป็นคุณศัพท์เปลี่ยนรูปเป็น “มตฺต” มีความหมายหลายนัย ดังนี้ –

(1) ประกอบด้วย, วัดได้ (หรือตวง ฯลฯ ได้), ประมาณ (consisting of, measuring)

(2) มากถึง, คือ เท่านั้น, เพียง, น้อยเพียงเท่านั้นเท่านี้, ไม่แม้แต่(หนึ่ง), ไม่เลย (as much as, i. e. only, a mere, even as little as, the mere fact (of), not even (one), not any)

(3) มากถึง, มากเท่านั้น, บ้าง, เพียงพอที่จะ- (as much as, so much, some, enough of)

(4) เหมือน, เหมือนเช่น, สิ่งที่เรียกว่า, อาจพูดได้ว่า (like, just as what is called, one may say)

(5) แม้, ทันทีที่, เนื่องจาก (even at, as soon as, because of)

อนุ + มตฺต = อนุมตฺต แปลว่า ขนาดเล็ก, เล็กน้อย, นิดเดียว (of small size, atomic, least)

อนุมตฺต” ใช้เป็นคุณศัพท์ (วิเสสนะ) ของ “วชฺเชสุ” (ดูต่อไป) จึงเปลี่ยนรูปตาม “วชฺเชสุ” เป็น “อนุมตฺเตสุ

อนึ่ง คำว่า “อนุมตฺเตสุ” สะกดเป็น “อณุมตฺเตสุ” ( หนู เป็น เณร) ก็มี

(๒) “วชฺเชสุ” 

อ่านว่า วัด-เช-สุ รูปคำเดิมเป็น “วชฺช” อ่านว่า วัด-ชะ รากศัพท์มาจาก วชฺช (ธาตุ = ละ, เว้น) + (อะ) ปัจจัย 

: วชฺชฺ + = วชฺช (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบัณฑิตพึงละหรือต้องละ” หมายถึง ข้อควรเว้น, ความผิด, บาป (that which should be avoided, a fault, sin)

บาลี “วชฺช” ภาษาไทยใช้เป็น “วัชชะ” ตรงตัวก็มี (กรณีใช้คำเดียวหรืออยู่ท้ายคำ) ตัดตัวสะกดออกตัวหนึ่ง ใช้เป็น “วัช” ก็มี 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วัช ๒, วัช-, วัชชะ ๑ : (คำนาม) สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).”

วชฺช” แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) พหุวจนะ นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “วชฺเชสุ” แปลว่า “ในโทษทั้งหลาย” (เห็นภัยในโทษทั้งหลาย, เห็นการทำผิดว่าเป็นภัย)

(๓) “ภยทสฺสาวี” 

อ่านว่า พะ-ยะ-ทัด-สา-วี แยกศัพท์เป็น ภย + ทสฺสาวี

(ก) “ภย” อ่านว่า พะ-ยะ รากศัพท์มาจาก ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อี (ที่ ภี) เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: ภี + = ภีณ > ภี > เภ > ภย แปลตามศัพท์ว่า “ความกลัว” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภย” เป็นอังกฤษว่า fear, fright, dread (ความกลัว, ความหวาดหวั่น, สิ่งที่น่ากลัว)

บาลี “ภย” สันสกฤตก็เป็น “ภย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ – 

ภย : (คำวิเศษณ์) อันน่ากลัว; frightful; dreadful. – (คำนาม) ‘ภย. ภัย,’ ความกลัว; อันตราย; fear; danger or peril.”

ภย” ในภาษาไทยใช้ทับศัพท์เป็น “ภัย” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภัย : (คำนาม) สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).”

ความหมายของ “ภย” ในบาลีคือ “ความกลัว” (fear) หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” (fright) แต่ “ภัย” ในภาษาไทยน้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “อันตราย” (danger, dangerous) 

(ข) “ทสฺสาวี” อ่านว่า ทัด-สา-วี รากศัพท์มาจาก ทิสฺ (ธาตุ = ดู, เห็น; แสดง, ชี้แจง; ให้รู้, บอก) + อาวี ปัจจัย, แปลง ทิสฺ เป็น ทสฺส

: ทิสฺ > ทสฺสฺ + อาวี = ทสฺสาวี (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีปกติเห็น-” “ผู้มีปกติแสดง-” “ผู้มีปกติบอกให้รู้” 

ทสฺสาวี” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง เห็น, พบ, ประจักษ์, สังเกตหรือกำหนดรู้ (seeing, finding, realizing, perceiving) 

ศัพท์ว่า “ทสฺสาวี” ปกติใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส คือมีคำอื่นอยู่หน้าเสมอ เช่นในที่นี้มี “ภย” นำหน้า

ภย + ทสฺสาวี = ภยทสฺสาวี (พะ-ยะ-ทัด-สาวี) แปลว่า “ผู้มีปกติเห็นภัย” หมายถึง เล็งเห็นว่าการทำผิดหรือการล่วงละเมิดข้อห้ามจะก่อให้เกิดภัยหรือเกิดความเสียหายได้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภยทสฺสาวี” ว่า seeing or realising an object of fear, i. e. danger (เห็นหรือรู้ถึงภัยคืออันตราย)

ขยายความ :

อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี” แปลความว่า “โทษเพียงเล็กน้อยก็เห็นเป็นภัยที่น่ากลัว” หมายความว่า ไม่ดูหมิ่นสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อาบัติก็แค่เล็กๆ น้อยๆ ความผิดบกพร่องก็เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ

พระภิกษุที่ดีจะไม่คิดแบบนี้ แต่จะเห็นว่า พระธรรมวินัยทุกข้อทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องสำคัญ สิกขาบทไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงไรเป็นเรื่องควรยำเกรงทั้งสิ้น ไม่กล้าล่วงละเมิด

อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี” เป็นข้อความบรรยายถึง —

– ลักษณะของภิกษุผู้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเพื่อขัดเกลาตนเอง 

– คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของภิกษุที่คณะสงฆ์ควรแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ต่างๆ อันเป็นกิจของพระศาสนา เช่น ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนภิกษุณี เป็นพระวินัยธร ทำหน้าที่ตัดสินอธิกรณ์ต่างๆ เป็นต้น 

– คุณสมบัติของภิกษุผู้นำมาซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสของประชาชน

ข้อความเต็มๆ ของคุณสมบัติข้อนี้ เป็นดังนี้ –

…………..

สีลวา  โหติ  ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต  วิหรติ  อาจารโคจรสมฺปนฺโน  อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี  สมาทาย  สิกฺขติ  สิกฺขาปเทสุ  

แปลถอดความดังนี้ –

สีลวา  โหติ  

เป็นผู้ทรงศีล 

ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต  วิหรติ

สำรวมระวังอยู่ในพระปาติโมกข์

อาจารโคจรสมฺปนฺโน 

ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร (คือความประพฤติปฏิบัติอันสมควรแก่ภูมิเพศบรรพชิต)

อนุมตฺเตสุ  วชฺเชสุ  ภยทสฺสาวี 

โทษผิดเพียงเล็กน้อยก็เห็นว่าเป็นภัยน่ากลัวไม่กล้าล่วงละเมิด

สมาทาย  สิกฺขติ  สิกฺขาปเทสุ 

ปฏิบัติอย่างมั่นคงอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ที่มา: สิกขาบทที่ 1 โอวาทวรรค ปาจิตตียกัณฑ์ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 2 

พระไตรปิฎกเล่ม 2 ข้อ 407 และที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเห็นสิกขาบทข้อหนึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย

: ในที่สุดก็จะหมดทั้งสองร้อยยี่สิบเจ็ดข้อ

#บาลีวันละคำ (4,055)

20-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *