บาลีวันละคำ

สัมปโยค (บาลีวันละคำ 4,072)

สัมปโยค

ตัวทุกข์ของชาวโลกที่ทำใจไม่เป็น

อ่านว่า สํา-ปะ-โยก

สัมปโยค” เขียนแบบบาลีเป็น “สมฺปโยค” อ่านว่า สำ-ปะ-โย-คะ รากศัพท์มาจาก สํ + + โยค

(๑) “สํ

อ่านว่า สัง เป็นคำอุปสรรค ตำราบาลีไทยแปลว่า “พร้อม, กับ, ดี” หมายถึง พร้อมกัน, ร่วมกัน (together)

แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ : สํ > สมฺ 

(๒) “” 

อ่านว่า ปะ เป็นคำอุปสรรค ตำราบาลีไทยแปลว่า “ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายของ “” ไว้ดังนี้ –

(1) forth, forward, out (ออกไป, ข้างหน้า, ออก) 

(2) [intensive] in a marked degree, more than ordinarily ([เข้ม] มาก, มากกว่าธรรมดา)

(3) onward (ต่อไป) 

(4) in front of, before (ข้างหน้า, ก่อน) 

(๓) “โยค” 

รากศัพท์มาจาก ยุชฺ (ธาตุ = ประกอบ) ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ ยุ– เป็น โอ, แปลง เป็น

: ยุชฺ + = ยุชณ > ยุช > โยช > โยค (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อันบุคคลพึงประกอบ

โยค” ในบาลีใช้ในความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) แอก, การเทียม, เครื่องช่วย (yoke, yoking)

(2) ความเกี่ยวพัน, การใช้; ความสัมพันธ์ตามธรรมชาติ, การสมาคมกัน; การมาบรรจบกัน (connection with, application to; natural relation, association; conjunction)

(3) ห่วง, ความสัมพันธ์, การผูกพัน (bond, tie; attachment)

(4) ความตั้งใจ, ความพยายาม, เพียรทำให้สำเร็จ (application, endeavour, undertaking, effort)

(5) ความไตร่ตรอง, การสำรวจใจ, การเอาใจจดจ่อ (pondering, concentration, devotion)

(6) อำนาจลึกลับ, อิทธิพล, อุบาย, แผนการ  (magic power, influence, device, scheme)

(7) หนทาง, เครื่องมือ, เครื่องเยียวยา (means, instrument, remedy)

การประกอบศัพท์ :

(๑) + โยค = ปโยค (ปะ-โย-คะ) แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบทั่วไป” 

ปโยค” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) พาหะ, เครื่องมือ (means, instrument) 

(2) การตระเตรียม, การประกอบการ, อาชีพ, การปฏิบัติหรือทดลอง, ธุรกิจ, การกระทำ, การปฏิบัติ (preparation, undertaking, occupation, exercise, business, action, practice)

(๒) สํ + ปโยค แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น มฺ (สํ > สมฺ)

: สํ + ปโยค = สํปโยค > สมฺปโยค (สำ-ปะ-โย-คะ) แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบพร้อม” หมายถึง การรวมกัน, การร่วมสมาคมกัน, การประสบกัน (union, association)

บาลี “สมฺปโยค” สันสกฤตเป็น “สมฺปฺรโยค” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สมฺปฺรโยค : (คำนาม) ‘สัมประโยค,’ สังโยค, สัมพันธ์; มาลา, อาวลีหรือแบบ; ไมถุน, รติกริยา; สมาคม, การต่อ; มนตร์, มันตระโยคหรือมายา; connection, relation; order, series; copulation, coition; union, joining; magic.”

สมฺปโยค” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สัมปโยค” อ่านว่า สํา-ปะ-โยก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัมปโยค : (คำนาม) การประกอบกัน. (ป.; ส. สมฺปฺรโยค).”

ขยายความ :

สมฺปโยค = สัมปโยค” ที่น่าศึกษามีอยู่ในพระไตรปิฎก โบราณกบัณฑิตยกมาใส่ไว้ในบททำวัตรเช้า (สังเวคปริกิตตนปาฐะ) ขออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในที่นี้เพื่อเจริญสติและเจริญปัญญา ดังนี้ –

(ในที่นี้เขียนแบบบาลีเพื่อให้ฝึกอ่านบาลีไปในตัว)

…………..

(1) ชาติปิ  ทุกฺขา = แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

(2) ชราปิ  ทุกฺขา = แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

(3) มรณมฺปิ  ทุกฺขํ = แม้ความตายก็เป็นทุกข์

(4) โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ  ทุกฺขา = แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

(5) อปฺปิเยหิ  สมฺปโยโค  ทุกฺโข = ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

(6) ปิเยหิ  วิปฺปโยโค  ทุกฺโข = ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

(7) ยมฺปิจฺฉํ  น  ลภติ, ตมฺปิ  ทุกฺขํ = ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

(8 ) สงฺขิตฺเตน  ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา  ทุกฺขา. = ว่าโดยรวบยอด เบญจขันธ์อันกิเลสตัณหาเข้ายึดครอง เป็นตัวทุกข์.

ที่มา: 

– มหาขันธกะ วินัยปิฎก มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 14 

– มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 294

– สัมมาทิฏฐิสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 115

– ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 19 ข้อ 1665

ฯลฯ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยังมีชอบมีชังก็ยังทุกข์

: จึงมีสุขมีโศกตามโลกสรร

: ไม่ให้ทุกข์เข้ามาถูต้องรู้ทัน

: รู้ว่าคันก็อย่าเกาจึงเข้าที

#บาลีวันละคำ (4,072)

6-8-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *