บาลีวันละคำ

สัตตาหะ (บาลีวันละคำ 4,097)

สัตตาหะ

ภายในเจ็ดวัน

อ่านว่า สัด-ตา-หะ

แยกศัพท์เป็น สัตต + อหะ

(๑) “สัตต” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สตฺต” อ่านว่า สัด-ตะ เป็นศัพท์ที่เรียกว่า “สังขยา” คือคำบอกจำนวน แปลว่า เจ็ด ( = จำนวนเจ็ด

(๒) “อหะ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อห” อ่านว่า อะ-หะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + หา (ธาตุ = ละ, ทิ้ง) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น , ลบสระหน้า คือ อา ที่ หา (หา > )

: + หา = นหา > อหา > อห + = อห (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ไม่ละการย้อนกลับมา” หมายถึง วัน (a day)

อห” ในบาลีมีอีกรูปหนึ่งเป็น “อโห” (อะ-โห) = กลางวัน มักใช้ควบกับคำว่า “รตฺต” (รัด-ตะ) = กลางคืน เป็น “อโหรตฺต” (อะ-โห-รัด-ตะ) แปลว่า “กลางวันและกลางคืน” หมายถึง ทุกวันทุกคืน คือ ตลอดเวลา (always)

บาลี “อห” แปลเป็นไทยว่า “วัน” คือที่เราเข้าใจกันในความหมายว่า วันเวลาหรือวันคืน ในที่นี้ควรถือโอกาสศึกษากันดูว่าพจนานุกรมให้คำนิยามหรือคำจำกัดความอย่างไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วัน ๑ : (คำนาม)

(1) ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, 

(2) ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, 

(3) ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; 

(4) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี.

สตฺต + อห = สตฺตาห (สัด-ตา-หะ) แปลตามศัพท์ว่า “เจ็ดวัน” หมายถึงรอบ ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ หรือระยะเวลา ๗ วัน

สตฺตาห” เป็นคำเดียวกับที่ในภาษาไทยใช้ว่า “สัปดาห์” คือ บาลี “สตฺต” สันสกฤตเป็น “สปฺต” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น สัปด

สัปด + อห = สัปดาห ไม่ออกเสียง หะ จึงใส่การันต์ที่ เขียนเป็น “สัปดาห์

ขยายความ :

สตฺตาห” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สัตตาหะ” ในที่นี้หมายถึงคำที่เรียกย่อมาจากคำว่า “สัตตาหกรณียะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัตตาหกรณียะ : (คำนาม) กิจที่พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.”

ในระหว่างจำพรรษา 3 เดือนตามวินัยสงฆ์ ภิกษุจะไปค้างแรมที่อื่นนอกจากสถานที่ซึ่งอธิษฐานจำพรรษาไว้แล้วมิได้ แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นก็มีพุทธานุญาตให้ไปค้างแรมคืนที่อื่นได้ แต่ต้องกลับภายใน 7 วัน กรณีเช่นนี้มักเรียกกันสั้นๆ ว่า “สัตตาหะ” 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

…………..

สัตตาหะ : สัปดาห์, เจ็ดวัน; มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ

…………..

ที่คำว่า “สัตตาหกรณียะ” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

…………..

สัตตาหกรณียะ : ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่ ๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้ ๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก ๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น ๔. ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

…………..

สรุปว่า  “สัตตาหกรณียะ” คือกิจที่จำเป็นต้องไปทำ และจำกัดด้วยเวลาคือต้องกลับภายใน 7 วัน มักเรียกรู้กันสั้นๆ ว่า “สัตตาหะ” 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำอะไรจึงจะคุ้มกับที่เกิดมา –

: ถ้าเหลือเวลาอีกเจ็ดวัน?

#บาลีวันละคำ (4,097)

31-8-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *