บาลีวันละคำ

อตีตสัตถุกะ (บาลีวันละคำ 4,059)

อตีตสัตถุกะ

คำในพุทธวจนะที่ปรามอลัชชี

อ่านว่า อะ-ตี-ตะ-สัด-ถุ-กะ

ประกอบด้วยคำว่า อตีต + สัตถุกะ +  

(๑) “อตีต

อ่านว่า อะ-ตี-ตะ รากศัพท์มาจาก อติ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + อิ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, รวมเสียง อิ ที่ (อ)-ติ กับ อิ ที่ อิ ธาตุเป็น อี

: อติ + อิ = อติอิ > อตี + = อตีต แปลตามศัพท์ว่า “ล่วงเลยไปแล้ว” หมายถึง ผ่านไป, เลยไป (past, gone by)

(๒) “สัตถุกะ

เขียนแบบบาลีเป็น “สตฺถุก” อ่านว่า อ่านว่า สัด-ถุ-กะ รากศัพท์มาจาก สตฺถุ + สกรรถ

(ก) “สตฺถุ” รากศัพท์มาจาก – 

(1) สาสฺ (ธาตุ = สั่งสอน) + รตฺถุ ปัจจัย, แปลง สาสฺ เป็น , ลบ ที่ รตฺถุ (รตฺถุ > ตฺถุ

: สาสฺ + รตฺถุ = สาสรตฺถุ > สรตฺถุ > สตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้สั่งสอนเวไนยตามความเหมาะสมด้วยประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์อนาคต และประโยชน์สูงสุด” (2) “ผู้สั่งสอนแนะนำสัตวโลก

(2) สชฺ (ธาตุ = สละ, ปล่อย) + รตฺถุ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (สชฺ > ) และลบ ที่ รตฺถุ 

: สชฺ + รตฺถุ = สชรตฺถุ > สรตฺถุ > สตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สละกิเลส” 

(3) สิจฺ (ธาตุ = ชำระ, ราด, รด) + รตฺถุ ปัจจัย, แปลง สิจฺ เป็น , ลบ ที่ รตฺถุ 

: สิจฺ + รตฺถุ = สิจรตฺถุ > สรตฺถุ > สตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ชำระกิเลสด้วยน้ำคือคำสอน” 

(4) สุสฺ (ธาตุ = เหือดแห้ง) + รตฺถุ ปัจจัย, แปลง สุสฺ เป็น , ลบ ที่ รตฺถุ 

: สุสฺ + รตฺถุ = สุสรตฺถุ > สรตฺถุ > สตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังเปือกตมคือคมกิเลสให้เหือดแห้งไป” 

(5) สสุ (ธาตุ = เบียดเบียน) + รตฺถุ ปัจจัย, แปลง สสุ เป็น , ลบ ที่ รตฺถุ 

: สสุ + รตฺถุ = สสุรตฺถุ > สรตฺถุ > สตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียนกิเลส” 

(6) สมฺ (ธาตุ = สงบ) + รตฺถุ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (สมฺ > ) และลบ ที่ รตฺถุ 

: สมฺ + รตฺถุ = สมรตฺถุ > สรตฺถุ > สตฺถุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังกิเลสให้สงบระงับ” 

สตฺถุ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ครู, ศาสดา (teacher, master) ในคัมภีร์ ถ้าไม่มีคำระบุเป็นอย่างอื่น หมายถึงพระพุทธเจ้า

(ข) สตฺถุ + สกรรถ

ขั้นที่ ๑: อตีต + สตฺถุ = อตีตสตฺถุ แปลว่า “พระศาสดาล่วงไปแล้ว” 

ขั้นที่ ๒: อตีตสตฺถุ + + = อตีตสตฺถุก แปลว่า “(ปาพจน์) มีพระศาสดาล่วงไปแล้ว” 

อตีตสตฺถุก” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อตีตสัตถุกะ

ขยายความ :

อตีตสตฺถุก > อตีตสัตถุกะ” เป็นคำในพระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์เมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน 

ข้อความที่เป็นพระพุทธพจน์เป็นดังนี้ –

…………..

สิยา  โข  ปนานนฺท  ตุมฺหากํ  เอวมสฺส  อตีตสตฺถุกํ  ปาวจนํ  นตฺถิ  โน  สตฺถาติ  น  โข  ปเนตํ  อานนฺท  เอวํ  ทฏฺฐพฺพํ  โย  โว  อานนฺท  มยา  ธมฺโม  จ  วินโย  จ  เทสิโต  ปญฺญตฺโต  โส  โว  มมจฺจเยน  สตฺถา.

ที่มา: มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 141

…………..

แปลโดยประสงค์ ดังนี้ –

…………..

สิยา  โข  ปนานนฺท  ตุมฺหากํ  เอวมสฺส  

ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า 

อตีตสตฺถุกํ  ปาวจนํ  

ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว 

นตฺถิ  โน  สตฺถาติ  

พระศาสดาของพวกเราไม่มี 

น  โข  ปเนตํ  อานนฺท  เอวํ  ทฏฺฐพฺพํ  

ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น 

โย  โว  อานนฺท  มยา  ธมฺโม  จ  วินโย  จ  เทสิโต  ปญฺญตฺโต  

ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใด อันเราแสดงแล้วได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ 

โส  โว  มมจฺจเยน  สตฺถา.

ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

…………..

ต่อมา พระมหากัสสปเถระระลึกถึงคำของพระสุภัททะ “ผู้บวชเมื่อภายแก่” ซึ่งได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ทราบว่าพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว

คำของพระสุภัททะ ท่านบันทึกไว้ดังนี้ –

…………..

อลํ  อาวุโส  มา  โสจิตฺถ  มา  ปริเทวิตฺถ  สุมุตฺตา  มยํ  เตน  มหาสมเณน  อุปทฺทูตา  จ  มยํ  โหม  อิทํ  โว  กปฺปติ  อิทํ  โว  น  กปฺปตีติ  อิทานิ  ปน  มยํ  ยํ  อิจฺฉิสฺสาม  ตํ  กริสฺสาม  ยํ  น  อิจฺฉิสฺสาม  น  ตํ  กริสฺสามาติ.

ที่มา: ปัญจสติกขันธกะ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 2 พระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 614

และอ้างถึงในนิทานกถา สุมังคลวิลาสินี ภาค 1 หน้า 3

…………..

แปลโดยประสงค์ ดังนี้ –

…………..

อลํ  อาวุโส  

พอกันทีอาวุโสทั้งหลาย 

มา  โสจิตฺถ 

ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย 

มา  ปริเทวิตฺถ 

อย่าร่ำไรไปเลย 

สุมุตฺตา  มยํ  เตน  มหาสมเณน 

เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น 

อุปทฺทูตา  จ  โหม 

ด้วยว่าพวกเราถูกท่านจู้จี้บังคับว่า —

อิทํ  โว  กปฺปติ 

สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย 

อิทํ  โว  กปฺปติ 

สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย 

อิทานิ  ปน  มยํ  ยํ  อิจฺฉิสฺสาม  ตํ  กริสฺสาม

แต่บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด จักกระทำสิ่งนั้น 

ยํ  น  อิจฺฉิสฺสาม  น  ตํ  กริสฺสามาติ

ไม่ปรารถนาสิ่งใด จักไม่กระทำสิ่งนั้น ดังนี้

…………..

พระมหากัสสปเถระดำริสืบไปว่า –

…………..

ฐานํ  โข  ปเนตํ  วิชฺชติ  ยํ  ปาปภิกฺขู  อตีตสตฺถุกํ  ปาวจนนฺติ  มญฺญมานา  ปกฺขํ  ลภิตฺวา  นจิรสฺเสว  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปยฺยุํ  ฯ

ที่มา: นิทานกถา สุมังคลวิลาสินี ภาค 1 หน้า 3-4

…………..

แปลโดยประสงค์ ดังนี้ –

…………..

ปาปภิกฺขู  อตีตสตฺถุกํ  ปาวจนนฺติ  มญฺญมานา  

พวกภิกษุจิตทรามจะเข้าใจว่า ปาพจน์มีศาสดาล่วงแล้ว 

ปกฺขํ  ลภิตฺวา 

ได้พวกฝ่ายอลัชชี 

(มีพระเห็นด้วยกับแนวคิดเช่นนี้มากขึ้นๆ)

นจิรสฺเสว  สทฺธมฺมํ  อนฺตรธาเปยฺยุํ  ฯ

จะพากันย่ำยีพระสัทธรรมให้อันตรธานต่อกาลไม่นานเลย 

ฐานํ  โข  ปเนตํ  วิชฺชติ  ยํ  

นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้แน่นอน

แถม :

คำว่า “ปาพจน์” หมายถึง พระธรรมวินัยคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันเป็นตัวพระศาสนา

คำว่า “ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว” หมายความว่า พระศาสดาผู้เป็นเจ้าของคำสอน (คือพระธรรมวินัย) บัดนี้ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว เหลือแต่คำสอน 

คำว่า “พระศาสดาของพวกเราไม่มี” ขยายความว่า แม้จะยังเหลือคำสอนอยู่ แต่เมื่อตัวผู้สอนไม่มีแล้ว คำสอนนั้นก็ไม่มีความหมายอะไร เหมือนกับว่าไม่มีพระศาสนาเหลืออยู่อีกแล้ว

หมายความว่า ต่อไปนี้ใครจะทำผิดทำถูกอย่างไร ก็ไม่มีใครที่จะมาคอยกวดขันชี้ผิดชี้ถูกอีกแล้ว สิ่งที่ห้ามทำ ไปทำเข้า ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครมาว่าอะไร สิ่งที่บอกให้ทำ แม้ไม่ทำ ใครจะมาว่าอะไรกันได้ แปลว่าใครจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็ได้ ตามสบาย

พระศาสดาได้ตรัสเตือนไว้ว่า – อย่าได้คิดอย่างนั้น 

ทรงยืนยันว่า พระธรรมวินัยที่ทรงแสดงไว้บัญญัติไว้ยังอยู่เป็น “สตฺถา” คือเป็นพระศาสดาแทนพระองค์ นั่นคือพระศาสดาจะยังคงอยู่กับพระศาสนาตลอดไป-ตราบเท่าที่พระธรรมวินัยยังอยู่

พระธรรมวินัยจะยังคงอยู่ได้ก็ด้วยการที่พุทธบริษัทขวนขวายศึกษาและปฏิบัติตามมิให้ขาดตกบกพร่อง 

การไม่เอาใจใส่ศึกษาพระธรรมวินัย การไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย คือการปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ซ้ำอ้างว่าเรื่องนั้นเรื่องโน้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่เสียหายอะไร ทำไมจะต้องมาเข้มวินัยกันหนักหนา ดังนี้ จึงนอกจากจะเป็นการทำร้ายองค์พระศาสดาแล้ว ยังเป็นการทำลายพระศาสนาไปด้วยพร้อมๆ กัน

ถ้าห่วงพระศาสนา ช่วยกันจำคำว่า “อตีตสัตถุกะ” ไว้เตือนใจอีกสักคำ

…………..

ดูก่อนภราดา!

คำว่า “อตีตสัตถุกะ = ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว”

ตรงกับสำนวนไทยว่าอย่างไร?

: แมวไม่อยู่

: หนูร่าเริง

#บาลีวันละคำ (4,059)

24-7-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *